โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ของ เทศบาลตำบลห้วยทับทัน

การคมนาคมและขนส่ง

  • ทางรถยนต์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (นครราชสีมา-บุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ-อุบลราชธานี) เส้นทางดังกล่าวนี้เชื่อมระหว่างตัวจังหวัดศรีสะเกษกับเขตเทศบาลตำบลห้วยทับทัน(ตัวอำเภอห้วยทับทัน) โดยจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ มาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (ช่วงศรีสะเกษ-สุรินทร์)เป็นระยะทางประมาณ 37 กิโลเมตร มีรถโดยสารประจำทางให้บริการคือรถตู้ปรับอากาศสายศรีสะเกษ-สุรินทร์

นอกจากนั้น ยังมีบริการรถยนต์โดยสารปรับอากาศจากต้นทางในจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดอุบลราชธานี หยุดรับส่งผู้โดยสารจากอำเภอห้วยทับทัน(ในเขตเทศบาลห้วยทับทัน)สู่ปลายทางที่กรุงเทพมหานคร

  • ถนนในความรับผิดชอบของเทศบาลมี ทั้งสิ้น 51 สาย
    • ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) จำนวน 37 สาย ระยะทางรวม 15.83 กิโลเมตร
    • ถนนลูกรัง จำนวน 2 สาย ระยะทางรวม 0.59 กิโลเมตร
    • ถนนดิน จำนวน 4 สาย ระยะทางรวม 3.87 กิโลเมตร
    • ถนนหินคลุก จำนวน 8 สาย ระยะทางรวม 7.82 กิโลเมตร
  • ทางรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ(นครราชสีมา-อุบลราชธานี, กรุงเทพฯ-ศรีสะเกษ, กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี)มีบริการรถไฟธรรมดา รถเร็ว รถด่วนและรถด่วนพิเศษ หยุดรับ-ส่ง ผู้โดยสารที่สถานีรถไฟห้วยทับทัน ในเขตเทศบาลตำบลห้วยทับทัน

ระบบโทรคมนาคมและการสื่อสาร

  • ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง
  • ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 7 แห่ง

พลังงานไฟฟ้า

ได้รับบริการจากสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในเขตเทศบาลมีไฟฟ้าสาธารณะใช้ทั่วถึงครบทั้ง 7 ชุมชน

การประปาและแหล่งน้ำธรรมชาติ

เทศบาลไม่มีการประปาเป็นของตนเอง ต้องอาศัยการบริการจากประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) มีครัวเรือนในเขตเทศบาลที่ใช้น้ำประปาประมาณร้อยละ 20

การใช้ที่ดิน

เทศบาลตำบลห้วยทับทันมีพื้นที่รวมประมาณ 6,125 ไร่ แยกตามประเภทการใช้ประโยชน์และขนาดพื้นที่โดยประมาณเฉลี่ยต่อไร่ ดังนี้

    • ที่พักอาศัย ประมาณ 1,100 ไร่
    • พื้นที่เกษตรกรรม ประมาณ 4,900 ไร่
    • พื้นที่หน่วยงาน ประมาณ 20 ไร่
    • พื้นที่สถานศึกษา ประมาณ 40 ไร่
    • พื้นที่อุตสาหกรรม ประมาณ 30 ไร่
    • พื้นที่สาธารณะ ประมาณ 20 ไร่

ใกล้เคียง

เทศบาลนครแหลมฉบัง เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมือง เทศบาลนครนครราชสีมา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เทศบาลนครในประเทศไทย เทศบาลเมืองปากพูน เทศบาลนครอุบลราชธานี เทศบาลนครอุดรธานี