สังคมและประชากร ของ เทศบาลตำบลแม่กา

แต่เดิมประชากรในตำบลแม่กาส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ การทำนาข้าว การทำไร่ข้าวโพด ฟักทอง ขิง การปลูกผลไม้ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย บางส่วนก็ประกอบอาชีพด้านการค้าขายและรับจ้างเมื่อหมดฤดูทำนา เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ก็เป็นการเลี้ยงเพื่อใช้แรงงานหรือเลี้ยงเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน เช่น โค กระบือ เป็ด ไก่ ในปัจจุบันเนื่องจากมีสถาบันและองค์กรต่าง ๆ ของภาครัฐเข้ามาตั้งอยู่ในพื้นที่หลายสถาบันหลายองค์กร จึงทำให้มีประชากรแฝงร่วมอยู่ในเขตพื้นที่มาก จากสภาพการทางสังคมในปัจจุบันทำให้สภาพสังคมของชุมชนตำบลแม่กาเปลี่ยนแปลงไป สามารถกำหนดได้เป็น 4 ลักษณะ

  • ชุมชนเมือง

เป็นพื้นที่บริเวณรอบมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นพื้นที่ของสถานประกอบการ ร้านค้า ภาคบริการ ธนาคารต่าง ๆ รวมไปถึงตลาด ห้างสรรพสินค้า ประชาชนที่อยู่บริเวณนี้ค่อนข้างมีวิธีชีวิตเป็นชุมชนเมือง

  • ชุมชนกึ่งเมือง

เป็นพื้นที่ของหมู่บ้านที่มีเขตติดต่อกับเทศบาลเมืองพะเยา ประชากรในพื้นที่จะประกอบอาชีพค้าขาย รับราชการ รับจ้างมากกว่าการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว

  • ชุมชนกึ่งชนบท

เป็นพื้นที่ชุมชนใหญ่ เดิมมีอาชีพทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เมื่อมีสถาบันและองค์กรต่างๆ เข้ามาอยู่ร่วมในชุมชนทำให้มีการประกอบอาชีพค้าขาย สถานประกอบการและการให้บริการ ตลอดจนเป็นลูกจ้างขององค์กรและสถาบันต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

  • ชุมชนเขตชนบทและชาวไทยภูเขา

เป็นพื้นที่ชุมชนที่ปลูกบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่สูงเชิงเขา โดยเฉพาะบ้านแม่ต๋ำน้อย หมู่ที่ 18 ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขาประชากรจะประกอบอาชีพการเพาะปลูกพืชไร่ พืชสวน และหาของป่าเป็นอาชีพหลัก

ใกล้เคียง

เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมือง เทศบาลนครแหลมฉบัง เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครนครราชสีมา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เทศบาลนครอุดรธานี เทศบาลนครในประเทศไทย เทศบาลเมืองปากพูน เทศบาลนครอุบลราชธานี