โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค ของ เทศบาลตำบลไพรบึง

พื้นที่เขตเทศบาลตำบลไพรบึงเป็นที่ตั้งของหน่วยงานและศูนย์บริการสาธารณูปโภคด้านต่างๆ ดังนี้

รถโดยสารประจำทางสายขุนหาญ-ไพรบึง-ศรีสะเกษ

การคมนาคมและขนส่ง

  • ที่ทำการหมวดการทางไพรบึง (กรมทางหลวง)
  • เส้นทางหลักในการคมนาคมทางบกคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2111 (พยุห์-ขุนหาญ)ซึ่งผ่านเขตเทศบาลตำบลไพรบึง ถือเป็นศูนย์กลางการเดินทางและการคมนาคมขนส่งของอำเภอ โดยป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมโยงการเดินทางไปยังจุดสำคัญในทิศทางต่างๆ ดังนี้
    • ทางทิศเหนือ เชื่อมโยงการเดินทางสู่อำเภอพยุห์ ด้วยระยะทาง 20 กิโลเมตร และจากอำเภอพยุห์เชื่อมต่อไปยังอำเภอเมืองศรีสะเกษ ด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 อีก 20 กิโลเมตร รวมเป็นระยะทางจากเขตเทศบาลไพรบึงถึงตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษทั้งสิ้น 42 กิโลเมตร(รถโดยสารประจำทางสายขุนหาญ-ไพรบึง-ศรีสะเกษ)
    • ทางทิศใต้ เชื่อมโยงการเดินทางสู่อำเภอขุนหาญ (ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2111) ด้วยระยะทาง 20 กิโลเมตร (รถโดยสารประจำทางสายขุนหาญ-ไพรบึง-ศรีสะเกษ)

นอกจากนั้น บริเวณสี่แยกหัวช้าง ในเขตบ้านหัวช้าง ตำบลสำโรงพลัน ของอำเภอไพรบึง ซึ่งห่างจากเขตเทศบาลไพรบึงไปทางทิศใต้ (ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2111) ประมาณ 3 กิโลเมตร ถือเป็นชุมทางการคมนาคมและการขนส่งขนาดใหญ่อีกจุดหนึ่ง เนื่องจากเป็นจุดตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (ถนนโชคชัย-เดชอุดม) ชุมทางแห่งนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการพักรถและพักผ่อนสำหรับผู้เดินทาง ซึ่งประกอบด้วยสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่จำนวน 3 แห่ง ร้านอาหารและร้านสะดวกซื้อ ตลอดจนป้อมตำรวจหน่วยบริการประชาชนของสถานีตำรวจภูธรไพรบึง

จากชุมทางดังกล่าวด้านด้านทิศเหนือ เข้าสู่เขตเทศบาลตำบลไพรบึง อำเภอไพรบึงและอำเภอพยุห์, ด้านทิศตะวันออกเป็นเส้นทางเชื่อมโยงไปยัง อำเภอกันทรลักษ์ และจังหวัดอุบลราชธานี , ด้านทิศใต้ไปยังอำเภอขุนหาญ, ด้านทิศตะวันตกไปยังอำเภอขุขันธ์ และอำเภอภูสิงห์ ตลอดจนอำเภอต่างๆของจังหวัดสุรินทร์ (อำเภอสังขะ อำเภอปราสาท) จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอประโคนชัย อำเภอนางรอง อำเภอหนองกี่) และจังหวัดนครราชสีมา (อำเภอหนองบุญมาก อำเภอโชคชัย อำเภอปักธงชัย อำเภอสีคิ้ว) แล้วบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2(ถนนมิตรภาพ) เชื่อมโยงต่อเนื่องไปยังจังหวัดสระบุรี จากนั้นเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ไปยังเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร

    • ทางทิศตะวันออก เชื่อมโยงการเดินทางสู่อำเภอศรีรัตนะ โดยทางหลวงชนบท หมายเลข ศก 4014 และ 3014 ระยะทาง 30 กิโลเมตร
    • ทางทิศตะวันตก เชื่อมโยงการเดินทางสู่อำเภอขุขันธ์ โดยทางหลวงชนบท ระยะทาง 36 กิโลเมตร
  • ถนนในความรับผิดชอบของเทศบาล 64 สาย
    • ถนนลาดยาง จำนวน 2 สาย ระยะทางรวม 5 กิโลเมตร
    • ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) จำนวน 61 สาย ระยะทางรวม 37.75 กิโลเมตร
    • ถนนทางหลวงแผ่นดิน ที่โอนให้เทศบาลดูแล พื้นผิวลาดยางแบบ 6 ช่องจราจร จำนวน 1 สาย ระยะทางรวม 2 กิโลเมตร
    • ถนนทางหลวงแผ่นดิน ที่โอนให้เทศบาลดูแล พื้นผิวลาดยางแบบ 2 ช่องจราจร จำนวน 1 สาย ระยะทางรวม 5 กิโลเมตร
    • ถนนทางหลวงชนบท ที่โอนให้เทศบาลดูแล จำนวน 3 สาย ระยะทางรวม 4 กิโลเมตร
ถนนสายหลักเข้าสู่เขตเทศบาลตำบลไพรบึง ถนนสายหลักเข้าสู่เขตเทศบาลตำบลไพรบึง ถนนสายหลักเข้าสู่เขตเทศบาลตำบลไพรบึง ถนนสายหลักเข้าสู่เขตเทศบาลตำบลไพรบึง

ระบบโทรคมนาคมและการสื่อสาร

  • ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขไพรบึง (33180)
  • ชุมสายโทรศัพท์และโทรคมนาคมไพรบึง (บริษัท ทีโอที จำกัด และการสื่อสารแห่งประเทศไทย)
  • ผู้ใช้บริการเช่าเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานในเขตเทศบาล 400 เลขหมาย
  • ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 22 แห่ง
  • เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ความถี่ 800/900/1800 (AIS, CAT, DTAC, TRUE)
  • ศูนย์วิทยุสื่อสารเทศบาลตำบลไพรบึง
  • สถานที่ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งของรัฐและเอกชน 7 แห่ง
  • ระบบเครือข่ายกระจายเสียงเพื่อการประชาสัมพันธ์ในเขตชุมชน ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 100

พลังงานไฟฟ้า

  • สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอไพรบึง
  • ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขตเทศบาล ร้อยละ 100
  • ระบบไฟฟ้าส่องสว่างในพื้นที่สาธารณะ

การประปาและแหล่งน้ำ

  • สำนักงานการประปาเทศบาลตำบลไพรบึง
    • สถานีสูบน้ำ
    • โรงกรองน้ำ
    • ระบบจ่ายน้ำ
    • แหล่งน้ำดิบเพื่อการผลิตน้ำประปา 1 แห่ง
  • แหล่งน้ำธรรมชาติ
    • หนอง/บึง 6 แห่ง
    • ลำห้วย 1 สาย
  • อ่างเก็บน้ำ/ฝายทดน้ำ 3 แห่ง

ใกล้เคียง