การขนส่ง ของ เทศบาลนครอุบลราชธานี

ทางหลวงแผ่นดิน

  • ถนนชยางกูร เริ่มต้นจากหลักกิโลเมตรที่ 0 (ตัดกับถนนสรรพสิทธิ์) ตัดผ่านอำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอำนาจเจริญ ถึงจังหวัดนครพนม สร้างในสมัย "หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร" ดำรงตำแหน่งนายช่างแขวงการทางอำนาจเจริญ ประมาณ พ.ศ. 2480-2487 หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร ทรงเป็นโอรสในพระองค์เจ้าไชยานุชิต ต่อมาได้สถาปนาเป็น "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป" ต้นราชสกุล "ชยางกูร"
  • ถนนแจ้งสนิท เริ่มต้นจากถนนสรรพสิทธิ์ (แยกแขวงการทางอุบลราชธานีที่ 1) ผ่านอำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอเขื่องใน จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น บรรจบกับถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) เริ่มสร้างในสมัย นายวิชิต แจ้งสนิท ดำรงตำแหน่งนายช่างแขวงการทางยโสธร ประมาณ พ.ศ. 2481-2488
วงเวียนน้ำพุ

ทางหลวงท้องถิ่น

การคมนาคมทางบก (ถนนที่สำคัญในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี)การตั้งชื่อถนนในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ถนนตามทิศทางของดวงอาทิตย์ จากทิศตะวันออกไปถึงทิศตะวันตก และชื่อถนนที่ตั้งในทิศทางขวางตะวัน (ทิศเหนือ-ทิศใต้)โดยชื่อถนนส่วนใหญ่จะตั้งชื่อตามพระนามข้าหลวงต่างพระองค์และโอรส และตามตำแหน่งเจ้านายที่เป็นคนอุบลราชธานีและชื่อข้าหลวงประจำจังหวัด (เจ้าเมืองอุบลราชธานี) ตามลำดับและนอกจากนี้ก็ได้ตั้งชื่อตามประวัติศาสตร์ ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เช่น

ชื่อถนนที่ตั้งตามทิศทางจากทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก (ตามชื่อข้าหลวงต่างพระองค์และเจ้านายเมืองอุบลราชธานี) คือ

  • ถนนพรหมราช ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระพรหมราชวงศา" (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ 4 ต้นราชตระกูล "สุวรรณกูฏ"
  • ถนนพรหมเทพ ตั้งชื่อตามราชทินนาม "เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์" (เจ้าหน่อคำ) สืบเชื้อสายมาจาก ราชวงศ์นครจำปาศักดิ์ เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ 5 ต้นราชตระกูล "พรหมเทพ"
  • ถนนเขื่อนธานี ตั้งชื่อตามแนวเขตคูเมืองเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยสร้างเมืองอุบลราชธานี เมื่อเก่าผุพังลงจึงได้มีการปรับปรุงให้เป็นถนน และได้ชื่อตามแนวเขตคูเมืองเดิม คือ "เขื่อนธานี"
  • ถนนศรีณรงค์ ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระยาศรีสิงหเทพ" (ทัด ไกรฤกษ์) และ "พระยาภักดีณรงค์" (สิน ไกรฤกษ์) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ 7 และ 8 ตามลำดับ
  • ถนนพิชิตรังสรรค์ ตั้งชื่อตามพระนามของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร" ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว ประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี ระหว่าง พ.ศ. 2433-2436 ต้นราชสกุล "คัคณางค์"
  • ถนนสรรพสิทธิ์ ตั้งชื่อตามพระนามของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์" ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอีสาน ประทับ ณ วังสงัด เมืองอุบลราชธานี ระหว่าง พ.ศ. 2436-2453 ต้นราชสกุล "ชุมพล"
  • ถนนอุปลีสาน ตั้งชื่อตามพระนามของ "หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล" โอรสในกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์กับหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา สกุลเดิม "บุตโรบล" (บุตรีท้าวสุรินทร์ชมภู(หมั้น)และหลานราชบุตร(สุ่ย)เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ 3)

ชื่อถนนที่ตั้งตามทิศทางจากทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก (ตามชื่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์) คือ

  • ถนนพโลรังฤทธิ์ ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อจีนฮ่อยกทัพมาเมืองหนองคายและเมืองเวียงจันทน์ ในครั้งนี้เมืองอุบลราชธานีได้มีการเกณฑ์ไพร่พลไปช่วยในการปราบปรามด้วยและได้มีการรวบรวมกำลังอยู่ที่บริเวณนี้ใต้ต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ เพื่อเป็นอนุสรณ์จึงได้ตั้งชื่อเอาไว้เพื่อเป็นการระลึกถึง ซึ่งคำว่า "พโลรังฤทธิ์" หมายถึง กองทหารที่เพียบพร้อมไปด้วยกำลังและอิทธิฤทธิ์
  • ถนนพโลชัย ตั้งชื่อตามเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่กองทัพทหารเมืองอุบลราชธานีไปปราบปรามจีนฮ่อที่เมืองหนองคายและเมืองเวียงจันทนืได้รับชัยชนะ จึงได้ตั้งชื่อเอาไว้เพื่อให้เป็นอนุสรณ์เพื่อการระลึกถึงคุณงามความดีของบรรพบุรุษ ซึ่งคำว่า "พโลชัย" หมายถึง กองทหารที่มีชัยเหนือศัตรู
  • ถนนสุรศักดิ์ ตั้งชื่อตามราชทินนามของ "จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี" แม่ทัพบัญชาการกองทหารเมืองอุบลราชธานีไปปราบฮ่อที่แคว้นหลวงพระบางและแคว้นสิบสองจุไท และได้รับชัยชนะจึงได้ตั้งชื่อถนนนี้เอาไว้เป็นอนุสรณ์ และในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวพุงดำ
  • ถนนสุริยาตร์ ตั้งชื่อตามทิศทางวงโคจรของดวงอาทิตย์ หรือ อีกนัยหนึ่งอาจมาจากชื่อของ "พระปทุมวรราชสุริยวงศ์" (เจ้าคำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก

ชื่อถนนที่ตั้งตามทิศทางจากใต้-เหนือ จากแนวริมฝั่งแม่น้ำมูลขึ้นไป (ตามคณะอาญาสี่ และตามราชทินนาม ของบุคคลที่สำคัญ) คือ

  • ถนนอุปราช ตั้งชื่อตามตำแหน่งในการปกครองเมืองอุบลราชธานี ตามคณะอาญาสี่ หรือ อาชญาสี่
  • ถนนราชบุตร ตั้งชื่อตามตำแหน่งในการปกครองเมืองอุบลราชธานี ตามคณะอาญาสี่ หรือ อาชญาสี่
  • ถนนราชวงศ์ ตั้งชื่อตามตำแหน่งในการปกครองเมืองอุบลราชธานี ตามคณะอาญาสี่ หรือ อาชญาสี่
  • ถนนอุบลเดช ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระอุบลเดชประชารักษ์" (เสือ ณ อุบล) ผู้ว่าราชการเมือง (ตามระบบเทศาภิบาล พ.ศ. 2440-2442)
  • ถนนอุบลศักดิ์ ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระอุบลศักดิ์ประชาบาล" (กุคำ สุวรรณกุฏ) ยกกระบัตรเมือง (ตามระบบเทศาภิบาลพ.ศ. 2440-2442)
  • ถนนอุบลกิจ ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระอุบลกิจประชากร" (ท้าวบุญเพ็ง บุตโรบล) ผู้รักษาตำแหน่งเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนสุดท้ายและผู้ช่วยราชการเมือง ในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
  • ถนนสุรพล ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระสุรพลชยากร" (อุ่น วนะรมย์) ได้รับแต่งตั้งให้เป็น พล (เมือง) ทำหน้าที่กำกับดูแลกำลังพลของเมือง
  • ถนนเทพโยธี ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระโยธีบริรักษ์" (เคลือบ ไกรฤกษ์) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ 9
  • ถนนสุนทรกิจวิมล ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระสุนทรกิจวิมล" (คูณ สังโขบล) มหาดไทยเมือง ในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ (ชื่อตามป้ายถนนคือ "ถนนสุนทรวิมล")
  • ถนนจงกลนิธาน ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระจงกลนิธานสุพันธ์" (สุคำทัด สุวรรณกูฏ) กรมการเมืองผู้ใหญ่ ในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
  • ถนนพนม ตั้งชื่อตามราชทินนาม "อำมาตย์เอก พระพนมนครานุรักษ์" (ฮกไถ่ พิศาลบุตร) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่ 22
  • สถานีรถไฟอุบลราชธานี เป็นสถานีรถไฟปลายทางของตะวันออกเฉียงเหนือ

หมายเหตุ

  • คณะอาญาสี่ หรือ อาชญาสี่ ประกอบไปด้วย เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ และราชบุตร
  • มณฑลลาวกาว ประกอบไปด้วย เมืองอุบลราชธานี นครจำปาศักดิ์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น มณฑลอีสาน ตั้งกองบัญชาการที่เมืองอุบลราชธานี และในปี พ.ศ. 2455 ได้แบ่งออกเป็น 2 มณฑลคือ มณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ด

การขนส่งสาธารณะ

รถสองแถว

การคมนาคมทางบก (ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี)

  • มีการบริการด้วยรถสองแถวประจำทาง เช่น สาย 8 สาย 10 เป็นต้น นอกจากนี้มีการบริการด้วยรถจักรยานยนต์รับจ้าง รถตุ๊กตุ๊ก (สามล้อเครื่อง) และรถแท็กซี่มิเตอร์ โดยให้บริการตามถนนสายต่างๆและสถานที่สำคัญ เช่น หน้าโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ หน้าศาลากลางจังหวัด หน้าตลาดสดเทศบาล 3 เป็นต้น

การคมนาคมทางบก มีการบริการด้วยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศจากจังหวัดต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคเหนือและโครงการเดินรถในเขตภาคใต้มายังจังหวัดอุบลราชธานี ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี เช่น

  • กรุงเทพมหานคร (หมอชิตใหม่) - อุบลราชธานี
  • เชียงใหม่ (สถานีขนส่งอาเขต) - อุบลราชธานี
  • ขอนแก่น - อุบลราชธานี
  • อุดรธานี - อุบลราชธานี
  • ระยอง - พัทยา - อุบลราชธานี
  • หัวหิน - อุบลราชธานี
  • ภูเก็ต - อุบลราชธานี
  • แม่สาย - เชียงราย - อุบลราชธานี (ในอนาคต) เป็นต้น

และนอกจากนี้ยังมีการให้บริการด้วยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศระหว่างประเทศซึ่งเดินทางมาถึงเมืองอุบลราชธานี คือ

  • ปากเซ (แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว) - อุบลราชธานี
  • จำปาศักดิ์ - อุบลราชธานี (กำลังดำเนินการ)
  • คอนพะเพ็ง - อุบลราชธานี (โครงการ)

ท่าอากาศยาน

มีท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี (Ubon Ratchathani International Airport) โดยเป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน นายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2531) ให้บริการโดยสายการบินดังนี้

ใกล้เคียง

เทศบาลนครแหลมฉบัง เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมือง เทศบาลนครนครราชสีมา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เทศบาลนครในประเทศไทย เทศบาลเมืองปากพูน เทศบาลนครอุบลราชธานี เทศบาลนครอุดรธานี

แหล่งที่มา

WikiPedia: เทศบาลนครอุบลราชธานี ftp://dossier.ogp.noaa.gov/GCOS/WMO-Normals/RA-II/... http://welfarecityub.blogspot.com/2016/06/blog-pos... http://www.hko.gov.hk/wxinfo/climat/world/eng/asia... http://worldweather.wmo.int/089/c00572.htm http://www.ubonguide.org/ //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.burapa.ac.th/ http://www.cityub.go.th/ http://www.cityub.go.th/Newweb/index.php?option=co... http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/v...