ประวัติ ของ เทศบาลเมืองสิงหนคร

สมัยโบราณเมืองแห่งนี้เป็นเมืองท่าสำคัญของภาคใต้ ที่มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศชาวเปอร์เซีย ชาวอาหรับ และชาวอินเดียจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระบรมวินิจฉัยว่าคำว่า "สงขลา" มาจากชื่อเดิมคือ "สิงหนคร" อ่านเป็น สิง-หะ-นะ-คะ-ระ แต่ชาวไทยภาคใต้และชาวไทยเชื้อสายมลายูพูดเสียงรัวสั้นเร็วมาก จึงออกเสียงเป็นซิงหะราและกลายเป็นสิงหนครในที่สุด เดิมพื้นที่ของเทศบาลเมืองสิงหนครทั้งหมดเป็นพื้นที่อยู่ในเขตปกครองของอำเภอเมืองสงขลา ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองสงขลาตั้งเป็นกิ่งอำเภอสิงหนคร แล้วได้ยกฐานะเป็นอำเภอสิงหนครในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2534

ตามนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าท้องถิ่นของตำบลหัวเขา ตำบลสทิงหม้อ ตำบลชิงโคและตำบลทำนบ มีสภาพความเจริญพอสมควรยกฐานะเป็นสุขาภิบาลซึ่งเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งสุขาภิบาลสิงหนครขึ้นในอำเภอสิงหนคร วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2535[2]

ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติยกฐานะเปลี่ยนแปลงท้องถิ่นสุขาภิบาลสิงหนคร ตำบลหัวเขา (หมู่ที่ 1–8 รวม 8 หมู่บ้าน), ตำบลสทิงหม้อ (หมู่ที่ 1–6 รวม 6 หมู่บ้าน), ตำบลชิงโค (หมู่ที่ 1–4 และบางส่วนของหมู่ที่ 5 และ 6), และตำบลทำนบ (บางส่วนของหมู่ที่ 1 หมู่ 3) รวมเนื้อที่ทั้งหมด 33.9 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่เดิมของสุขาภิบาลสิงหนคร) จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลสิงหนคร วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542[3] และล่าสุดได้ประกาศเปลียนแปลงฐานะเทศบาลตำบลสิงหนครมาเป็นเทศบาลเมืองสิงหนคร ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548[4]

ใกล้เคียง