ประวัติศาสตร์ ของ เทศมณฑลของประเทศโครเอเชีย

แผนที่แสดงอาณาบริเวณคร่าว ๆ ของเทศมณฑลของราชอาณาจักรโครเอเชียสมัยศตวรรษที่ 10 ซ้อนทับกับแผนที่ประเทศโครเอเชียและประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในปัจจุบัน

ราชอาณาจักรโครเอเชียแบ่งออกเป็นเทศมณฑลเป็นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์เตอร์ปิมีรอวิชในสมัยกลาง[11] ในสมัยนั้นมีจำนวน 14 เทศมณฑลได้แก่:[12][13]

เทศมณฑลเกอร์บาวา ลีกา และกาตส์กามีผู้ปกครองหนึ่งคนที่เรียกว่า บาน โดยเทศมณฑลสามเทศมณฑลดังกล่าวอยู่ในบริเวณเทศมณฑลลีกา-เซญในปัจจุบัน ในช่วงเวลาเดียวกัน เทศมณฑลในพื้นที่พันโนเนียตอนล่างทางทิศเหนือของเทือกเขากว็อซด์ไม่ได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์มากนัก สันนิษฐานว่าเทศมณฑลในพื้นที่พันโนเนียตอนล่างอาจจะอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์โครเอเชียโดยตรง ซึ่งแตกต่างจากเทศมณฑลในพื้นที่ทางใต้ที่มีขุนนางปกครอง[14]

จำนวน ขอบเขต และอำนาจของเทศมณฑลเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงเวลาหลายศตวรรษ ซึ่งสะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในประวัติศาสตร์โดยรวมได้แก่การเปลี่ยนแปลงอำนาจของกษัตริย์และขุนนาง การช่วงชิงดินแดนระหว่างจักรวรรดิออตโตมันกับโครเอเชีย และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองการปกครองอื่น ๆ[14][15] ในช่วงศตวรรษที่ 13 และ 14 ขุนนางโครเอเชียเรืองอำนาจ เทศมณฑลที่กษัตริย์กำหนดไว้จึงถูกลดความสำคัญลงเหลือเพียงแค่ในทางกฎหมาย ในขณะที่อำนาจทางทหารและการคลังตกอยู่ที่ขุนนาง นอกจากนี้ยังมีการบริหารราชการแบบอื่นที่ทับซ้อนกับเทศมณฑลในช่วงเวลานี้เช่นคริสตจักรโรมันคาทอลิก เสรีราชนคร (Free royal city) และนครต่าง ๆ ในแดลเมเชีย ต่อมาใน ค.ศ. 1527 หลังจากที่โครเอเชียกลายเป็นดินแดนหนึ่งของราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค เทศมณฑลก็ยิ่งลดความสำคัญลงไปอีกก่อนที่จะได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งอย่างช้า ๆ หลังจาก ค.ศ. 1760[14]

ในศตวรรษที่ 19 การปฏิวัติในจักรวรรดิออสเตรีย ค.ศ. 1848 ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ โดยมีการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนขึ้นภายในราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนียได้ขยายอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่แนวหน้าโครเอเชียและพื้นที่แนวหน้าสลาโวเนียใน ค.ศ. 1881 ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 นั้นเองเทศมณฑลในโครเอเชียก็ผ่านการจัดระเบียบใหม่หลายครั้งตามสถานะของราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนียในจักรวรรดิออสเตรีย/ออสเตรีย-ฮังการี การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นหลังสุดได้แก่ใน ค.ศ. 1886 โดยมีการจัดตั้งเทศมณฑลขึ้นใหม่ 8 เทศมณฑล ซึ่งยังคงใช้อยู่จนถึง ค.ศ. 1922 เมื่อเทศมณฑลถูกยกเลิก[14][15] ใน ค.ศ. 1913 มีการปรับปรุงแก้ไขเขตพื้นที่เทศมณฑลเล็กน้อย[16] เทศมณฑลในช่วงนี้จะมีลักษณะเป็นองค์การที่ปกครองตนเองซึ่งต่างจากในสมัยกลาง แต่ละเทศมณฑลจะมีสภาเทศมณฑล (županijska skupština) โดยครึ่งหนึ่งของสภาได้แก่ผู้ที่จ่ายภาษีจำนวนมากที่สุด และอีกครึ่งหนึ่งของสภามาจากการเลือกตั้ง นายกเทศมณฑล (veliki župan) จะได้รับการแต่งตั้งโดยกษัตริย์ และเจ้าหน้าที่ของเทศมณฑลจะได้รับการแต่งตั้งโดย บาน ซึ่งเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน ในแต่ละเทศมณฑลยังมีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 6 คนที่ได้รับเลือกโดยสภาเทศมณฑล เทศมณฑลจะแบ่งย่อยลงไปเป็นอำเภอ (kotari) ในขณะที่เทศบาล (općine) และนคร (gradovi) มีลักษณะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[14]

เทศมณฑลเดิมของโครเอเชียถูกยกเลิกใน ค.ศ. 1922 หลังจากที่ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนได้เปลี่ยนมาใช้ระบบแคว้น (oblast) แทน ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นบานอวินาใน ค.ศ. 1929[17] หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียแบ่งการปกครองออกเป็นประมาณ 100 เทศบาลซึ่งมีฐานะเป็นทั้งหน่วยการปกครองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ใน ค.ศ. 1992 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับสงครามประกาศเอกราชโครเอเชีย ได้มีการรื้อฟื้นระบบเทศมณฑลกลับมาอีกครั้ง พื้นที่ประเทศโครเอเชียใน ค.ศ. 1922 ในพื้นที่ทรานส์ไลทาเนียแบ่งออกเป็นแปดเทศมณฑล แต่พื้นที่เดียวกันใน ค.ศ. 1992 แบ่งออกเป็น 14 เทศมณฑล ในขณะที่เทศมณฑลเมจิมูริเยจัดตั้งขึ้นตามดินแดนที่โครเอเชียได้มาหลังจากสนธิสัญญาทรียานงใน ค.ศ. 1920[18][19] หลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตแดนหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นล่าสุดมีขึ้นใน ค.ศ. 2006[4]

ใกล้เคียง

เทศมณฑล เทศมณฑลของประเทศอิหร่าน เทศมณฑลของประเทศโครเอเชีย เทศมณฑลฮวาเหลียน เทศมณฑลของประเทศโรมาเนีย เทศมณฑลจางฮว่า เทศมณฑลหนานโถว เทศมณฑลเจียอี้ เทศมณฑลซินจู๋ เทศมณฑลผิงตง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เทศมณฑลของประเทศโครเอเชีย http://hgk.biznet.hr/hgk/tekst.php?a=b&page=tekst&... http://www.dalmacija.hr/O%C5%BDupaniji/Op%C4%87ipo... http://www.dzs.hr/Eng/censuses/census2011/results/... http://www.historiografija.hr/hz/1952/HZ_5_11_MAND... http://www.hrvzz.hr/en/home?lang=en http://www.leykam-international.hr/publikacija.php... http://narodne-novine.nn.hr/clanci/sluzbeni/1992_1... http://narodne-novine.nn.hr/clanci/sluzbeni/1997_0... http://narodne-novine.nn.hr/clanci/sluzbeni/2006_0... http://narodne-novine.nn.hr/clanci/sluzbeni/2012_1...