หลักเกณฑ์การพิจารณาให้เป็นมรดกโลก ของ เบลีซแบร์ริเออร์รีฟ

(vii) : การเกิดแนวปะการัง ต้องใช้ระยะเวลานับล้านปี เพราะแนวปะการัง คือปะการัง และ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ รวมถึงซากของสิ่งมีชีวิตในทะเลต่างๆ เช่น หอยที่มีเปลือกแข็ง สาหร่ายหินปูน มารวมกัน โดยปะการังเองและสิ่งมีชีวิตที่สร้างหินปูนได้ เมื่อตายไปแล้วจะยังคงเหลือซากหินปูนทับถมพอกพูน ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการสร้างแนวปะการัง ซากหินปูนเหล่านั้นค่อย ๆ ผุกร่อนเป็นผงตะกอน ซึ่งส่วนหนึ่งก็ยังคงสะสมพอกพูนในแนวปะการัง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจถูกพัดพาล่องลอยไปตามกระแสน้ำไปทับถมพอกพูนเป็นชายหาด โดยวิธีการเกิดแนวปะการังของเบลีซนี้ แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก

(ix) : ด้วยความที่แนวปะการังเบลีซ เป็นแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในซีกโลกเหนือ มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งบนชายฝั่ง และใต้ทะเล ซึ่งความโดดเด่นของปะการังเบลีซนี้มี เอกลักษณ์ หายาก สวยงามแปลกตาเป็นพิเศษ

(x): แนวปะการังเบลีซ เป็นถิ่นอาศัยของสัตว์และพืชพรรณที่หายากจำนวนมาก ทั้งบนชายฝั่ง และใต้น้ำ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแนวปะการังเบลีซเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย

แต่เมื่อ ค.ศ. 2009 เบลีซแบร์ริเออร์รีฟ ก็ถูกจัดอยู่ในรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย ด้วยปัจจัยต่างๆไมว่าจะเป็น การทำประมงผิดกฎหมาย ภัยคุกคามจากนักท่องเที่ยวที่ควบคุมไม่ได้ รวมถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเล หรือ เอลนิโญ่ ซึ่งแนวปะการังเบลีซเสียหายไปเกือบ 40 % เพราะการเกิดปะการังฟอกขาว และพายุเฮอริเคน ที่ทำให้ปะการังแตกหัก สิ่งที่ทำได้เพียงเพิ่มมาตรการป้องกันภัยคุกคามจากการประมง และการท่องเที่ยว เพื่อที่จะให้ปะการังฟื้นฟูด้วยตัวเอง [2]

ใกล้เคียง

เบลีซ เบลีซแบร์ริเออร์รีฟ เบลีซซิตี เบลซบลู เอลีซาแบ็ต-หลุยส์ วีเฌ-เลอเบริง เบลซ เดอะแคท เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล เอลีซาเบตา รีเซอา เบลซบลู ออลเทอร์นาทิฟ ดาร์กวอร์ เอลีซาเบ็ทแห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส