เบาจืด
เบาจืด

เบาจืด

เบาจืด (อังกฤษ: diabetes insipidus, DI) เป็นภาวะที่มีลักษณะปริมาณปัสสาวะมาก เจือจาง และความกระหายน้ำเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยอาจมีปริมาณปัสสาวะได้มากถึง 20 ลิตรต่อวัน แม้ผู้ป่วยจะลดการกินของเหลวแล้วร่างกายก็จะยังไม่สามารถทำปัสสาวะให้เข้มข้นขึ้นได้ ต่างจากคนปกติที่เมื่อลดการกินของเหลว (เช่น หิวน้ำ) ปัสสาวะจะเข้มข้น ภาวะแทรกซ้อนอาจได้แก่ ภาวะขาดน้ำหรือชัก[1]มีเบาจืด 4 ชนิดแบ่งตามสาเหตุ เบาจืดเหตุสมอง (central DI) เนื่องจากขาดฮอร์โมนเวโซเพรสซิน (ฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะ) อาจเกิดจากความเสียหายต่อไฮโปทาลามัสหรือต่อมใต้สมอง หรือกรรมพันธุ์ เบาจืดเหตุไต (nephrogenic DI) เกิดเมื่อไตไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อเวโซเพรสซิน เบาจืดเหตุดื่มน้ำ (Dipsogenic DI) เกิดจากกลไกความกระหายผิดปกติในไฮโปทาลามัส และเบาจืดเหตุตั้งครรภ์ (gestational DI) เกิดเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์ การวินิจฉัยมักอาศัยการทดสอบปัสสาวะ การทดสอบเลือดและการทดสอบการขาดน้ำ ส่วนเบาหวานเป็นอีกภาวะหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่คล้ายกันตรงที่ทั้งสองภาวะต่างทำให้ผู้ป่วยมีปัสสาวะปริมาณมากเหมือนกัน[1]การรักษาได้แก่การดื่มของเหลวให้เพียงพอเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ การรักษาอย่างอื่นขึ้นอยู่กับชนิดของเบาจืด ในเบาจืดเหตุสมองและเบาจืดเหตุตั้งครรภ์สามารถรักษาได้โดยใช้เดสโมเพรสซิน เบาจืดเหตุไตต้องรักษาตามสาเหตุหรือใช้ยาไทอะไซด์ แอสไพรินหรือไอบูโพรเฟน จำนวนผู้ป่วยเบาจืดรายใหม่มี 3 ใน 100,000 คนต่อปี[4] เบาจืดเหตุสมองโดยทั่วไปจะเริ่มเมื่ออายุ 10 ถึง 20 ปี และพบในชายหญิงเท่า ๆ กัน[2] เบาจืดเหตุไตเริ่มเกิดเมื่อใดก็ได้[3]

เบาจืด

อาการ ปริมาณปัสสาวะเจือจางมาก, ความกระหายน้ำเพิ่มขึ้น[1]
สาขาวิชา วิทยาต่อมไร้ท่อ
ประเภท กลาง, ไต, ดื่มน้ำมาก, ครรภ์[1]
ความชุก 3 ต่อ 100,000 คนต่อปี[4]
สาเหตุ แล้วแต่ชนิด[1]
วิธีวินิจฉัย การตรวจปัสสาวะ, การตรวจเลือด, การทดสอบขาดน้ำ[1]
ภาวะแทรกซ้อน ภาวะขาดน้ำ ชัก[1]
ยา เดสโมเพรสซิน, ไทอะไซด์, แอสไพริน[1]
การรักษา ดื่มของเหลวให้เพียงพอ[1]
การตั้งต้น อายุเท่าใดก็ได้[2][3]
โรคอื่นที่คล้ายกัน เบาหวาน[1]
พยากรณ์โรค ดีหากได้รับการรักษา[1]