การใช้ประโยชน์ ของ เพกา

ชาวกะเหรียงใช้เปลือกต้นย้อมผ้าให้สีเขียว[3]สรรพคุณตามตำรายาไทย พบว่ามีการใช้เพกาตั้งแต่เปลือกต้น ราก ฝัก ใบ และเมล็ด จัดเป็น "เพกาทั้ง 5" ใช้รากเป็นยาบำรุงธาตุ แก้บิด ท้องร่วง เมล็ดเป็นยาระบาย

เปลือกต้น มีรสฝาด เย็น ขมเล็กน้อย มีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมาน ขับลมในลำไส้ แก้โรคบิด ท้องร่วง บำรุงโลหิต ขับน้ำเหลืองเสียบางแห่ง ผู้เฒ่าผู้แก่จะเอาเปลือกต้นมาต้มน้ำให้แม่ลูกอ่อนดื่ม ช่วยขับน้ำคาวปลา ให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ดับพิษโลหิต และบำรุงโลหิตการใช้รักษาฝี – นำเปลือกต้นฝนทารอบ ๆ บริเวณฝี ช่วยลดความปวดฝีได้การใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำ อักเสบ - นำเปลือกต้นฝนกับน้ำปูนใสทาลดอาการบวม ฟกช้ำ อักเสบ

ราก มีรสฝาดขมเล็กน้อย ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ เรียกน้ำย่อย เจริญอาหาร รักษาโรคท้องร่วง บิดหากนำมาฝนกับน้ำปูนใสทาแผลที่อักเสบ ฟกช้ำ บวม จะช่วยให้หายไปในระยะเวลาอันสั้น

ฝักอ่อน นิยมรับประทานเป็นผัก ช่วยบำรุงธาตุ ขับเสมหะ บรรเทาอาการไอ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น

ใบ ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง ขับลม บรรเทาอาการปวดไข้ และยังช่วยให้เจริญอาหาร

เมล็ด สามารถใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ

ยาพอกแก้โรคฝี เอา เปลือกเพกา ฝนกับน้ำสะอาด ผสมกับเมล็ดต้อยติ่ง ทาหรือพอก ดับพิษฝี

แก้โรคงูสวัด ใช้รากต้นหมูหมุน (พืชตระกูลสาวน้อยปะแป้ง) เปลือกคูณ เปลือกต้นเพกา ฝนใส่น้ำทา

ยาพอกแก้โรคฝี เอาเมล็ดต้อยติ่ง ผสมกับน้ำเปลือกเพกา ฝนทา หรือพอกดับพิษฝี

ยาแก้พิษหมาบ้ากัด เอาใบกระทุ้งหมาบ้า ลนไฟปิดปากแผล หรือเอาเปลือกเพกา ตำพอกแผล

ยาแก้ลูกอัณฑะลง (ไส้เลื่อน) ใช้รากเขยตาย เปลือกเพกา หญ้าตีนนก ทั้งหมดตำให้ละเอียด ละลายน้ำข้าวเช็ด ใช้ขนไก่ชุบพาด ทาลูกอัณฑะ ทาขึ้น (อย่าทาลง)

ยาแก้เบาหวาน ใช้ใบไข่เน่า เปลือกต้นไข่เน่า ใบเลี่ยน รากหญ้าคา บอระเพ็ด แก่นลั่นทม เปลือกเพกา รวม 7 อย่าง หนักอย่างละ 2 บาท มาต้มรับประทานครั้งละ 1 แก้วกาแฟ ก่อนอาหาร เช้า - เย็น