สเป็กเครื่องและส่วนประกอบ ของ เพลย์สเตชัน_3

รายละเอียดนี้เป็นข้อมูลจากการเปิดเผยของโซนี่ในงาน อี3 (E³ : Electronic Entertainment Expo)

หน่วยประมวลผลกลาง (ซีพียู)

3.2 GHz PowerPC "Cell Processor" 1 ตัว ที่เป็น "Power Processing Element : PPE" และ "Synergystic Processing Elements : SPEs" ความเร็ว 3.2 GHz จำนวน 7 ตัว มีความจำแคช L2 ขนาด 512Kb

หน่วยประมวลผลกราฟิก (จีพียู)

พัฒนาขึ้นโดย nVidia โดยให้ชื่อว่า "Reality Syntheziser"

  • พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของโครงสร้าง NVIDIA NV47
  • ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 550 MHz.
  • ความจำแบบ 128 บิต
  • 211.2 GFLOPS แบบโปรแกรมได้ สูงสุด 1.8 TFLOPS
  • 136 shader operations per clock ( * 550 Mhz = 74.8 billion / second, 1 แสนล้าน with CPU)
  • 24 2D texture lookups per clock ( * 550 Mhz = 13.2 billion / second)
  • 33 billion dot products per second (51 billion dot products with CPU)
  • 128-bit pixel precision offers rendering of scenes with High dynamic range rendering

หน่วยความจำ

ทั้งหมด 512 MB แบ่งเป็น

  • 256 MB Rambus XDR DRAM ความเร็ว 3.2 เท่ากับซีพียู
  • 256 MB GDDR3 VRAM ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 700 MHz

System Bandwidth

  • 204.8 GB/s Cell Element Interconnect Bus (Theoretical peak performance)
  • Cell FlexIO Bus: 35 GB/s outbound, 25 GB/s inbound (7 outbound and 5 inbound 1Byte wide channels operating at 5 GHz) (effective bandwidth typically 50-80% of total)
  • 51.2 GB/s SPE to local store
  • Experimental Sustained bandwidth for some SPE-to-SPE DMA transfers - 78 to 197 GB/s.
  • 25.6 GB/s to Main Ram XDR DRAM: 64 bits × 3.2 GHz / 8 bits to a byte
  • 22.4 GB/s to GDDR3 VRAM: 128 bits × 700 MHz × 2 accesses per clock cycle (one per edge) / 8 bits to a byte
  • RSX 20 GB/s (write) , 15 GB/s (read)
  • System Bus (separate from XIO controller) 2.5 GB/s write and 2.5 GB/s read

อินเตอร์เฟส

วิดีโอ

  • แบบ Composite (หัวสีเหลือง แบบ RCA)
  • แบบ S-Video (แยกระหว่างสัญญาณภาพและแสง)
  • แบบ Component Video (หัวแบบ RCA สีแดง น้ำเงิน และเขียว) ความละเอียดสูงสุด 1080p
  • แบบ HDMI 1.3 (สัญญาณดิจิตอล เฉพาะรุ่น "พิเศษ" เท่านั้น)
ขนาดภาพ (กว้าง*ยาว)สัดส่วนภาพเมกะพิกเซลล์ระบบช่องต่อ (RGB ผ่าน ช่องต่อ VGA หรือ SCART)
720x480 แบบไขว้กัน4:30.31 แบบไขว้กัน480iComposite video / S-Video / Component video / RGBHV / RGB-SCART
720x4804:30.31VGA / 480pComponent video / RGBHV
1280x72016:90.92720pComponent video / RGBHV
1920x1080 แบบไขว้กัน16:92.07 แบบไขว้กัน1080i
1920x1080 แบบเส้นตรง16:92.071080pComponent video / HDMI

เสียง

  • S/PDIF เป็นช่องต่อแบบ ออพติคอล แบ่งสัญญาณมากที่สุดที่ 7.1 ช่อง
  • Dolby TrueHD โดยใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่รองรับ
  • DTS-HD
  • LPCM ประมวลผลโดยระบบประมวลผลกลาง

การเชื่อมต่อ/สื่อสาร

  • Wireless Network 54G 1 พอร์ต (ยกเว้นรุ่น 20 GBที่ยกเลิกสายการผลิตไปแล้ว)
  • Gigabit Ethernet 1 พอร์ต
  • ยูเอสบี 4 พอร์ต (มีเฉพาะรุ่น 60 (ยกเลิกสายการผลิต) และ 80 GB) 2 พอร์ต (เฉพาะรุ่น 20 GB(ยกเลิกสายการผลิต) และ 40 GB)
  • บลูทูธ 2.0 พร้อม EDR
  • การ์ดรีดเดอร์ 1 ชุด (เฉพาะรุ่น 60 (ยกเลิกสายการผลิต) และ 80 GB)

การเก็บข้อมูล

แบบออฟติคอล

  • บลูเรย์ (ความเร็ว 2x = 9MB/s) เพลย์สเตชัน 3 BD-ROM, BD-Video, BD-R/RE
  • ดีวีดี (ความเร็ว 8x = 11MB/s) เพลย์สเตชัน 2 DVD-ROM, DVD-Video, DVD ± R/RW
  • ซีดี (ความเร็ว 24x = 3.5MB/s) เพลย์สเตชัน CD-ROM, เพลย์สเตชัน 2 CD-ROM, CD-DA, CD-DA (ROM) , CD-R, CD-RW
  • เอสเอซีดี (2x)

ฮาร์ดไดรฟ์ แบบอัพเกรดได้ 2 ความจุ คือ 20 และ 60GB ขนาด 2.5 นิ้ว พร้อมติดตั้ง ลีนุกซ์
เมมโมรี่แบบการ์ด (เฉพาะรุ่น "พิเศษ") อ่าน Memory Stick, SD&MMC, CompactFlash.

คอนโทรลเลอร์

คอนโทรลเลอร์แบบล่าสุด รูปร่างคล้าย Dualshock 2 เดิมมาก

หลังจากเปิดตัวคอนโทรลเลอร์รูปทรงคล้าย บูมเมอแรง หรือ กล้วยหอม ในงาน E3 2005 มีเสียงปฏิเสธอย่างหนาหู ทำให้โซนี่ยกเลิกรูปแบบคอนโทรลเลอร์นี้และหันกลับมาใช้แบบ Dualshock 2 เดิม โดยเพิ่มระบบไร้สาย เพิ่มประสิทธิภาพของการวัดแรงกดของปุ่มต่างๆ ทำรูปทรงปุ่ม L2 และ R2 คล้ายไกปืนมากขึ้น เพิ่มปุ่มกลางคอนโทรลเลอร์ (คล้ายกับ Xbox 360) และมีช่องต่อ B-type ยูเอสบี เพื่อใช้ในการชาร์จแบตและเล่นแบบต่อสาย มีไฟ 4 ดวงพร้อมตัวเลขแสดงการเชื่อมต่อกับตัวเครื่องเมื่อต่อพร้อมกัน 4 ตัว มีระบบจับการเคลื่อนไหว ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ต้องตัดระบบสั่นออกเพื่อป้องกันการก่อกวน แต่ในปัจจุบันโซนี่ได้นำระบบสั่นเข้ามาในคอนโทรลเลอร์โดยใช้ชื่อว่า Dualshock 3

ข้อมูลเพิ่มเติม

เคน คุตะระงิ กล่าวว่า เพลย์สเตชัน 3 จะใช้ระบบลดอุณหภูมิด้วยท่อนำความร้อน และไม่ใช้ระบบของเหลว เพื่อให้เครื่องทำงานเงียบเทียบเท่าเพลย์สเตชัน 2 ตัวเล็ก

  • คอนโทรลเลอร์แบบ "บูมเมอแรง" ได้ถูกยกเลิกไป

ปัญหาของเครื่อง เพลย์สเตชัน 3

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก
  • ในบางรุ่นสายการผลิตมีปัญหาในเรื่องของหัวอ่านบลูเรย์ดิสก์มีความบอบบางและเสียหายได้ง่าย เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุด โดยที่รุ่นที่พบมากที่สุดคือรุ่น 60GB (ยกเลิกสายการผลิตแล้ว) ซึ่งในปัจจุบันพบปัญหานี้น้อยลงแล้ว
  • Yellow Light Of Dead เป็นปัญหาที่ทำให้ตัวเครื่อง PS3 ไม่สามารถใช้งานได้ โดยเมื่อกดเปิดเครื่อง จะปรากฏเป็นสัญญาณไฟเป็นสีเหลือง แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงกะพริบ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้น ทางโซนี่ไม่ได้แถลงว่าสาเหตุเกิดจากอะไร และรุ่นที่พบมากที่สุด คือรุ่น 20GB และ 60GB ที่ผลิตในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 แต่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก