ประวัติ ของ เฟื้อ_หริพิทักษ์

นายเฟื้อเกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2453 ที่จังหวัดธนบุรี มีนามเดิมว่า นาย เฟื้อ ทองอยู่[2] เป็นบุตรชายของ นายเปล่งมหาดเล็ก ต่อมา พ.ศ. 2468 ศึกษาระดับประถมศึกษาที่วัดสุทัศน์ และระดับมัธยมที่โรงเรียนวัดราชบพิธ และโรงเรียนวัดเบญจมบพิตร ทำงานที่วิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร จากนั้น พ.ศ. 2483 ได้เดินทางไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยวิศวะ–ภารติ ที่ประเทศอินเดีย รับราชการเป็นอาจารย์สอนศิลปะรุ่นแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศอิตาลี เมื่อ พ.ศ. 2497 ได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมจนได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมสาขาจิตรกรรม

เฟื้อเป็นผู้สนใจศึกษาศิลปะอย่างมุ่งมั่นลึกซึ้ง ด้วยการค้นหาแนวทางสร้างสรรค์ให้เหมาะกับการแสดงออกทางด้านจิตรกรรม ที่มีลักษณะเฉพาะตนโดยการถ่ายทอดสภาพแวดล้อม บรรยากาศ แสงเงา ประกอบกับความคิดคำนึงเรื่องสีสันที่เป็นลักษณะตามสายสกุลศิลปะยุโรป (อิตาลี) ใช้ฝีแปรงที่ฉับพลัน ดังปรากฏในผลงานจิตรกรรมมากมาย เช่น จิตรกรรมทิวทัศน์เมืองเวนิชที่อิตาลี ทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ภาพเหมือนคุณยายของฉัน ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ฯลฯ

นอกจากนี้ เฟื้อยังสำรวจโดยคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังตามวัดสำคัญที่เป็นโบราณสถานเก็บไว้เป็นหลักฐานมรดกทางประวัติศาสตร์ศิลปะของชาติ มีผลงานซ่อมแซมภาพจิตรกรรมสำคัญในวัดทั่วประเทศไทยทั้งสิ้น 23,000 วัด ผลงานที่สำคัญชิ้นหนึ่ง คือการบูรณปฏิสังขรณ์หอไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตาราม

เฟื้อสมรสกับหม่อมราชวงศ์ถนอมศักดิ์ กฤดากร พระธิดาของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร อดีตเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศส มีบุตร 1 คน คือ ทำนุ หริพิทักษ์ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เฟื้อตกเป็นเชลยไทยในอินเดีย เพราะไทยประกาศสงครามกับอังกฤษ เขาถูกพรากจากภรรยา จึงเปลี่ยนไปนับถือพระวิษณุ และเปลี่ยนนามสกุลจากทองอยู่ เป็นหริพิทักษ์[2]

ใกล้เคียง