ชีวิตในอาคารผู้โดยสาร ของ เมฮ์รอน_แครีมี_นอเซรี

นอเซรีอ้างว่าเขาถูกขับออกจากอิหร่านในปี 1977 เนื่องจากไปประท้วงขับไล่ชาห์แห่งราชวงศ์ปาห์ลาวี หลังจากนั้นเขาได้ยื่นจดหมายขอลี้ภัยทางการเมืองไปยังหลายประเทศ หลังผ่านขั้นตอนจำนวนมากในการสมัคร เขาได้รับรองการลี้ภัยโดย UNHCR ในเบลเยียม ที่ซึ่งเข้าใจว่ายินยอมให้สามารถอยู่อาศัยในยุโรปประเทศใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม การอ้างนี้เป็นที่ถกเถียง และการตรวจสอบต่อมาพบว่านอเซรีไม่เคยถูกขับออกจากอิหร่าน[4]

เขาสามารถเดินทางไปมาระหว่างสหราชอาณาจักรกับฝรั่งเศส กระทั่งในปี 1988 เขาระบุว่าเอกสารระบุตัวตนของเขาทั้งหมดสุญหายหลังกระเป๋าเดินทางของเขาถูกขโมย[7] ข้อมูลจากแหล่งอื่นเสนอว่าจริง ๆ แล้ว นอเซรีได้ส่งไปรษณีย์เอกสารระบุตัวตนทั้งหมดไปยังบรัสเซลส์ขณะนั่งเรือข้ามฟากไปอังกฤษ และเรื่องการถูกขโมยกระเป๋าที่เขาอ้างนี้ไม่เป็นความจริง[8] หลังเดินทางถึงลอนดอน เขาถูกส่งกลับฝรั่งเศสเนื่องจากไม่สามารถสำแดงหนังสือเดินทางแก่ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ลอนดอนได้ เมื่อกลับมาถึงฝรั่งเศส เขาก็ไม่สามารถยืนยันตัวตนหรือยืนยันสถานะผู้ลี้ภัยได้ เขาจึงถูกกักตัวไว้ในเขต zone d'attente ซึ่งมีไว้สำหรับนักเดินทางที่ไม่มีเอกสารระบุตัวตน[5] ต่อมา กรณีของนอเซรีได้รับการดูแลโดยนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนชาวฝรั่งเศส Christian Bourget[9]

มีความพยายามออกเอกสารใหม่ให้กับเขาจากเบลเยียม แต่เจ้าหน้าที่จะออกเอกสารให้ได้ก็ต่อเมื่อนอเซรีเดินทางมารับด้วยตนเอง กระทั่งในปี 1995 ทางการเบลเยียมได้อนุมัติให้เขาเดินทางมายังเบลเยียม แต่ภายใต้ข้อตกลงว่าเขาจะต้องอาศัยในเบลเยียมภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ นอเซรีปฏิเสธข้อเสนอนี้โดยอ้างว่าอยากเดินทางเข้าสหราชอาณาจักรตามที่ตั้งใจไว้เดิม[7] ทั้งฝรั่งเศสและเบลเยียมได้ยื่นข้อเสนอให้นอเซรีพำนักในประเทศของตน แต่นอเซรีปฏิเสธที่จะลงชื่อในเอกสารเพราะในเอกสารระบุสัญชาติของเขาเป็นอิหร่าน แต่เขาต้องการให้ระบุว่าเป็นอังกฤษ รวมถึงยังไม่ใช้ชื่อ "Sir Alfred Mehran" ตามที่เขาต้องการ[2] การไม่ลงนามในเอกสารนี้ทำให้นักกฎหมายที่ดูแลกรณีของเขา Bourget โมโหเป็นอย่างมาก[8] ในการติดต่อกับครอบครัวของนอเซรี ครอบครัวเขายังระบุว่าเชื่อว่าเขากำลังใช้ชีวิตแบบที่ตัวเองต้องการอยู่[4]

ในปี 2003 สตีเวน สปีลเบิร์ก โดยบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ดรีมเวิกส์ของเขา ได้จ่ายเงินแก่นอเซรีเพื่อรับสิทธิ์ในการสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับเขา มีข่าวลือว่าเงินที่จ่ายนั้นสูงถึง US$275,000 ภาพยนตร์ดังกล่าวถูกผลิตและฉายในชื่อ The Terminal กระนั้นก็ไม่ได้นำเนื้อเรื่องจากชีวิตของนอเซรีมาใช้จริงแต่อย่างใด[5] ไม่มีส่วนใดเลยของภาพยนตร์ ทั้งในเอกสาร โฆษณา เครดิตท้ายภาพยนตร์ ที่ระบุถึงชื่อของนอเซรี กระนั้นก็ตาม ในบทความปี 2003 ของ The New York Times ชี้ให้เห็นว่าสปีลเบิร์กแค่ซื้อสิทธิ์ในเรื่องราวชีวิตเขามาเป็น "พื้นฐาน" สำหรับภาพยนตร์เท่านั้น[5]

หลังอาศัยในอาคารผู้โดยสารมา 18 ปี ในปี 2006 เขาถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ที่นั่งประจำของเขาในอาคารผู้โดยสารยังถูกรื้อถอนออกหลังเขาถูกย้ายออกไป ในปลายเดือนมกราคม 2007 เขาออกจากโรงพยาบาลและได้รับการดูแลโดยกาชาดฝรั่งเศส สำนักงานสนามบิน เขาถูกส่งตัวไปอาศัยในโรงแรมใกล้กับสนามบินเป็นเวลาสองสามสัปดาห์ ต่อมาเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2007 เขาถูกส่งตัวไปยังศูนย์ขององค์กรการกุศล Emmaus ในเขต 20 ของปารีส และในปี 2008 มีรายงานว่าเขาอยู่อาศัยในศูนย์พักพิงแห่งหนึ่งในปารีส[7] กระทั่งเขาเสียชีวิตในปี 2022 สำนักข่าว Associated Press รายงานว่าไม่นานมานี้เขาได้เดินทางกลับมาอาศัยในสนามบินดังเดิมก่อนจะเสียชีวิต[10]

เวลาส่วนใหญ่ในสนามบินของเขาหมดไปกับการอ่านหนังสือ เขียนบันทึกประจำวัน และเรียนเศรษฐศาสตร์ เขายังมีสัมภาระทั้งหมดติดตัวอยู่ด้วยตลอดเวลาที่อยู่ในสนามบิน[11] เขายังได้รับตั๋วอาหารกับข้าวของเครื่องใช้เป็นครั้งคราจากพนักงานบนเครื่องบินที่ผ่านไปมา[12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เมฮ์รอน_แครีมี_นอเซรี http://www.imdb.com/name/nm10454013/ http://www.snopes.com/travel/airline/airport.asp http://www.straightdope.com/columns/read/1347/has-... //openlibrary.org/books/OL7815505M http://id.worldcat.org/fast/1615008/ http://mak.bn.org.pl/cgi-bin/KHW/makwww.exe?BM=1&N... http://www.bbc.co.uk/dna/h2g2/A33471100 https://apnews.com/article/merhan-karimi-nasseri-t... https://www.bbc.com/news/world-europe-63612017 https://www.bfmtv.com/paris/mehran-karimi-nasseri-...