เมาค้าง
เมาค้าง

เมาค้าง

เมาค้าง (อังกฤษ: hangover, veisalgia) เป็นประสบการณ์ฤทธิ์ทางสรีรวิทยาและจิตวิทยาอันไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ให้หลังการบริโภคเอทานอล ซึ่งอยู่ได้นานถึงกว่า 24 ชั่วโมง อาการตรงแบบของเมาค้างอาจรวมปวดศีรษะ ง่วงซึม ปัญหาสมาธิ ปากแห้ง เวียนศีรษะ ล้า กระเพาะอาหารและลำไส้อึดอัด (gastrointestinal distress) ไม่หิว เหงื่อออก คลื่นไส้ การตอบสนองไวเกิน (hyper-excitability) และวิตกกังวลแม้ยังไม่เข้าใจสาเหตุของเมาค้างดีนัก แต่ทราบหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งรวมการคั่งของอะเซทัลดีไฮด์ การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันและเมแทบอลิซึมของกลูโคส ภาวะขาดน้ำ ภาวะกระเดียดกรดเหตุเมแทบอลิก (metabolic acidosis) การสังเคราะห์พรอสตาแกลนดินที่ถูกรบกวน ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีที่เพิ่มขึ้น การขยายหลอดเลือด การอดนอนและทุพโภชนาการ ฤทธิ์ของสารเติมแต่งหรือผลิตผลพลอยได้ที่จำเพาะต่อเครื่องดื่ม เช่น คอนจีเนอร์ (congener) ยังมีบทบาทสำคัญ ตรงแบบอาการเกิดหลังฤทธิ์เป็นพิษของแอลกอฮอล์เริ่มหมด โดยทั่วไปคือเช้าหลังคืนที่ดื่มหนักแม้มีการเสนอการเยียวยาที่เป็นไปได้จำนวนมาก แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่เสนอว่าการเยียวยาใดมีประสิทธิภาพป้องกันหรือรักษาเมาค้างแอลกอฮอล์[1] การเลี่ยงแอลกอฮอล์หรือการดื่มปานกลางเป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในการเลี่ยงเมาค้าง ผลพวงทางสังคม-เศรษฐกิจและความเสี่ยงทางสุขภาพของเมาค้างแอลกอฮอล์มีการขาดงาน สมรรถภาพอาชีพบกพร่อง ประสิทธิภาพลดลงและความสำเร็จทางวิชาการที่เลว เมาค้างยังอาจทำให้กิจกรรมประจำวันที่อาจเป็นอันตรายมีความเสี่ยง เช่น การขับรถหรือการปฏิบัติงานเครื่องจักรหนัก[2]

เมาค้าง

ICD-10 G44.83, F10