การสูญพันธุ์และการอ้างว่ามีการพบเห็น ของ เม็กกาโลดอน

ปัจจุบัน เม็กกาโลดอนได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วราว 2 ล้านปีก่อน คาดว่าอาจเป็นเพราะ วาฬเริ่มอพยพสู่เขตน้ำเย็น ซึ่งเม็กกาโลดอนอาศัยอยู่ได้แค่เขตน้ำอุ่นเท่านั้น มันไม่สามารถเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายได้เหมือน ปลาฉลามขาว จึงไม่มีอาหารขนาดใหญ่พอสำหรับมัน จึงเป็นสาเหตุให้เม็กกาโลดอนเริ่มสูญพันธุ์ไปจนหมด แต่ยังเหลือปลาที่มีความใกล้เคียงกันที่สุดก็คือ ปลาฉลามขาว ความใหญ่และน่ากลัวของเม็กกาโลดอนทำให้มีผู้นำไปสร้างเป็นนวนิยายและภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่อง เช่น Shark Attack 3: Megalodon ในปี ค.ศ. 2002, นวนิยายเรื่อง Megalodon เขี้ยวมหึมาสึนามิ นวนิยายแนววิทยาศาสตร์สยองขวัญ โดย ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักเขียนและนักสมุทรศาสตร์ชาวไทย ในปี ค.ศ. 2005 หรือสารคดีทางโทรทัศน์เรื่อง Megalodon: The Monster Shark Lives เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013 ทางช่องดิสคัฟเวอรี [10]

อย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ. 1933 มีชายชาวอเมริกันคนหนึ่งอ้างว่า เขาได้พบเห็นปลาฉลามตัวหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าปลาฉลามปกติทั่วไปหลายเท่า โดยพบที่มหาสมุทรแปซิฟิกนอกชายฝั่งของสหรัฐอเมริกา เขาอ้างว่าเฉพาะหัวส่วนของมันมีขนาดใหญ่ราว 10 ฟุต[6]

อนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ติดตั้งกล้องน้ำลึกเพื่อบันทึกภาพการกินเหยื่อของฉลาม และพบฉลามตัวหนึ่งที่มีขนาดใหญ่มาก โดยที่นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้ว่า มันคือปลาฉลามชนิดไหน แต่อาจมีความเป็นไปได้ว่า คือ เม็กกาโลดอน (แต่มีผู้สันนิษฐานว่า คือ ปลาฉลามสลีปเปอร์แปซิฟิก (Somniosus pacificus) ซึ่งโตเต็มที่ยาวได้ 7 เมตร)

แหล่งที่มา

WikiPedia: เม็กกาโลดอน http://www.huffingtonpost.com/2013/08/05/shark-wee... http://www.imdb.com/title/tt0439949/ http://shark-references.com/species/view/Otodus-Me... http://www.youtube.com/watch?v=RTKzrVv7I_o http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perse... http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perse... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15674772 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26321775 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4541548 //doi.org/10.1017%2Fpab.2015.16