หน้าที่ ของ เม็ดรู้สัมผัส

เม็ดไวสัมผัสเป็นตัวรับแรงกลที่ปรับตัวอย่างรวดเร็วซึ่งไวต่อความเปลี่ยนแปลงของรูปร่างและลายผิว ในการสัมผัสแบบสำรวจหรือแบบจำแนกความไวสูงของมันเป็นมูลฐานทางประสาทในการ "อ่าน" อักษรเบรลล์ได้เพราะอยู่ที่หนังแท้ส่วนตื้น ๆ และเชื่อมกับโครงสร้างของผิวหนังผ่านเส้นใยคอลลาเจน[14] จึงไวต่อสัมผัสและแรงสั่นมาก

เม็ดจะตอบสนองต่อสัมผัสแบบเบา ๆ และแรงดัน[18]โดยที่มือจะทำให้รู้สึกสัมผัสในเบื้องต้นเมื่อถูกวัสดุหรือเมื่อวัสดุลื่นมือ รู้ลายผิววัสดุเมื่อลูบ รู้แรงสั่นที่ความถี่ระหว่าง 1-300 เฮิรตซ์โดยไวสุดที่ 50 เฮิรตซ์[11] (2-50 เฮิรตซ์[3] ซึ่งเป็นความถี่ที่เรียกว่าในวรรณกรรมภาษาอังกฤษว่า "flutter") ช่วยให้รู้ความขรุขระและรอยนูนที่เล็กถึง 10 ไมโครเมตร (μm)[19] (หรือเฉลี่ยที่ 6 μm ดีสุด 2 μm[20])และเมื่อจับยกวัตถุอยู่ ช่วยให้รู้ว่าควรใช้แรงแค่ไหน และให้รู้ว่าวัสดุกำลังลื่นมือ จึงควรใช้แรงจับมากขึ้น[21]

การแปรรูปของเม็ดจะเป็นเหตุให้ใยประสาทสร้างศักยะงานแต่เพราะปรับตัวอย่างรวดเร็ว หรือส่งสัญญาณเป็นพัก ๆ (phasic) ศักยะงานที่สร้างจะลดอัตราการยิงอย่างรวดเร็วจนในที่สุดก็หยุด ซึ่งเป็นเหตุให้เราไม่รู้สึกถึงเสื้อผ้าอีกต่อไปถ้าเอาสิ่งเร้าออก เม็ดก็จะคืนสภาพและในขณะเดียวกัน (เพราะรูปกำลังแปรไปอีก) ก็จะเป็นเหตุให้สร้างศักยะงานอีกชุดหนึ่ง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เม็ดรู้สัมผัส http://jnnp.bmjjournals.com/cgi/content/full/73/5/... http://www.mhhe.com/biosci/ap/histology_mh/recepto... http://www.whonamedit.com/doctor.cfm/3236.html http://www.bu.edu/histology/p/08105loa.htm http://bio.rutgers.edu/~gb102/lab_5/104bm.html http://distance.stcc.edu/AandP/AP/AP2pages/unit15/... http://www.templejc.edu/dept/Biology/RHicks/biol24... http://fme.biostr.washington.edu/FME/index.jsp?fma... http://www.artsci.wustl.edu/~hpontzer/Courses/Hoff... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/13645790