เม่นใหญ่แผงคอยาว
เม่นใหญ่แผงคอยาว

เม่นใหญ่แผงคอยาว

เม่นใหญ่แผงคอยาว (อังกฤษ: Malayan porcupine, Himalayan porcupine, Large porcupine; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hystrix brachyura) เป็นเม่นขนาดใหญ่ หูและหางสั้น ขนตามลำตัวสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีขนแข็งแหลมและยาวมากบนหลังและสะโพก ซึ่งขนดังกล่าวจะชี้ตรงไปทางด้านหลัง ก้านขนมีสีขาว บางเส้นอาจมีวงสีดำสลับอยู่ ขนแผงคอยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร มีสีน้ำตาลเข้ม มีฟันหน้าที่ใหญ่ยาวและแข็งแรงมากมีความยาวลำตัวและหัว 63.5-72.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 6.4-11.4 เซนติเมตร น้ำหนัก 20-27 กิโลกรัมมีการกระจายพันธุ์ในเนปาล, อินเดีย, ภูฏาน, จีน, บังกลาเทศ, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตราสามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ทั้งป่าสมบูรณ์และป่าเสื่อมโทรมที่ผ่านการทำลายมาแล้ว หลับนอนในโพรงที่ขุดขึ้นมาเอง บริเวณปากโพรงจะปกคลุมด้วยพืชรกชัฏเพื่ออำพราง ออกหากินในเวลากลางคืน กินอาหารจำพวกรากพืช หน่อไม้ เปลือกไม้ ผลไม้สุกที่ร่วงจากต้น กระดูกสัตว์รวมทั้งเขาสัตว์ด้วย เช่น เขาของเก้งหรือกวางที่ผลัดทิ้งเพื่อเพิ่มแคลเซี่ยมให้กับร่างกาย อีกทั้งเป็นการขัดฟันไม่ให้ยาวเกินไปในตัวด้วย นอนหลับในเวลากลางวันในโพรง โดยจะลากเอาเขาหรือกระดูกสัตว์เข้ามาแทะถึงในโพรง เมื่อพบศัตรูจะกระทืบเท้าเสียงดัง หากไม่สำเร็จจะค่อย ๆ เดินหนี หากศัตรูยังตามมา จะวิ่งหนีรวดเร็วและหยุดอย่างกะทันหัน เพื่อให้ศัตรูหยุดไม่ทันและถูกหนามแหลมทิ่ม โดยปกติจะสั่นขนของตัวเองอยู่เสมอ ทำให้มักได้ยินเสียงการกระทบกันของเส้นขนอยู่บ่อย ๆ ซึ่งเป็นการอวดศักยภาพของตัวเอง หรือแม้แต่เดินธรรมดา ๆ ก็จะได้ยินเสียงเส้นขนลากกับพื้น เม่นใหญ่แผงคอยาวออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว มีอายุสูงสุดในที่เลี้ยง 27 ปี[4]