หน้าที่ ของ เยื่อคลุม

บทบาททางกลของเยื่อคลุมในการได้ยินยังไม่ชัดเจน เพราะนักวิชาการไม่ค่อยสนใจ หรือไม่ให้ความสำคัญในแบบจำลองการทำงานของคอเคลียแต่ว่า งานศึกษาทางพันธุกรรม[10][11][12]ทางกลศาสตร์[8][9][13]และทางคณิตศาสตร์[14]ต่าง ๆ ได้แสดงว่า TM จำเป็นเพื่อได้ยินอย่างสมบูรณ์ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

หนูหริ่งที่ไม่มีการแสดงออกของไกลโคโปรตีนโดยเฉพาะ ๆ จะได้ยินอย่างผิดปกติ รวมทั้งการเลือกได้ยินความถี่เสียง (frequency selectivity) ที่เพิ่มขึ้นในหนูพันธุ์ Tecb−/−[12]ซึ่งไม่มีการแสดงออกของโปรตีน β-tectorinการศึกษานอกร่างกาย (In vitro) เรื่องคุณสมบัติทางกลศาสตร์ของ TM แสดงสมรรถภาพของส่วนที่แยกออก ๆ ของ TM ที่ช่วยการวิ่งของคลื่นในระดับความถี่ที่เกี่ยวข้องกันซึ่งเพิ่มความเป็นไปได้ว่า TM อาจมีบทบาทในการกระจายพลังงานเสียงตามยาวในคอเคลียภายใต้สถานการณ์ปกติ[14]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เยื่อคลุม http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://www.bioanim.com/CellTissueHumanBody6/S3dPag... http://www.kumc.edu/instruction/medicine/anatomy/h... http://faculty.une.edu/com/abell/histo/orgcortw.jp... http://fme.biostr.washington.edu/FME/index.jsp?fma... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1959565 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2982163 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17496047 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20981024 //doi.org/10.1002%2Fneu.10097