อุปกรณ์สำหรับการปล่อยเรือประจัญบานมุซาชิลงน้ำ ของ เรือประจัญบานมูซาชิ

ประการแรกจะต้องใช้ท่อนไม้ขนาดใหญ่ ทั้งความยาวและความหนามาปูเป็นทางลาด เพื่อให้เรือลื่นไถลลงน้ำได้ ท่อนไม้นี้จะต่อกันกว้าง 13 ฟุต ยาว 880 ฟุต โดยต้องต่อกันอย่าง สนิท ไม่มีปุ่มปม แล้วทาด้วยไขวัว 18 ตัน เพื่อให้ลื่น แล้วทาทับด้วยน้ำมัน หล่อลื่นอีก 7 ตัน เนื่องจากอ่าวเมืองนางาซากิ นี้มีขนาดไม่ใหญ่นัก บริษัทมิตซูบิชิ จึงได้นำโซ่เหล็กมาต่อกัน เป็นน้ำหนัก 2,000 ตัน ผูกไว้ที่หัวเรือ ให้เรือที่ปล่อยลงน้ำทางท้ายนั้นต้องลากโซ่นี้ไปด้วยเพื่อ ให้มีความหนืดไม่เลยไปชนฝั่งตรงข้าม นอกจากนี้ยังได้นำ สบู่เหลวอีก 2 ตัน มาชโลมให้เรือ ที่มีน้ำหนักจริงถึง 35,737 ตัน ลื่นไถลลงน้ำได้อย่างปลอดภัยอีกด้วยแต่อ่าวนางาซากิ เป็นอ่าวรูปตัว "ยู" ด้านนอกออกสู่ทะเล ดังนั้นจึงมีโอกาสที่น้ำจะเอ่อล้น ขึ้นมาบนฝั่งได้ ที่ท่าเรือนางาซากินั้น เมื่อปล่อยเรือประจัญบานมุซาชิลงน้ำแล้วประมาณ 10 นาที ระดับน้ำทะเลจะเอ่อสูงขึ้นถึง 58 เซนติเมตร นับเป็นปรากฏการณ์คล้ายกับคลื่น "สึนามิ" น้อยๆ แต่มันมิได้เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นดิน หรือ แผ่นดินไหว แต่เป็นการแทนที่น้ำ ด้วยน้ำหนักกว่า 30,000 ตัน ของเรือ มุซาชิ จึงเกิดคลื่น "สึนามิ" เทียมขึ้นมา ยังผลให้ชาว บ้านที่มีบ้านเรือนอยู่ริมฝั่ง พบว่ามีน้ำทะเลเอ่อล้นขึ้นมาถึงพื้นใต้ถุนบ้านจนเกิดโกลาหลกัน ยกใหญ่ เพราะไม่ทราบถึงสาเหตุ นอกจากนี้แม่น้ำสายเล็ก ๆ สายหนึ่งที่ไหลลงอ่าวนางาซากิ ก็มีระดับน้ำสูงขึ้นกว่าปกติ ถึง 30 เซนติเมตรอีกด้วย เมื่อดูจาก สถิติการปล่อยเรือลงน้ำของโลกแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2477 อังกฤษได้ปล่อยเรือ โดยสารขนาดใหญ่ "ควีนแมรี่" ระวางขับน้ำ 37,387 ตัน และใน พ.ศ. 2483 ญี่ปุ่นได้ปล่อย เรือประจัญบาน มุซาชิ ซึ่งมีระวางขับน้ำขณะที่ปล่อยลงน้ำ 35,737 ตัน จึงเป็นเรือที่มีระวาง ขับน้ำเป็นลำดับที่สอง แต่เรือควีนแมรี่นั้น ได้บรรทุกน้ำถ่วงเรือไว้ประมาณ 2,000 ตัน เพื่อมิ ให้เรือลอยออกไปไกล ดังนั้นเมื่อหักน้ำหนักน้ำถ่วงเรือออกไป ก็จะเป็นระวางขับน้ำของเรือ เพียง 35,387 ตันเท่านั้น ดังนั้น เรือประจัญบาน มุซาชิ จึงครองสถิติโลก เมื่อ พ.ศ. 2485 ด้วยระวางขับน้ำขณะปล่อยลงน้ำ 35,737 ตัน


ใกล้เคียง

เรือประจัญบานยามาโตะ เรือประจัญบานชั้นยามาโตะ เรือประจัญบานบิสมาร์ค เรือประจัญบานมูซาชิ เรือประจัญบานชั้นเซาท์ดาโคตา เรือประจัญบาน เรือประจัญบานชั้นมอนแทนา เรือประจัญบานมิกาซะ เรือป้องกันชายฝั่งรัสเซียแอดมิรัลเซเนียวิน เรือป้องกันชายฝั่งรัสเซียเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซิน