ประจำการรัสเซีย ของ เรือป้องกันชายฝั่งรัสเซียแอดมิรัลเซเนียวิน

แรกเริ่มเดิมที เรือลำนี้ได้รับมอบหมายให้ประจำการกองเรือบอลติก ซึ่งต่อมา มันได้รับการจัดประเภทใหม่ให้เป็นเรือป้องกันชายฝั่ง

เรือป้องกันชายฝั่งชั้นแอดมิรัลอูชาคอฟที่ล้าสมัยทั้งสาม (แอดมิรัลอูชาคอฟ, แอดมิรัลอะพรักซิน และแอดมิรัลเซเนียวิน) ถูกปฏิเสธไม่ให้รวมอยู่ในกองเรือรบแปซิฟิกที่สอง ซึ่งรวบรวมโดยพลเรือเอก ซีโนวี โรเชสต์เวนสกี เพื่อเสริมกำลังกองเรือรบรัสเซียที่มีอยู่ในพอร์ตอาร์เธอร์หลังการปะทุของสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น เนื่องจากโรเชสต์เวนสกีรู้สึกว่าพวกมันไม่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติการบลู-วอเตอร์ที่รุนแรงเช่นนี้[1] อย่างไรก็ตาม เรือทั้งสามได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของกองเรือรบแปซิฟิกที่สามของพลเรือเอกเนโบกาตอฟ ซึ่งต่อมาได้ถูกส่งไปเสริมกำลังโรเชสต์เวนสกีในการเดินทางไปยังตะวันออกไกลนับแต่ความวุ่นวายทางการเมืองหลังจากการจากไปของเขา กองเรือรบแปซิฟิกที่สามนี้ได้เคลื่อนผ่านคลองสุเอซและสองกองเรือรบรัสเซียได้นัดพบกันที่อ่าวกัมรัญหลังจากการล่องเรือ ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในนาม "การเดินทางของผู้ถูกสาป" และจากที่นั่น โรเชสต์เวนสกีได้กำหนดเส้นทางผ่านทะเลจีนใต้ไปยังช่องแคบเกาหลี ที่ซึ่งพวกเขาถูกพบโดยฝ่ายญี่ปุ่น

ในผลของยุทธนาวีที่ช่องแคบสึชิมะ (27–28 พฤษภาคม ค.ศ. 1905) เรือทั้งสามลำรอดชีวิตจากช่วงแรกของการสู้รบในตอนเย็นของวันที่ 27 พฤษภาคม ส่วนใหญ่เนื่องมาจากญี่ปุ่นมุ่งความพยายามไปที่เรือประจัญบานสมัยใหม่ของโรเชสต์เวนสกี (จดจ่อในกองพลที่หนึ่งและสองของกองเรือรบรัสเซีย) และการทำลายล้างเกือบทั้งหมดในเวลาต่อมาทำให้กองเรือรัสเซียไม่เหลือชิ้นดี ส่วนกองพลที่สามของเนโบกาตอฟส่วนใหญ่สามารถอยู่ด้วยกันได้ในช่วงกลางคืน แม้ว่าเรือพี่น้องของแอดมิรัลเซเนียวินอย่างแอดมิรัลอูชาคอฟจะพลัดหลงจากรูปขบวนและถูกญี่ปุ่นจม เช้าวันที่ 28 พฤษภาคม ได้มีการพบผู้รอดชีวิตชาวรัสเซียซึ่งถูกล้อมรอบไปด้วยกองกำลังของญี่ปุ่นที่ไม่ได้รับความเสียหาย และเนโบกาตอฟก็ยอมจำนน ด้วยเหตุนี้ เรือแอดมิรัลเซเนียวิน และเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซิน จึงถูกเข้ายึดในฐานะทรัพย์เชลยศึก[2]

ใกล้เคียง

เรือประจัญบานยามาโตะ เรือประจัญบานชั้นยามาโตะ เรือประจัญบานบิสมาร์ค เรือประจัญบานมูซาชิ เรือประจัญบานชั้นเซาท์ดาโคตา เรือประจัญบาน เรือประจัญบานชั้นมอนแทนา เรือประจัญบานมิกาซะ เรือป้องกันชายฝั่งรัสเซียแอดมิรัลเซเนียวิน เรือป้องกันชายฝั่งรัสเซียเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซิน