เรือศพ
เรือศพ

เรือศพ

บทความนี้อ้างอิงคริสต์ศักราช/คริสต์ทศวรรษ/คริสต์ศตวรรษ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของเนื้อหา เรือศพ (อังกฤษ: Coffin ship) เป็นชื่อที่ใช้กับเรือที่ทำการประกันอย่างหนัก ฉะนั้นจึงทำให้มีมูลค่าสูงเมื่อจมลงกว่าเมื่อลอยตัว การเดินเรือในช่วงระยะที่ยังไม่มีกฎหมายเพื่อการรักษาความปลอดภัยต่างเป็นงานที่เสี่ยงต่ออันตรายเป็นอันมาก แต่ระบบนี้ก็เลิกกันไปราวคริสต์ทศวรรษ 1870 เมื่อสมาชิกรัฐสภาบริติชซามูเอล พลิมโซลล์ (Samuel Plimsoll) รณรงค์ปฏิรูปจนสำเร็จนอกจากนั้นแล้ว “เรือศพ” ก็ยังหมายถึงเรือที่รับส่งผู้อพยพชาวไอร์แลนด์ผู้หนีวิกฤติการณ์ความอดอยากครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และชาวสกอตที่หนีจากวิกฤติการณ์การไล่ที่ในสกอตแลนด์ (Highland Clearances) เรือเหล่านี้บรรทุกผู้โดยสารจำนวนมาก ที่เต็มไปด้วยโรคร้าย และขาดน้ำขาดอาหารซึ่งเป็นผลทำให้มีผู้เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมากระหว่างการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ผู้เป็นเจ้าของเรือให้น้ำและอาหาร และที่หลับที่นอนแก่ผู้โดยสารเป็นจำนวนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ตามที่กฎหมายระบุ – ถ้ายังคงเชื่อฟังอยู่การข้ามมหาสมุทรด้วยเรือศพเป็นวิธีที่ถูกที่สุดแต่อัตราการเสียชีวิตก็กล่าวกันว่าสูงถึง 30% เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามปกติ[1] กล่าวกันว่าเมื่อเรือศพแล่นก็จะเห็นฉลามว่ายตามเรือ เพราะเมื่อผู้โดยสารเสียชีวิตเจ้าของเรือก็จะโยนร่างผู้เสียชีวิตลงทะเล[2][3][4]

ใกล้เคียง

เรือศพ เรือพยาบาล เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพายในกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 41 – เรือคชสีห์ 12 ฝีพาย ทีมชาย 1000 เมตร เรือพายในกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 41 – เรือคชสีห์ 12 ฝีพาย ทีมหญิง 1000 เมตร เรือพิฆาต เรือพายในกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 41 – เรือยาว 5 ฝีพาย ทีมชาย 1000 เมตร เรือพายในกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 41 – เรือยาว 5 ฝีพาย ทีมหญิง 1000 เมตร เรือพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562-2563 เรือพายในกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 41 – เรือแคนู ชายคู่ 1000 เมตร