เรือหางแมงป่อง

เรือหางแมงป่อง เป็นเรือของจังหวัดเชียงใหม่ สันนิษฐานว่า เรือหางแมงป่องมีใช้ในสมัยพระนางจามเทวี แห่งกรุงหริภุญชัย เกิดขึ้นจากจินตนาการของสล่าทำเรือในสมัยก่อน ที่บังเอิญไปเจอกาบมะพร้าวลอยอยู่เหนือน้ำในฤดูน้ำหลาก และบนกาบมะพร้าวมีพวก มด หนอน แมลง และ แมงป่อง อาศัยอยู่ แล้วแมงป่องชี้หางไปบนฟ้า ซึ่งดูแล้วเหมือนโครงสร้างของเรือ[1]เรือหางแมงป่องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของเชียงใหม่ เพราะแม่น้ำปิงมีเกาะแก่งมากในหน้าแล้งเนื่องจากเรือหางแมงป่องทำจากไม้สักและสามารถลอยน้ำได้ดีกว่าเรือบางอื่น นอกจากนั้นยังแข็งแรง เวลาที่ถูกเกาะแก่งเรือก็ไม่แตกไม้สักที่ใช้ในการทำเรือหางแมงป่องนั้นจะต้องมีขนาด 20 คนโอบ ซี่งขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 ถึง 8 เมตร เพราะในพื้นที่ภาคเหนืออุดมสมบูรณ์ไปด้วยไม้สักซี่งไม้ประเภทนี้มีน้ำหนักเบา และสามารถลอยน้ำได้ดีกว่าไม้ชนิดอื่นๆ ไม่บิดไม่งอ จึงทำให้การใช้ไม้สักขุดทำเรือนิยมแพร่หลายในสมัยนั้น อีกทั้งไม้สักยังใช้ในการขุดทำเรืออื่นๆ ด้วยในยุคต้น เรือหางแมงป่องใช้เป็นเรือที่เจ้านายฝ่ายเหนือใช้ ยุคทองของเรือหางแมงป่องอยู่ในรัชสมัยของเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ลำดับที่ 7 ซึ่งเป็นพระบิดาของเจ้าดารารัศมี ในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงทูลขอเจ้าดารารัศมีไปเป็นชายา พระองค์ทรงสร้างเรือหางแมงป่องขึ้นเพื่อให้เจ้าดารารัศมีเสด็จไปยังพระนคร แต่ยุคหลังเรือหางแมงป่องใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่าง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 เดือน ถึง 9 เดือนการสร้างเรือหางแมงป่องยุคหลังต้องหยุดชะงักลง เพราะไม้สักขนาดใหญ่หาได้ยาก เนื่องจากมีการตัดไม้ ค้าไม้ พอนำไปขายยังกรุงเทพฯ และตั้งแต่มีการสร้างทางรถไฟเข้าสู่เมืองเชียงใหม่และการทำเขื่อนภูมิพลที่จังหวัดตาก จึงทำให้เรือหางแมงป่องหายจากน่านน้ำแม่ปิง