เรือเดินสมุทร
เรือเดินสมุทร

เรือเดินสมุทร

เรือเดินสมุทร (ocean liner) เป็นเรือโดยสารที่ส่วนใหญ่ใช้ในการการขนส่งข้ามทะเลหรือมหาสมุทร เรืออาจบรรทุกสินค้าหรือไปรษณีย์ และบางครั้งอาจใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ (เช่น เพื่อการล่องเรือสำราญหรือเรือพยาบาล)[1]เรือสินค้าที่แล่นตามตารางเวลาบางครั้งเรียก เรือเดินสมุทร-เรือประจำ[2] หมวดหมู่ไม่รวมถึงเรือข้ามฟากหรือเรือลำอื่นๆที่มีส่วนร่วมในการค้าทางทะเลระยะทางสั้น รวมทั้งเรือสำราญที่การเดินเรือมีจุดประสงค์หลักไม่ใช่การเดินทาง และไม่รวมถึงเรือจร ถึงแม้มีอุปกรณ์เพียงพอที่จะบรรทุกผู้โดยสารได้ บริษัทขนส่งบางแห่งอ้างว่าตัวเองเป็น "สายการเดินเรือ" และเรือบรรทุกสินค้าบรรจุตู้ของบริษัทซึ่งมักจะเดินเรือมากกว่าเส้นทางที่กำหนดไว้ตามตารางเวลาที่กำหนดไว้นั้นเป็น "เรือเดินสมุทร-เรือประจำ"เรือเดินสมุทรมักจะถูกสร้างขึ้นอย่างแข็งแรงพร้อมด้วยระยะกราบพ้นนํ้าสูง มีความทนทานต่อทะเลที่คลื่นลมแรงและสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยที่พบในทะเลเปิด นอกจากนี้ ยังได้รับการออกแบบให้ตัวเรือชุบเคลือบผิวด้วยโลหะที่หนากว่าที่พบในเรือสำราญ และมีจุเชื้อเพลิง อาหาร และบริโภคภัณฑ์อื่นๆ ได้สูงไว้สำหรับการเดินทางระยะยาว[3]เรือเดินสมุทรลำแรกถูกสร้างขึ้นในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เช่น เครื่องจักรไอน้ำ และตัวเรือที่สร้างจากเหล็ก ทำให้เรือเดินสมุทรมีขนาดใหญ่ขึ้นและแล่นได้เร็วขึ้น สร้างการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจโลกในเวลานั้น โดยเฉพาะระหว่างสหราชอาณาจักรและเยอรมนี หลังสงครามโลกครั้งที่สอง การเดินทางด้วยเรือเดินสมุทรระหว่างทวีปกลายเป็นล้าสมัย ด้วยอากาศยานทางไกล ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีทางรถยนต์และรถไฟก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน หลังจากเรือ อาร์เอ็มเอส ควีน เอลิซาเบธ 2 (RMS Queen Elizabeth 2) ปลดระวางในปี ค.ศ. 2008 เหลือเพียงเรือเดินสมุทรเพียงลำเดียวที่ยังให้บริการคือ อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี 2