เรเจป_ไตยิป_แอร์โดอัน
เรเจป_ไตยิป_แอร์โดอัน

เรเจป_ไตยิป_แอร์โดอัน

เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน (ตุรกี: Recep Tayyip Erdoğan, เกิด 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1954) เป็นนักการเมืองชาวตุรกีซึ่งปัจจุบันเป็นประธานาธิบดีตุรกีนับแต่ปี 2547 เดิมเขาเป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2546 ถึง 2557 และนายกเทศมนตรีอิสตันบูลตั้งแต่ปี 2537 ถึง 2541 เขาก่อตั้งพรรคความยุติธรรมและการพัฒนา (AKP) ในปี 2544 และนำพรรคชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2545 2550 และ 2554 ก่อนลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบ่ดีในปี 2557 เขามาจากภูมิหลังการเมืองอิสลามมิสต์ (Islamist) และอธิบายตนเองว่าเป็นประชาธิปไตยอนุรักษนิยม เขาส่งเสริมอนุรักษนิยมทางสังคมและนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม[1] ภายใต้รัฐบาลเขา ประชาธิปไตยในประเทศตุรกีถดถอยแอร์โดอันเคยเล่นฟุตบอลให้กับทีมคาซิมบาซาก่อนได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีอิสตันบูลในปี 2537 จากพรรคสวัสดิการอิสลามมิสต์ เขาถูกริบตำแหน่ง ห้ามรับตำแหน่งทางการเมือง และจำคุกสี่เดือน ฐานอ่านบทกวีซึ่งส่งเสริมมุมมองการปกครองทางศาสนาระหว่างสุนทรพจน์ในปี 2541 แอร์โดอันทิ้งนโยบายอิสลามมิสต์เปิดเผยและตั้งพรรค AKP ซึ่งเป็นอนุรักษนิยมสายกลางในปี 2544 หลังพรรคชนะการเลือกตั้งถล่มทลายในปี 2555 ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค อับดุลลาห์ จึล เป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลประกาศให้คำสั่งห้ามรับตำแหน่งทางการเมืองของแอร์โดอันเป็นโมฆะ แอร์โดอันเป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนมีนาคม 2546 หลังชนะการเลือกตั้งซ่อมในจังหวัดซีร์ต[2]รัฐบาลแอร์โดอันควบคุมการเจรจาสมาชิกภาพของตุรกีในสหภาพยุโรป การฟื้นฟูเศรษฐฏิจหลังภาวะการเงินตกต่ำในปี 2544 การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติในปี 2550 และ 2553 นโยบายต่างประเทศออตโตมันใหม่ และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนน สนามบินและเครือข่ายรถไฟความเร็วสูง[3][4] และสุดท้ายวิกฤตเงินตราและหนี้ตุรกีปี 2561[5][6][7] ด้วยความช่วยเหลือของขบวนการกูเลน แอร์โดอันสามารถกำราบอำนาจของกองทัพผ่านคดีความในศาล ปลายปี 2555 รัฐบาลของเขาเริ่มการเจรจาสันติภาพกับพรรคแรงงานเคอร์ดิสถานเพื่อยุติการก่อการกำเริบของพรรคฯ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2521 การหยุดยิงล้มเหลวในปี 2558 นำไปสู่การบานปลายของความขัดแย้งรอบใหม่ ในปี 2559 มีความพยายามรัฐประหารที่ไม่สำเร็จต่อแอร์โดอันและสถาบันของรัฐตุรกี เกิดการกวาดล้างและภาวะฉุกเฉินที่กำลังดำเนินอยู่ตามมานักรัฐศาสตร์ไม่ถือว่าประเทศตุรกีเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์อีกต่อไป โดยยึดการขาดการเลือกตั้งที่อิสระและยุติธรรม การกวาดล้างและจำคุกฝ่ายตรงข้าม การจำกัดเสรีภาพสื่อและความพยายามของแอร์โดอันในการขยายอำนาจบริหารของเขาและลดความรับผิดของฝ่ายบริหารของเขา[8][9][10][11] การประท้วงครั้งใหญ่ในปี 2556 เกิดจากประชาชนมองว่านโยบายเขาเป็นเผด็จการ เขาวิจารณ์ผู้ประท้วงและสั่งตำรวจปราบปราม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 22 คน และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก รัฐบาลต่างประเทศและองค์การสิทธิมนุษยชนประณามเหตุดังกล่าว เหตุนี้ยังทำให้การเจรจาสมาชิกภาพสหภาพยุโรปหยุดชะงัก หลังแตกแยกกับกูเลน แอร์โดอันประกาศการปฏิรูปตุลาการอย่างกว้างขวางซึ่งเขายืนกรานว่าจำเป็นเพื่อกวาดล้างผู้เข้ากับกูเลน แต่ถูกวิจารณ์ว่าคุกคามความเป็นอิสระของตุลาการ กรณีอื้อฉาวฉ้อราษฎร์บังหลวง 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2556 นำไปสู่การจับกุมพันธมิตรใกล้ชิดของแอร์โดอัน และตัวเขาเองก็ถูกกล่าวโทษด้วย[12][13][14] นับแต่นั้นรัฐบาลเขาถูกวิจารณ์ว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนและปราบปรามสื่อมวลชนและสื่อสังคม โดยสกัดกั้นการเข้าถึงวิกิพีเดีย ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊กและยูทูปในหลายโอกาส[15] รัฐบาลแอร์โดอันยุติคำสั่งห้ามตามคำสั่งศาล[16][17][18] แต่ต่อมาก็ออกคำสั่งใหม่[19][20] ในปี 2559 ประเทศตุรกีภายใต้แอร์โดอันเริ่มการกวาดล้างเสรีภาพสื่อ ในปี 2559 และ 2560 มีนักหนังสือพิมพ์ถูกขังในประเทศตุรกีมากที่สุดในโลก[21] เขาได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2561 และรับตำแหน่งประธานาธิบดีบริหารและเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล

เรเจป_ไตยิป_แอร์โดอัน

รองประธานาธิบดี ฟ็วต ออคเตย์ (2018-)
เว็บไซต์ เว็บไซต์รัฐบาล
เว็บไซต์ส่วนตัว
ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมาร์มะรา
ลายมือชื่อ
รอง เมห์เมต อาลี ชาฮิน
นูมัน กูร์ตุลมุช
คู่สมรส Emine Gülbaran (แต่งปี 1978)
บุตร Ahmet Burak
Sümeyye
Necmettin Bilal
Esra
นายกรัฐมนตรี อาห์เหม็ด ดาวูโตกลู (2014-16)
บีนาลี ยึลดือรึม (2016-18)
ก่อนหน้า ตำแหน่งตั้งขึ้นใหม่
พรรคการเมือง National Salvation Party
(1972–1981)
Welfare Party
(1983–1998)
Virtue Party
(1998–2001)
พรรคยุติธรรมและการพัฒนา
(2001–ปัจจุบัน)
เกิด 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1954 (66 ปี)
อิสตันบูล ตุรกี
ถัดไป อาห์เหม็ด ดาวูโตกลู
ประธานาธิบดี อาห์เมต เนจเดต เซแซร์
อับดุลลาห์ จึล
ศาสนา อิสลามนิกายซุนนี

แหล่งที่มา

WikiPedia: เรเจป_ไตยิป_แอร์โดอัน http://www.foxnews.com/world/2014/08/21/turkey-dav... http://www.metrogroup.de/internet/site/ts_turkey/p... //doi.org/10.1080%2F01436597.2015.1135732 //www.worldcat.org/issn/0190-8286 http://www.milliyet.com.tr/yolsuzluk-operasyonunun... http://www.rte.com.tr/ http://sozcu.com.tr/2013/gundem/100-milyar-dolarli... http://www.zaman.com.tr/gundem_yeni-yolsuzluk-dosy... http://www.tccb.gov.tr/ https://foreignpolicy.com/2018/05/25/erdogan-is-a-...