เลนส์ความโน้มถ่วง

เลนส์ความโน้มถ่วง (อังกฤษ: gravitational lens) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับแสงอันเดินทางมาจากแหล่งกำเนิดส่องสว่างไกลโพ้น (เช่น เควซาร์) แล้วเกิดการ "บิดโค้ง" เนื่องจากแรงดึงดูดของวัตถุมวลมาก (เช่น กระจุกดาราจักร) ที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับผู้สังเกต เป็นปรากฏการณ์ที่หนึ่งที่ไอน์สไตน์ทำนายเอาไว้จากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาโอเรสต์ ควอลสัน (Orest Chwolson) เป็นผู้แรกที่นำเสนอบทความวิชาการว่าด้วยปรากฏการณ์นี้ (ในปี ค.ศ. 1924) แต่ชื่อของไอน์สไตน์มักเป็นที่รู้จักเกี่ยวเนื่องกับปรากฏการณ์นี้มากกว่า เพราะได้ตีพิมพ์บทความอันมีชื่อเสียงที่อธิบายสาเหตุของปรากฏการณ์นี้ในปี ค.ศ. 1936ฟริตซ์ ชวิกกี้ (Fritz Zwicky) ทำนายไว้เมื่อปี ค.ศ. 1937 ว่า ปรากฏการณ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้โดยมีกระจุกดาราจักรทำตัวเป็นเสมือนเลนส์ความโน้มถ่วง แต่มีการค้นพบหลักฐานสนับสนุนเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1979 จากผลการสังเกตการณ์ "เควซาร์แฝด" Q0957+561