การโต้เถียงและการเมือง ของ เลอมงด์

มิเชล เลกริส ผู้เขียนหนังสือ เลอมงด์แตลกิลเลต์ (ฝรั่งเศส: Le monde tel qu'il est) ผู้ซึ่งอดีตเป็นนักข่าวให้กับเลอมงด์ ภายในได้เขียนเนื้อหาซึ่งลดความโหดร้ายป่าเถื่อนของเขมรแดงในกัมพูชา และในหนังสือ ลาฟาซกาเชดูมงด์ (ฝรั่งเศส: La face cachée du Monde, "ใบหน้าอันซ่อนเร้นของเลอมงด์") เขียนโดย ปิแอร์ ปอง และ ฟิลิปป์ โคเฮน ที่ออกมาเปิดโปง โคลอมบานิ และเอ็ดวี เพลเนล บรรณาธิการของเลอมงด์ เกี่ยวกับเรื่องที่กลุ่มการเมืองได้ทำข้อตกลงอย่างลับ ๆ กับทางเลอมงด์เพื่อจะลดทอนการนำเสนอข่าวอย่างอิสระของหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้เลอมงด์ ยังถูกกล่าวหาว่าสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับหน่วยงานและองกรณ์ภาครัฐของฝรั่งเศสจากการที่เปิดโปงเรื่องอื้อฉาวทางการเมืองมากมาย (ส่วนมากมีชื่อเสียงจากการเปิดโปงเรื่องอื้อฉาวต่าง ๆ นานาของประธานาธิบดีฌัก ชีรัก โดยเฉพาะการที่หน่วยราชการลับฝรั่งเศสในช่วงของประธานาธิบดีฟร็องซัว มีแตร็องจมเรือเรนโบว์วอริเออร์) นอกจากนี้ทางผู้เขียนยังได้กล่าวถึงโคลอมบานิ และเอ็ดวี เพลเนล ว่าเป็น "พวกนิยมชาวต่างชาติ" และ "พวกเกลียดชังฝรั่งเศส" หนังสือเล่มดังกล่าวได้ทำให้เกิดการโต้เถียงกันเป็นวงกว้าง แต่ก่อให้เกิดความสนใจเกี่ยวกับการรายงานข่าวของสื่อสารมวลชนทั้งในฝรั่งเศสและทั่วโลกในช่วงที่หนังสือถูกตีพิมพ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เลอมงด์ชนะคดีในการฟ้องร้องต่อผู้เขียน โดยศาลตัดสินให้ผู้เขียนยินยอมที่จะไม่ตีพิมพ์หนังสือเล่มดังกล่าวอีก นอกจากนี้เลอมงด์ยังถูกตัดสินว่ามีความผิดในการนำเสนอข่าวว่านักฟุตบอลภายในสโมสรบาร์เซโลนาเอฟซีมีการใช้สารสเตียร์รอยด์ ทางเลอมงด์จึงต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นเงิน 450,000 ดอลลาร์สหรัฐและต้องตีพิมพ์เผยแพร่คำตัดสินของศาลทั้งในหนังสือพิมพ์และบนอินเทอร์เน็ต