เวชศาสตร์ป้องกัน

เวชศาสตร์ป้องกัน (อังกฤษ: preventive medicine) หรือมาตรการป้องกันโรค (อังกฤษ: prophylaxis) ประกอบด้วยมาตรการที่ใช้สำหรับป้องกันโรค ซึ่งตรงข้ามกับการรักษาโรค[1] สุขภาพมีสถานะทางกายภาพและจิตใจเช่นเดียวกับโรคและความพิการซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม ความโน้มเอียงรับโรคทางกรรมพันธุ์ เชื้อก่อโรคและทางเลือกวิถีชีวิต สุขภาพ โรคและความพิการเป็นกระบวนการพลวัตซึ่งเริ่มตั้งแต่ก่อนปัจเจกบุคคลรู้สึกตัว การป้องกันโรคอาศัยการกระทำล่วงหน้าที่สามารถจำแนกได้เป็นการป้องกันปฐมภูมิ ทุยติภูมิและตติยภูมิ[1][2][3]มีประชากรหลายล้านคนเสียชีวิตจากสาเหตุที่ป้องกันได้ทุกปี การศึกษาในปี 2547 พบว่า การเสียชีวิตประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งหมดในสหรัฐในปี 2543 เกิดจากพฤติกรรมและการสัมผัสที่ป้องกันได้[4] สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ได้แก่ โรคหัวใจแลแหลอดเลือด โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง การบาดเจ็บที่ไม่เจตนา เบาหวานและโรคติดเชื้อบางอย่าง การศึกษาเดียวกันประมาณการว่ามีประชากร 400,000 คนเสียชีวิตในสหรัฐทุกปีเนื่องจากอาหารเลวและวิถีชีวิตแบบนั่งนอนมาก ตามประมาณการขององค์การอนามัยโลก มีผู้เสียชีวิตประมาณ 55 ล้านคนทั่วโลกในปี 2554 ซึ่งสองในสามของกลุ่มนี้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ รวมทั้งมะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดเรื้อรัง และโรคปอดเรื้อรัง[5] จำนวนนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2543 ซึ่งผู้เสียชีวิตร้อยละ 60 มีสาเหตุจากโรคเหล่านี้ เวชศาสตร์ป้องกันมีความสำคัญเป็นพิเศษเนื่องจากทั่วโลกมีความชุกของโรคเรื้อรังและการเสียชีวิตจากโรคเหล่านี้มากขึ้นมีวิธีป้องกันโรคหลายวิธี แนะนำให้ผู้ใหญ่และเด็กไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำ แม้รู้สึกว่าตนสุขภาพดี เพื่อตรวจคัดโรค ระบุปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรค อภิปรายข้อแนะนำสำหรับวิถีชีวิตที่สุขภาพดีและสมดุล การฉีดวัคซีนล่าสุด และรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ให้บริการสุขภาพ[6] การตรวจคัดโรคที่พบบ่อยบางโรคเช่น การตรวจหาความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลสูงในเลือด (ปัจจัยเสี่ยงต่อเบาหวาน) ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด โรคซึมเศร้า เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดที่พบบ่อย เช่น โรคหนองในเทียม ซิฟิลิสและโรคหนองใน การถ่ายภาพรังสีเต้านม (เพื่อตรวจคัดโรคมะเร็งเต้านม) การตรวจคัดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง การทดสอบแพปเพื่อทดสอบมะเร็งปากมดลูก และการตรวจคัดโรคกระดูกพรุน สามารถทำการทดสอบทางพันธุกรรมเพื่อตรวจคัดการกลายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคทางกรรมพันธุ์หรือความโน้มเอียงรับโรคบางโรค เช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ ทว่า ปัจเจกบุคคลทุกคนไม่สามารถจ่ายค่ามาตรการเหล่านี้ได้ และประสิทธิผลราคาของเวชศาสตร์ป้องกันยังเป็นหัวข้อถกเถียงกันอยู่

ใกล้เคียง

เวชศาสตร์ฟื้นฟู เวชศาสตร์ฉุกเฉิน เวชศาสตร์การกีฬา เวชศาสตร์ป้องกัน เวชศาสตร์ชะลอวัย เวชศาสตร์ เวชศาสตร์อิงหลักฐาน เวชศาสตร์ชันสูตร นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย เวชสารสนเทศ