เวนิสวาณิช
เวนิสวาณิช

เวนิสวาณิช

เวนิสวาณิช (อังกฤษ: The Merchant of Venice) เป็นบทละครของวิลเลียม เชกสเปียร์ ซึ่งเชื่อว่าแต่งขึ้นในราวปี ค.ศ. 1596-1598 จัดอยู่ในประเภทละครชวนหัว แต่ต่อมาก็ได้รับการยอมรับให้เป็นวรรณกรรมโรแมนติกในบรรดาผลงานของเช็คสเปียร์ทั้งหมด เนื่องจากมีฉากรักที่โดดเด่นมาก และความโด่งดังของตัวละคร ไชล็อกThe Merchant of Venice ได้แปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์แปลเป็นกลอนบทละครในปี พ.ศ. 2459 นอกจากนี้ยังมี เวนิสวาณิช ฉบับการ์ตูน เรียบเรียงโดย ชลลดา ชะบางบอน[1]บทที่มีชื่อเสียงในเรื่องนี้ก็คือThe quality of mercy is not strain'd,
It droppeth as the gentle rain from heavenพระราชนิพนธ์แปลความว่าอันว่าความกรุณาปรานี    จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ    จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดินและอีกบทหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก คือTell me where is fancy bred,
Or in the heart, or in the head?
How begot, how nourished?
Reply, reply.
It is engender'd in the eyes,
With gazing fed; and fancy dies
In the cradle where it lies.
Let us all ring fancy's knell
I'll begin it,--Ding, dong, bellพระราชนิพนธ์แปลความว่าความเอยความรัก            เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน
เริ่มเพาะเหมาะกลางหว่างหัวใจ     หรือเริ่มในสมองตรองจงดี
แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง        อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ควรที่
ใครถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงรตี     ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอย
ตอบเอยตอบถ้อย             เกิดเมื่อเห็นน้องน้อยอย่าสงสัย
ตาประสบตารักสมัครไซร้            เหมือนหนึ่งให้อาหารสำราญครัน
แต่ถ้าแม้สายใจไม่สมัคร             เหมือนฆ่ารักเสียแต่เกิดย่อมอาสัญ,
ได้แต่ชวนเพื่อนยามาพร้อมกัน      ร้องรำพันสงสารรักหนักหนาเอย