เวอร์ชัวรอยด์ซีรีส์ ของ เวอร์ชัวรอยด์

เทมจิน

เวอร์ชัวรอยด์ซึ่งนับเป็นตัวเอกของเกมชุดเวอร์ชวลออน เทมจินเป็นเวอร์ชัวรอยด์ที่มีความสมดุลในทุกด้าน มีความเร็วและพลังทำลายในระยะประชิดตัวในระดับสูง จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะกับผู้เล่นทั้งมือใหม่และผู้มีประสบการณ์ เทมจิน747J ยังเป็นหนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์ที่ปรากฏตัวในซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น อัลฟ่า3และได้รับการพากษ์เสียงโดยอัทสึกิ ทานิ

เนื้อเรื่อง

เทมจินเป็นหนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์รุ่นแรกที่บริษัท DNพัฒนาขึ้นมา MBV-04-G เทมจินมีอาวุธหลักเป็นดาบแสงซึ่งสามารถใช้เป็นบีมไรเฟิลได้ ซึ่งเทมจินรุ่นหลังตั้งแต่ MBV-707-F เทมจิน707 ได้เปลี่ยนเป็นอาวุธที่เรียกว่า สเลปเนอร์ ซึ่งมีอานุภาพสูงขึ้นและสามารถใช้งานได้หลายรูปแบบกว่าเดิม แต่เทมจินรุ่น MBV-10/80 เทนเอตตี้ จะยังใช้ดาบแสงแบบเดิมอยู่ เทมจินรุ่นที่สาม MBV-747 เทมจิน747มีความสามารถในการติดตั้งเกราะเสริมเพื่อเพิ่มความสามารถในสถานการณ์ต่างๆได้ โดย MZV-747-J ซึ่งเป็นรุ่นมาตรฐานของหน่วย MARZ จะใช้เกราะ แอสซอล์ทอาเมอร์ ซึ่งมีน้ำหนักเบาแต่ทนทาน แต่ MZV-747-HIIจะใช้เกราะ โฮล์ดอาเมอร์ซึ่งเน้นการป้องกันและพลังทำลายในระยะไกลมากกว่าเดิม เทมจิน747ยังติดตั้ง ไมนด์บูสเตอร์ ซึ่งทำให้วีคอนเวอร์เตอร์ไม่ได้รับผลกระทบจากมาร์สคริสตัล หนึ่งในเทมจิน747รุ่นพิเศษ VR-747 Type a8 เป็นของทหารรับจ้าง ไวต์ไนท์และนับเป็นหนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์ที่แข็งแกร่งที่สุด

ไรเดน

เวอร์ชัวรอยด์ที่มีจุดเด่นที่พลังทำลายในระยะไกลที่รุนแรงและพลังป้องกันในระดับสูง เนื่องจากค่อนข้างช้าจึงเป็นที่นิยมของผู้เล่นที่มีประสบการณ์มากกว่ามือใหม่

เนื้อเรื่อง

ไรเดนเป็นหนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์รุ่นแรกที่บริษัท DNพัฒนาขึ้นมา โดยเดิมทีออกแบบไว้สำหรับใช้ทำลายยานรบขณะที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก ไรเดนรุ่นแรกคือ HBV-05-E นั้นใช้ปืนเลเซอร์ติดไหล่ซึ่งเอามาจากยานรบที่ปลดระวางแล้วและสามารถยิงทำลายเป้าหมายในชั้นบรรยากาศได้จากพื้นดิน เนื่องจากมียานรบเพียง 26ลำและค่าใช้จ่ายในการสร้างไรเดนหนึ่งเครื่องนั้นเทียบได้กับเทมจิน 20เครื่อง จึงมีการผลิตไรเดนออกมาเพียง 26เครื่องเท่านั้น บริษัท DNได้พัฒนาเวอร์ชัวรอยด์ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างถูกกว่าเพื่อใช้งานแทนไรเดนคือ HBV-10-B ดอร์คัส และ SAV-07-D เบลก์ดอร์

แต่เนื่องจากไรเดนเป็นเวอร์ชัวรอยด์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในบรรดานักบินที่มีประสบการณ์ บริษัท DNจึงได้พัฒนาไรเดนต่อมาเป็น HBV-502-H8 ซึ่งใช้ปืนเลเซอร์แบบใหม่ซึ่งสามารถยิงตาข่ายพลังงานสำหรับหยุดการเคลื่อนไหวของศัตรูได้ ไรเดนรุ่นใหม่นี้ยังมีความสามารถในการถอดเกราะระหว่างการต่อสู้ ไรเดนที่ถอดเกราะออกจะถูกทำลายได้ง่ายแต่ก็มีความเร็วที่สูงกว่าเวอร์ชัวรอยด์รุ่นการขับเคลื่อนสูงอย่างเฟยเยน เดอะไนท์ ใน เวอร์ชวลออนมาร์ซ หน่วยพิเศษ SHBVD (Special Heavy Battle Virtuaroid Division) ใช้ไรเดนที่ปรับแต่งให้มีความเร็วเทียบได้กับเทมจิน707 ไรเดนรุ่นแรกๆจะใช้อาวุธมือถือเป็นปืนไฮเปอร์บาซูก้า แต่HBV-512-E ไรเดน512Eและไรเดนของหน่วย SHBVD สามารถใช้บีมกันแทนได้

ดอร์คัส/ดอร์เดรย์

เวอร์ชัวรอยด์ซึ่งมีพลังป้องกันสูงคล้ายกับไรเดน แต่เน้นการต่อสู้ในระยะกลางและระยะประชิดตัวมากกว่า

เนื้อเรื่อง

หนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์ที่บริษัท DNพัฒนาขึ้นเพื่อใช้แทนไรเดน มีลักษณะเป็นยูนิตใช้งานอเนกประสงค์ที่มีพลังทำลายด้อยกว่าไรเดน มือซ้ายของดอร์คัสเป็นลูกตุ้มซึ่งจะมีหนามแสงสำหรับเพิ่มพลังทำลาย ลูกตุ้มนี้สามารถยิงออกไปโจมตีและควบคุมจากระยะไกลด้วยระบบ H.L.S. (Hammer Launched System) ส่วนมือขวาจะเป็นก้ามขนาดใหญ่ซึ่งยิงลูกไฟได้ ดอร์คัสมีศูนย์ถ่วงต่ำกว่าไรเดนจึงมีความคล่องตัวสูงกว่าเล็กน้อย

ในภาคโอราโทริโอ แทงแกรม RNAได้พัฒนาเวอร์ชัวรอยด์ที่ปรับปรุงมาจากดอร์คัสคือ RVR-68 ดอร์เดรย์ ซึ่งเปลี่ยนลูกตุ้มเป็นสว่านขนาดใหญ่ที่สามารถเจาะทะลวงสิ่งกีดขวางต่างๆรวมถึงวีอาเมอร์ได้ดี ก้ามที่มือขวามีระบบ H.L.S.และสามารถยิงออกไปได้เหมือนสว่าน ดอร์เดรย์มีวีอาเมอร์ที่แข็งที่สุดในบรรดาเวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่สองและมีความสามารถพิเศษในการขยายร่างจนสามารถกระทืบเวอร์ชัวรอยด์ที่เป็นศัตรูได้

เวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่สาม J-500 ว๊อกซ์ "โจ"มีลักษณะคล้ายกับดอร์คัส และ B-240 ว๊อกซ์ "บ็อบ"มีลักษณะคล้ายกับดอร์เดรย์

เบลก์ดอร์/วอคซีรีส์

เวอร์ชัวรอยด์แบบเน้นพลังทำลายในระยะไกลคล้ายกับไรเดน แต่มีความเร็วสูงกว่าและพลังป้องกันที่ด้อยกว่า

เนื้อเรื่อง

หนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์ที่บริษัท DNพัฒนาขึ้นเพื่อใช้แทนไรเดน เบลก์ดอร์เป็นเวอร์ชัวรอยด์แบบยิงโจมตีระยะไกลโดยใช้วัตถุระเบิดรวมถึงมิสไซล์นำวิถีเป็นอาวุธหลัก เบลก์ดอร์มีน้ำหนักเบากว่าไรเดนและดอร์คัสจึงมีความเร็วสูงกว่า แต่เนื่องจากระบบนำวิถีของมิสไซล์ทำให้หนักช่วงบนจึงล้มง่ายกว่า ในภาคโอราโทริโอ แทงแกรม บริษัท DNได้พัฒนาเบลก์ดอร์ต่อมาเป็น SAV-326-D กริสวอค โดยใช้โครงสร้างแบบใหม่เรียกว่า USS (Unit Skeleton System) กริสวอคประกอบด้วยแกนกลางเป็นเวอร์ชัวรอยด์ขนาดเล็กซึ่งมีอาวุธเป็นปืนกลสำหรับป้องกันตัวในระยะประชิด และแขนขาเสริมซึ่งติดตั้งมิสไซล์และระเบิดแบบต่างๆไว้ ในตัวกริสวอคมีขีปนาวุธข้ามทวีปหัวรบนิวเคลียร์อยู่ด้วยจึงมีพลังทำลายที่สูงกว่าไรเดนเสียอีก ตู้ที่ใช้ MSBSเวอร์ชัน5.66 จะมี SBV-328-B สไตน์วอคซึ่งเป็นอีกรูปแบบของกริสวอคที่ใช้ปืนแสงแทนมิสไซล์

เวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่สาม D-101 ว็อกซ์ "แดน" มีลักษณะคล้ายกับกริสวอค

ว็อกซ์ซีรีส์

ปรากฏตัวในภาคเวอร์ชวลออนฟอร์ซ ว็อกซ์ซีรีส์เป็นเวอร์ชัวรอยด์กลุ่มที่มีความหลากหลาย โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายกับดอร์เดรย์หรือวอคซีรีส์

เนื้อเรื่อง

ว็อกซ์ซีรีส์เป็นเวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่สามกลุ่มแรก โดยใช้โครงสร้างแบบ USSของวอคซีรีส์เพื่อให้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆได้ตามสถานการณ์ ซึ่งอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะใช้จำลองการทำงานของดอร์เดรย์หรือวอคซีรีส์ เวอร์ชัวรอยด์ซึ่งเป็นแกนกลางคือ L-48 ว็อกซ์ "ลี" และ L-43 ว็อกซ์ "ลู" นั้นสามารถใช้งานเป็นยูนิตเดี่ยวๆได้ แต่มีพลังในการต่อสู้ต่ำมาก

อาฟามด์

เวอร์ชัวรอยด์ที่มีพลังทำลายในระยะประชิดสูงสุดและมีความเร็วในระดับสูงคล้ายกับเทมจิน แต่อาวุธระยะไกลจะด้อยประสิทธิภาพกว่า ตั้งแต่ภาค โอราโทริโอ แทงแกรม อาฟามด์จะแบ่งเป็นสองแบบคือแบบดั้งเดิมที่เน้นการต่อสู้ในระยะประชิดกับแบบที่เน้นการต่อสู้ในระยะไกล อาฟามด์ เดอะแฮตเตอร์ ยังเป็นหนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์ที่ปรากฏตัวในซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น อัลฟ่า3และได้รับการพากษ์เสียงโดยทาเคโนบุ มิตสึโยชิ

เนื้อเรื่อง

เดิมทีเป็นเวอร์ชัวรอยด์ซึ่งบริษัท DNออกแบบให้เป็นยูนิตรบหลักที่แข็งแกร่งกว่าเทมจิน โดยมีอาวุธหลักเป็นบีมทอนฟาที่มีพลังทำลายสูงกว่าดาบของเทมจิน อาฟามด์ยังมีเกราะที่แข็งแกร่งกว่าและเครื่องกำเนิดพลังงานที่มีกำลังมากกว่าจึงสามารถวิ่งได้เร็วกว่า แต่เนื่องจากอาวุธในระยะไกลมีประสิทธิภาพด้อยกว่าเทมจินจึงเหมาะกับการใช้งานแบบซุ่มโจมตีมากกว่าใช้ในการรบทั่วไปตามที่วางแผนไว้

หลังปฏิบัติการมูนเกต RNAได้พัฒนาอาฟามด์ต่อมาอีกหลายรูปแบบ ซึ่งที่มีความสำคัญก็คือ RVR-39 อาฟามด์ แบทเลอร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับอาฟามด์รุ่นแรก และ RVR-33 อาฟามด์ สไตรเกอร์ ซึ่งมีอาวุธระยะไกลที่มีอานุภาพมากกว่าเดิมและเสริมเกราะให้หนาขึ้นไปอีก แต่มีความเร็วที่ลดลงและไม่มีบีมทอนฟาจึงมีพลังทำลายในระยะประชิดตัวที่ด้อยกว่า ซึ่งในรุ่นที่สามนั้นอาฟามด์ สไตรเกอร์ได้รับการพัฒนาต่อมาเป็น อาฟามด์ ไทเกอร์ ส่วนอาฟามด์ แบทเลอร์ได้รับการพัฒนาเป็น อาฟามด์ จากัวร์ซึ่งมีเกราะที่บางกว่าเดิมเพื่อให้มีความเร็วสูงขึ้นอีก อาฟามด์รุ่นที่สามที่โดดเด่นที่สุดก็คือ MVZ-36-T อาฟามด์ เดอะแฮตเตอร์ของจ่าอิซซี ฮัตเตอร์ สมาชิกหน่วย MARZ ซึ่งใช้โครงสร้างของอาฟามด์ ไทเกอร์แต่ติดบีมทอนฟาเหมือนอาฟามด์ จากัวร์

บัลซีรีส์

เวอร์ชัวรอยด์ที่สามารถปล่อยแขนทั้งสองข้างออกไปยิงโจมตีศัตรูเป็นเหมือนอาวุธควบคุมด้วยรีโมตจากระยะไกลได้ ตั้งแต่ภาคโอราโทริโอ แทงแกรม บัลซีรีส์จะมียูนิตอาวุธเพิ่มเป็นสี่ยูนิต ซึ่งสามารถผสานการใช้งานจนสามารถยิงอาวุธรูปแบบต่างๆกันออกมาได้มากมาย บัลซีรีส์มีความสามารถในการต่อสู้กลางอากาศในระดับสูง แต่เนื่องจากความสามารถด้านอื่นๆค่อนข้างต่ำจึงเป็นตัวละครที่ควบคุมยากที่สุด

ความสามารถในการปล่อยแขนทั้งสองข้างและลักษณะของบัลซีรีส์หลายๆรุ่นที่ไม่มีขาทำให้บัลซีรีส์คล้ายกับ MSN-02 ซีอองก์ในโมบิลสูทกันดั้ม

เนื้อเรื่อง

XBV-13-t11 บัลบัสบาว เป็นเวอร์ชัวรอยด์ที่จำลองมาจากซากหุ่นยนต์ลึกลับซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเวอร์ชัวรอยด์ บัลบัสบาวเป็นเวอร์ชัวรอยด์รุ่นแรกที่ไม่มีขาแต่ใช้ระบบลอยตัวเหนือพื้น เนื่องจากเป็นเวอร์ชัวรอยด์ที่ใช้เพื่อทดลองและเก็บข้อมูลจึงมีสมรรถนะไม่สเถียรนัก แขนของบัลบัสบาวเป็นยูนิตอาวุธที่เรียกว่า E.R.L. (Eject Remote Launcher) ซึ่งสามารถปล่อยออกไปยิงโจมตีศัตรูจากระยะไกลได้ ในภาคโอราโทริโอ แทงแกรม บริษัทDNได้พัฒนาบัลซีรีส์ต่อมาโดยมีส่วนขาที่แตกต่างกันตามการใช้งานและเพิ่มจำนวนของ E.R.L.เป็นสี่ยูนิต

ภาพต้นฉบับของเฟยเยนรุ่นที่สาม

ลิลินพลาจิน่าซีรีส์

กลุ่มของเวอร์ชัวรอยด์ซึ่งมีรูปร่างแบบผู้หญิง เวอร์ชัวรอยด์กลุ่มนี้มีความสามารถในการใช้ไฮเปอร์โหมดภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดเพื่อเพิ่มความสามารถในการต่อสู้ได้ รูปร่างของเวอร์ชัวรอยด์ในกลุ่มลิลินพลาจิน่าจะคล้ายกับตัวละครจากการ์ตูนแนวสาวน้อยเวทมนตร์ โดยเฟยเยนจะคล้ายกับสึคิโนะ อุซางิจากเรื่องเซเลอร์มูน แองเจลันจะคล้ายกับเบลดันดี้จากเรื่องโอ้!เทพธิดา และการายากะจะคล้ายกับตัวละครจากแม่มดน้อยโดเรมี เฟยเยนเดอะไนท์ยังเป็นหนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์ที่ปรากฏตัวในซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น อัลฟ่า3และได้รับการพากษ์เสียงโดยชิเอโกะ ฮิกุชิ

เนื้อเรื่อง

เฟยเยนเป็นเวอร์ชัวรอยด์รุ่นแรกเพียงแบบเดียวที่ไม่ได้พัฒนาโดยบริษัทDN ผู้ที่ออกแบบเฟยเยนก็คือเด็กหญิงลิลิน พลาจิน่าซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียงสิบขวบ ลิลิน พลาจิน่าได้ติดตั้งอีโมชันแนลซิสเต็มไว้ในวีคอนเวอร์เตอร์ของยูนิตต้นแบบ VR-014 เฟยยูป หรือ ออริจินัลเฟยเยน ซึ่งได้หนีหายสาบสูญไป เฟยยูปไม่เคยปรากฏตัวในเกม แต่มีบทบาทสำคัญในภาคออดิโอดราม่าทั้งสองภาคของเวอร์ชวลออนคือ เคาเตอร์พ้อย 009เอ และ ไซเบอร์เนต ราฟโซดี้ บริษัทDNได้ใช้ข้อมูลของเฟยยูปสร้างเป็น SRV-14-A เฟยเยน วีคอนเวอร์เตอร์ของเฟยเยนมีประสิทธิภาพสูงกว่าของเวอร์ชัวรอยด์รุ่นแรกทั้งหมดจึงเป็นเวอร์ชัวรอยด์ที่มีความเร็วสูงสุด อาวุธของเฟยเยนมีพลังทำลายต่ำ แต่เมื่อในสถานการณ์คับขัน อีโมชันแนลซิสเต็มจะทำงานเป็นไฮเปอร์โหมดโดยเพิ่มพลังทำลายและอัตราการยิงของอาวุธเป็นสองเท่า

ในภาคโอราโทริโอ แทงแกรม RNAได้ปรับปรุงดีไซน์ของเฟยเยนเป็น RVR-14 เฟยเยนเดอะไนท์ ซึ่งใช้อาวุธที่มีพลังทำลายมากกว่าเดิมและเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นแบบชุดบัลเลต์ ลิลิน พลาจิน่ายังได้พัฒนาเวอร์ชัวรอยด์ VR-017 ไอซ์ดอลเพื่อใช้ผนึก CVT-01 อาจิม โดยใช้รูปแบบที่ผสมกันระหว่างเทพธิดาและแม่มด ซึ่งบริษัทDNใช้รูปแบบของไอซ์ดอลผลิตเป็นเวอร์ชัวรอยด์ SGV-417-L แองเจลัน ซึ่งมีพลังในการใช้เวทมนตร์ควบคุมน้ำแข็งได้และไฮเปอร์โหมดของแองเจลันจะกางปีกแสงเหมือนเทพธิดาออกจากด้านหลัง

ในภาคฟอร์ซและภาคมาร์ซ ลิลินพลาจิน่าซีรีส์ทั้งสองก็ได้รับการพัฒนาต่อมาโดยไม่มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญนอกจากรูปร่างภายนอก โดยเฟยเยนรุ่นที่สาม TF-14A เฟยเยนวิธวิวิดฮาร์ทได้เปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นชุดเมด และลิลิน พลาจิน่าได้พัฒนา VR-11 การายากะ เพื่อใช้ผนึกบั๊กของ M.S.B.S. ยาการันเด แต่เนื่องจากการผนึกยาการันเดนั้นไม่สมบูรณ์ บางครั้งยาการันเดจะสามารถออกมาได้โดยการแปลงสภาพการายากะผ่านกระบวนการรีเวิร์สคอนเวิร์ต ซึ่งเมื่อยาการันเดออกมาแล้วจะอาละวาดทำลายทุกอย่างจนอ่อนกำลังจึงกลับสู่สภาพการายากะตามเดิม ยาการันเดยังสามารถแปลงสภาพTG-11M ซึ่งเป็นรุ่นผลิตใช้งานของการายากะได้เช่นกัน

ไวเปอร์/ไซเฟอร์/ไมเซอร์

เวอร์ชัวรอยด์แบบเน้นการต่อสู้กลางอากาศโดยสามารถกระโดดกลางอากาศได้อีกครั้งและเป็นตัวละครที่มีพลังทำลายในระยะไกลและความเร็วในระดับสูง แต่พลังป้องกันแย่ที่สุด

เนื้อเรื่อง

หนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์ที่พัฒนาต่อมาจากเทมจิน โดยศาสตราจารย์ไอเซอร์แมน ผู้พัฒนาได้ปรับปรุงโครงสร้างโดยลดเกราะป้องกันลงเพื่อให้มีน้ำหนักเบาที่สุด จึงมีความเร็วสูงและสามารถลอยตัวกลางอากาศได้ดี ในการทดสอบเครื่องต้นแบบXMU-06A ไวเปอร์อัลฟ่านั้น นักบินทดสอบได้ใช้กำลังของไวเปอร์ถึงขีดสุดจนเป็นพลังงานห่อหุ้มไวเปอร์ไว้ แต่ได้เสียการควบคุมและกระแทกกับพื้นจนไวเปอร์ถูกพลังงานของตัวเองสลายไป ในรุ่นผลิตใช้งานคือ TRV-06-E ไวเปอร์ทูว์ได้แก้ไขสามารถใช้งานพลังงานนี้เป็นอาวุธได้โดยการพุ่งกระแทกเป้าหมายจากกลางอากาศ ซึ่งการโจมตีนี้ได้ชื่อว่า S.L.C.ไดฟ์ตามคำพูดก่อนตายของนักบินทดสอบของไวเปอร์อัลฟ่า "She's Lost Control!"

ในภาค โอราโทริโอ แทงแกรม ศาสตราจารย์ไอเซอร์แมนได้พัฒนาเวอร์ชัวรอยด์ที่พัฒนามาจากไวเปอร์นั่นก็คือRVR-42 ไซเฟอร์ซึ่งได้เพิ่มความสามารถในการต่อสู้กลางอากาศขึ้นอีกขั้นโดยสามารถแปลงร่างเป็นเครื่องบินได้ ในภาคฟอร์ซนั้นไซเฟอร์ได้รับการปรับปรุงไปเป็นYZR-8000 ไมเซอร์ซึ่งในภาคมาร์ซนั้นได้มีไมเซอร์รุ่นพิเศษของทหารรับจ้างกลุ่มซิสเตอร์ออฟโรส

สเปซซิเนฟ

เวอร์ชัวรอยด์ที่ใช้รูปร่างแบบยมทูตและมีอาวุธหลักเป็นเคียวแสงที่สามารถใช้เป็นบีมลันเชอร์ได้ ความเร็วของสเปซซิเนฟค่อนข้างช้าแต่สามารถพุ่งตัวได้เร็ว ลักษณะเด่นของสเปซซิเนฟอยู่ที่อาวุธซึ่งสามารถทำให้อาวุธของคู่ต่อสู้ไม่สามารถใช้การได้ชั่วขณะ และยังมีเดธโหมดซึ่งทำให้สเปซซิเนฟเป็นอมตะและสามารถพุ่งตัวและยิงอาวุธได้อย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าผู้เล่นที่ใช้สเปซซิเนฟไม่สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ใน13วินาทีก็จะแพ้ทันที

เนื้อเรื่อง

RVR-87 สเปซซิเนฟ เวอร์ชัวรอยด์ที่ศาสตราจารย์ไอเซอร์แมนได้พัฒนาจนสมบูรณ์ในช่วง โอราโทริโอ แทงแกรม โดยใช้ EVLไบน์เดอร์ซึ่งทำให้วีคอนเวอร์เตอร์เพิ่มพลังได้จากความรู้สึกด้านลบของมนุษย์ เนื่องจาก EVLไบน์เดอร์มีผลกระทบต่อนักบินผู้ใช้งานสเปซซิเนฟอย่างรุนแรง ในภาคฟอร์ซได้มีการปรับปรุงต่อมาเป็นYZR-XIII สเปซซิเนฟ เทอร์ทีนซึ่งเน้นสมรรถนะจากเทคโนโลยีพื้นฐานมากกว่าเดิม

คาเงะคิโยะ

เวอร์ชัวรอยด์ที่มีรูปร่างแบบซามูไร คาเงะคิโยะเป็นตัวละครเพียงแบบเดียวในภาคฟอร์ซที่ไม่ได้ปรากฏตัวในภาคมาร์ซเลย

เนื้อเรื่อง

หนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์ที่พัฒนาโดยศาสตราจารย์ไอเซอร์แมน ซึ่งใช้วิธีผนึกวิญญาณของนักรบซามูไรในสมัยโบราณไว้ในวีคอนเวอร์เตอร์ เวอร์ชัวรอยด์รุ่นคาเงะคิโยะจะใช้รหัสเป็นตัวอักษรคันจิแทนตัวอักษรโรมันและใช้อาวุธแบบซามูไรโบราณ

โอเมก้าซีรีส์

กลุ่มของเวอร์ชัวรอยด์ซึ่งเป็นบอสกลาง โอเมก้าซีรีส์เป็นเหมือนตัวละครที่มีไว้ลงโทษผู้เล่นที่ใช้กลยุทธถ่วงเวลาในฉากแรกๆโดยปล่อยให้เวลาหมดในขณะที่มีพลังชีวิตมากกว่าศัตรู ในภาคแรกนั้นผู้เล่นจะเจอกับ ยาการันเด ส่วน ในโอราโทริโอ แทงแกรมจะเจอกับ อาจิม ซึ่งในภาคฟอร์ซและมาร์ซนั้น อาจิมจะมีเกลันเป็นเพื่อนร่วมทีม ในภาคโอราโทริโอ แทงแกรม ผู้เล่นสามารถควบคุมอาจิมได้ แต่อาจิมที่ผู้เล่นควบคุมจะอ่อนแอกว่าที่เป็นบอสกลางมาก

เนื้อเรื่อง

ยาการันเดเกิดจากบั๊กของ M.S.B.S.ซึ่งจะออกมาโจมตีในขณะที่ M.S.B.S.ส่งข้อมูลไปยังเวอร์ชัวรอยด์หลังจากที่ผู้เล่นเกมผ่านระบบจำลองแล้ว โดยยาการันเดมีลักษณะคล้ายกับไรเดนที่เปลี่ยนสภาพไปอย่างมาก ในภาคฟอร์ซ ยาการันเดถูกเวอร์ชัวรอยด์ TG-11M การายากะผนึกไว้ในตัว แต่เนื่องจากการผนึกนั้นไม่สมบูรณ์ ยาการันเดจะสามารถออกมาได้โดยแปลงสภาพการายากะผ่านกระบวนการรีเวิร์สคอนเวิร์ต ในภาคแรกยาการันเดจะมีขนาดเล็กพอๆกับดอร์คัส แต่มีขนาดใหญ่มากในภาคฟอร์ซและมาร์ซ

อาจิมเป็นผลึกวีคริสตัลที่ผ่านกระบวนการรีเวิร์สคอนเวิร์ตจนเป็นเวอร์ชัวรอยด์ที่เป็นผลึกล้วนๆและมีพลังในการต่อสู้สูง ซึ่งในภาคฟอร์ซนั้นได้มี เกลันซึ่งเป็นเวอร์ชัวรอยด์ผลึกเหมือนอาจิมแต่มีรูปร่างแบบผู้หญิงเป็นคู่หูของอาจิมในการป้องกันผลึกจูปิเตอร์คริสตัล

ชาโดว์เวอร์ชัวรอยด์

เวอร์ชัวรอยด์ซึ่งปรากฏตัวเป็นศัตรูในภาคมาร์ซ ชาโดว์ซีรีส์จะมีรูปร่างเหมือนกับเวอร์ชัวรอยด์รุ่นปกติแต่มีสีดำลายแดง ชาโดว์เวอร์ชัวรอยด์ใช้รูปแบบการต่อสู้เหมือนเวอร์ชัวรอยด์ต้นแบบแต่มีความสามารถสูงกว่า ชาโดว์เวอร์ชัวรอยด์ตัวแรกปรากฏในโมเดลซีรีส์ วันแมนเรสคิว คือSDK/04 เทมจิน เดอะชาโดว์

เนื้อเรื่อง

ชาโดว์เวอร์ชัวรอยด์เป็นเวอร์ชัวรอยด์ซึ่งถูกไวรัสคอมพิวเตอร์ของแทงแกรมเข้าควบคุม ชาโดว์เวอร์ชัวรอยด์จะเคลื่อนไหวด้วยตัวเองและไม่สามารถควบคุมได้ กระบวนการรีเวิร์สคอนเวิร์ตทำให้สีของชาโดว์เวอร์ชัวรอยด์กลายเป็นสีดำลายแดงและมีพลังในการต่อสู้สูงกว่าเดิมมาก

ใกล้เคียง

เวอร์ชวลยูทูบเบอร์ เวอร์จิเนีย วูล์ฟ เวอร์จินแอตแลนติก เวอร์ชัวรอยด์ เวอร์ซาชีออนเดอะฟลอร์ เวอร์จินออสเตรเลีย เวอร์มีลแห่งเวทสีทอง ~นักอาคมหวิดซิ่วกับอสูรรับใช้สุดแกร่งบุกตะลุยโลกเวทมนตร์~ เวอร์โก้ ชากะ เวอร์จิล แอบโล เวอร์ซาเช