รายชื่อการก่อวินาศกรรม ของ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์

การก่อวินาศกรรมใน ค.ศ. 1993

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 รถบรรทุกที่มีระเบิดน้ำหนัก 1,500 ปอนด์ ได้ระเบิดบริเวณที่จอดรถใต้ดินของอาคาร 1 ทำให้เกิดหลุมกว้างประมาณ 100 เมตร มีผู้เสียชีวิต 6 คนและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก ผู้ก่อการร้าย 6 คนถูกจับใน ค.ศ. 1997 และ ค.ศ. 1998

การก่อวินาศกรรมใน ค.ศ. 2001

ดูบทความหลักที่: วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 พุ่งชนอาคารใต้

เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้มีการปล้นเครื่องบินพาณิชย์และพุ่งเข้าชนอาคารแฝดซึ่งได้แก่ อเมริกัน แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 ชนอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 1 บริเวณชั้นที่ 90-95 และ ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 ชนอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ 2 บริเวณชั้นที่ 75-90 ส่งผลให้ทั้งสองอาคารถล่มในเวลาต่อมา โดยอาคารแรกที่ถล่ม คือ อาคารสอง ถล่มหลังจากถูกชน 1 ชั่วโมงเศษ และอาคารหนึ่งได้ถล่มหลังอาคารสอง 45 นาที (หรือหลังจากถูกชน 1 ชั่วโมง 45 นาที) หลังจากนั้น อาคาร 7 ได้ถล่มในวันถัดมา เนื่องจากการถล่มของอาคารทั้งคู่ทำให้รากฐานของอาคาร 7 ไม่มั่นคง ประกอบกับตัวอาคารเกิดไฟไหม้ ทำให้โครงเหล็กค้ำยันของอาคาร 7 ถล่มลง แต่โชคดีที่มีการอพยพคนออกจากอาคารนี้ก่อนที่จะถล่ม ส่วนอาคารที่เหลืออีก 4 อาคาร ได้รับความเสียหายอย่างหนักเนื่องจากถูกอาคาร 1 และอาคาร 2 ถล่มทับ มีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการรวม 2,749 คน

สาเหตุที่อาคารถล่ม เกิดจากแรงปะทะของเครื่องบินโบอิง 767 ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 170 ตัน พุ่งเข้าชนตัวอาคารแบบเฉือนจุดกึ่งกลางภายในอาคารด้วยความเร็ว 570 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นแรงกระทำต่ออาคารสูงขณะอยู่กับที่ (Dynamic Lode) ชิ้นส่วนบางส่วนของเครื่องบินเช่น เครื่องยนต์โบอิง 767 ได้หลุดออกจากตัวอาคาร แต่ส่วนใหญ่ชิ้นส่วนของเครื่องบินกระจายฝังอยู่ในตัวอาคาร ประกอบกับแรงระเบิดมหาศาลจากการลุกไหม้ของน้ำมันเครื่องบินที่บรรจุมาเต็มถังน้ำมัน ส่งผลให้เสาหลักและช่องลิฟท์ของอาคารเสียหาย ทำให้การกระจายน้ำหนักของอาคารต้องกระจายอ้อมส่วนที่เสียหาย แต่การชนนี้ยังไม่ทำให้ตัวอาคารถล่มลงทันที เนื่องจากอาคารถูกออกแบบให้ทนต่อการชนของเครื่องบินขนาด โบอิง 707 โครงสร้างหลักของอาคารเป็นแกนเหล็กตรงกลางอาคาร (Steel Framed Tuble) และมีโครงเหล็กถัก (Truss) จากแกนหลักไปยังผนังอาคาร เพลิงที่ไหม้ในอาคารมีอุณหภูมิสูงถึง 800 องศาเซลเซียส ส่งผลให้โครงเหล็กถักสูญเสียความแข็งแรง เกิดการงอตัวจากน้ำหนักอาคารและหลุดออกจากจุดยึด ทำให้อาคารแต่ละชั้นถล่มลงด้วยน้ำหนักของแต่ละชั้นเอง (Self Weight) หลังจากการชน 1 ชั่วโมง

ใกล้เคียง

เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (พ.ศ. 2516–2544) เวิลด์ แท็กทีม แชมเปียนชิป (ดับเบิลยูดับเบิลยูอี) เวิลด์ ทริกเกอร์ เวิลด์แชมเปี้ยนชิพเรสต์ลิง เวิลด์เฮฟวี่เวทเรสต์ลิงแชมเปียนชิป (ออริจินัล เวอร์ชั่น) เวิลด์เฮวีเวตแชมเปียนชิป (ดับเบิลยูดับเบิลยูอี) เวิลด์ไวด์เว็บ เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม เวิลด์เกมส์ 2022 เวิลด์เฮวีเวตแชมเปียนชิป