เสรีนิยมใหม่

เสรีนิยมใหม่ (อังกฤษ: neoliberalism) หมายถึง การกำเนิดใหม่ของความคิดที่สัมพันธ์กับเสรีนิยมทางเศรษฐกิจปล่อยให้ทำไปสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในคริสต์ศตวรรษที่ 20[1]:7 เสรีนิยมใหม่ประกอบด้วยนโยบายเปิดเสรีทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง เช่น การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน การรัดเข็มขัดทางการเงิน (fiscal austerity) การลดข้อบังคับ (deregulation) การค้าเสรี[2] และการลดรายจ่ายภาครัฐเพื่อเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในเศรษฐกิจ[10]คำนี้มีใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1938 แต่กลายมามีความหมายอย่างในปัจจุบันในคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980 โดยนักวิชาการสังคมศาสตร์หลายสาขา และนักวิจารณ์ ผู้สนับสนุนนโยบายตลาดเสรีเลี่ยงใช้คำว่า "เสรีนิยมใหม่"[11][12]นิยามและการใช้คำเปลี่ยนแปลงตามเวลา[4] เดิมทีเป็นปรัชญาเศรษฐกิจซึ่งกำเนิดขึ้นในบรรดานักวิชาการเสรีนิยมยุโรปในคริสต์ทศวรรษ 1930 เป็นความพยายามหา "ทางที่สาม" หรือ "ทางสายกลาง" ระหว่างปรัชญาเสรีนิยมคลาสสิกและการวางแผนสังคมนิยมที่ขัดกัน[13]:14–15 แรงผลักดันสำหรับความคิดนี้มาจากความปรารถนาเลี่ยงซ้ำรอยความล้มเหลวทางเศรษฐกิจในต้นคริสต์ทศวรรษ 1930 ซึ่งนักเสรีนิยมใหม่ส่วนใหญ่โทษนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมคลาสสิก ในอีกหลายทศวรรษให้หลัง การใช้คำ เสรีนิยมใหม่ มักหมายถึงทฤษฎีซึ่งเปลี่ยนแปลงจากลัทธิปล่อยให้ทำไปมากกว่าของเสรีนิยมคลาสสิก และสนับสนุนเศรษฐกิจแบบตลาดภายใต้การชี้นำและกฎรัฐที่เข้มแข็ง เป็นแบบจำลองซึ่งต่อมาเรียก เศรษฐกิจแบบตลาดสังคม (social market economy)ในคริสต์ทศวรษ 1960 การใช้คำว่า "เสรีนิยมใหม่" เสื่อมลงอย่างหนัก เมื่อมีการนำคำนี้กลับมาใช้อีกในคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยเชื่อมโยงกับการปฏิรูปเศรษฐกิจของออกุสโต ปิโนเชต์ (Augusto Pinoche) ในประเทศชิลี การใช้คำนี้ได้เปลี่ยนไป ไม่เพียงแต่คำนี้มีการเชื่อมโยงทางลบซึ่งนักวิจารณ์การปฏิรูปตลาดใช้เป็นหลักแล้ว แต่ยังเปลี่ยนความหมายจากเสรีนิยมแบบสายกลางมาเป็นชุดความคิดหัวรุนแรงและทุนนิยมปล่อยให้ทำไปมากขึ้นด้วย ปัจจุบันนักวิชาการมักใช้คำนี้กับทฤษฎีของนักเศรษฐศาสตร์ ฟรีดริช ฮาเยคและมิลตัน ฟรีดแมน และเจมส์ เอ็ม. บูชาแนน ร่วมกับนักการเมืองและผู้วางแผนนโยบายอย่างมาร์กาเร็ต แทตเชอร์, โรนัลด์ เรแกน และแอลัน กรีนสแพน[4][14] เมื่อความหมายใหม่ของเสรีนิยมใหม่มีการใช้ทั่วไปในบรรดานักวิชาการที่พูดภาษาสเปนแล้ว ก็ได้แพร่สู่การศึกษาเศรษฐกิจการเมืองภาษาอังกฤษด้วย ผลกระทบของวิกฤตการณ์ทั่วโลก ค.ศ. 2008–2009 ยังนำให้มีการศึกษาใหม่ซึ่งวิจารณ์เสรีนิยมใหม่และแสวงทางเลือกการพัฒนา[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เสรีนิยมใหม่ http://www.hup.harvard.edu/catalog.php?isbn=978067... //doi.org/10.1007%2Fs12116-009-9040-5 http://fpif.org/from_keynesianism_to_neoliberalism... https://books.google.com/books?id=M5qkDAAAQBAJ&lpg... https://books.google.com/books?id=bkotGqoG0u0C&lpg... https://books.google.com/books?id=igrwb3rsOOUC&lpg... https://www.routledge.com/The-Handbook-of-Neoliber... https://www.academia.edu/9680429/Polarising_Develo... https://web.archive.org/web/20040806144320/http://...