เสาหงส์
เสาหงส์

เสาหงส์

เสาหงส์ เป็นสัญลักษณ์ของวัดมอญในประเทศไทย เป็นเสาที่ทำรูปหงส์ติดไว้ที่ยอด ที่จะงอยปากหงส์แขวนด้วยกระดิ่ง บางแห่งบนสุดมีฉัตรสามชั้นปักอยู่ ชาวรามัญเรียกเสาหงส์ว่า เทียะเจมเจียนู่[1] กล่าวกันว่ามีแต่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น เพราะชาวมอญในประเทศไทยสร้างเพื่อรำลึกถึงเมืองหงสาวดีที่ต้องจากบ้านทิ้งเมืองไป แต่ถึงกระนั้นก็พบได้ในบางวัดในประเทศพม่า เช่น วัดเกาะซั่ว วัดธอมแหมะซะ เมืองมะละแหม่ง[2]หงส์ในความเชื่อตามพระพุทธศาสนา มีตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้แปดพรรษา ได้เสด็จเที่ยวจาริกมาถึงภูเขาสุทัศนมรังสิต ประเทศตรงนั้นเป็นทะเล พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นหงส์ทองสองตัวกำลังลงเล่นน้ำจึงทรงทำนายว่ากาลภายหน้าประเทศที่หงส์ลงเล่นน้ำจะเป็นมหานครขึ้น ซึ่งต่อมาคือ กรุงหงสาวดี[3]คติความเชื่อในการสร้างเสาหงส์ เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า เสาหงส์นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังธงตะขาบซึ่งเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล ตามตำนานเล่าว่า มีชาวมอญไปพลต้นจันทน์ยืนต้นตายอยู่ในป่า ลักษณะของต้นจันทน์ดังกล่าวเป็นลำต้นตรงสวยงาม ได้ตัดต้นจันทน์มาปักไว้บริเวณวัดของหมู่บ้าน เพื่อแขวนธงตะขาบบูชาพระพุทธเจ้า ภายหลังมีการแกะไม้เป็นรูปหงส์ประดับไว้ที่ปลายเสา ต่อมาได้พัฒนารูปแบบของเสาให้สะดวกและสวยงามยิ่งขึ้น โดยเพิ่มเสาตะเกียบกระหนาบเสาหงส์เพิ่มสีสันและลวดลายต่าง ๆ บางวัดมีการสร้างเสาคู่ ในปัจจุบันเสาหงส์ทำด้วยท่อเหล็ก ก่อปูนถืออิฐเป็นแท่น จะสร้างเสาหงส์บริเวณหน้าวัดเพื่อให้ประชาชนเห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้เสาหงส์ ยังเป็นสิ่งประดับตกแต่งบ้านเมืองอย่างหนึ่ง มีการผนวกโคมไฟขึ้นบนเสา ออกแบบเป็นรูปหงส์คาบโคมไฟห้อยลงมา ซึ่งโคมไฟหงส์นี้ไม่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องเสาหงส์ของชาวมอญ[4]ประเพณีถวายธงตะขาบ กำเนิดขึ้นในจังหวัดสมุทรปราการ ที่พระประแดง เป็นประเพณีในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ จะกระทำกันที่เสาหงส์หน้าเจดีย์ (หรือ โบสถ์ วิหาร)[5]