เสือดาวหิมะ
เสือดาวหิมะ

เสือดาวหิมะ

เสือดาวหิมะ (อังกฤษ: snow leopard, ounce) สัตว์ในวงศ์ Felidae ชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ป่าที่หายากใกล้สูญพันธุ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera unciaเดิมทีเสือดาวหิมะ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Uncia uncia โดยถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Uncia โดยใช้มาตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 30[2] แต่จากการศึกษาด้านจีโนไทป์พบว่าอยู่ในสกุล Panthera เช่นเดียวกับเสือใหญ่หลายชนิด ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 และถูกจำแนกออกเป็น 2 ชนิดย่อย แต่ถึงอย่างไรก็ตามความแตกต่างทางพันธุกรรมของทั้ง 2 ชนิดนี้ยังไม่ได้รับการตัดสิน[2][1]มีขนยาวหนาแน่น สีพื้นเทาอมเหลือง บริเวณสีข้างจะอมเหลืองจาง ๆ มีลายดอกเข้มทั่วตัวคล้ายเสือดาว (P. pardus) ช่วยให้ดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยซึ่งเป็นภูเขาหินและหิมะปกคลุม ลายดอกบริเวณหลังและสีข้างมีขนาดใหญ่ ส่วนบริเวณหัวและขาเป็นลายจุดขนาดเล็ก บริเวณคาง อก และท้องเป็นสีขาวปลอดไม่มีลาย ลายบริเวณหลังและสีข้างจะจางกว่าบริเวณอื่น ซึ่งต่างจากเสือลายจุดชนิดอื่นที่มักมีลายที่หลังเข้มกว่า หางด้านบนจะเป็นวงสีดำ ด้านล่างของหางเป็นจุดจาง ๆ เปรียบเทียบลายดอกของเสือดาวหิมะกับของเสือดาวแล้ว ดอกของเสือดาวหิมะจะห่างกันมากกว่าและไม่คมชัดเท่า มีกล้ามเนื้อหน้าอกและหัวไหล่ที่แข็งแรง อุ้งเท้ากว้างแข็งแรงและปกคลุมด้วยขน ช่วยให้เพิ่มพื้นที่ผิวและกระจายน้ำหนักตัวลงบนหิมะได้อย่างสม่ำเสมอ และช่วยปกป้องอุ้งเท้าจากความเย็นของหิมะได้ดี มีโพรงจมูกใหญ่ที่มีลักษณะพิเศษช่วยให้อากาศที่เย็นเปลี่ยนเป็นอุ่น ก่อนที่จะสูดหายใจเข้าไปในปอด[3] และมีหางยาวที่ขนฟูสามารถพันรอบตัวเพื่อป้องกันความหนาวได้เหมือนผ้าพันคอ[4]มีความยาวลำตัวและหัว 90–135 เซนติเมตร ความยาวหาง 90 เซนติเมตร ความสูงถึงหัวไหล่ 60 เซนติเมตร น้ำหนักในตัวผู้ 44–55 กิโลกรัม ตัวเมีย 35–40 กิโลกรัม เสือดาวหิมะตัวเมียจะตกลูกครั้งละ 2 ตัว ทุก ๆ 2 ปี ลูกตัวผู้จะอยู่กับแม่นาน 18 เดือน ส่วนตัวเมียจะอยู่ 2 ปี ก่อนจะแยกตัวออกไป[5]มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางบนภูเขาสูงที่มีหิมะปกคลุมในภูมิภาคเอเชียกลาง เช่น มองโกเลีย, ภูฐาน, ทิเบต, จีน, อัฟกานิสถาน, รัสเซีย, อินเดีย, เนปาล โดยพบที่ทิเบตและจีนมากที่สุด มีชนิดย่อยทั้งหมด 2 ชนิด คือ U. u. uncia พบในมองโกเลียและรัสเซีย และ U. u. uncioides พบในจีนและเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งที่อยู่ของทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่เชื่อมต่อติดกัน โดยเสือดาวหิมะถือเป็นสัตว์นักล่าหรือสัตว์กินเนื้อเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบได้ในภูมิภาคเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นเทือกเขาสูง [6] แต่ปัจจุบันได้มีการจำแนกออกเป็น 3 ชนิด คือ P. u. irbis พบทางภาคเหนือของภูมิภาคอัลไต, P. u. uncioides พบศูนย์กลางของเทือกเขาหิมาลัยหลักและที่ราบสูงทิเบต และP. u. uncia พบทางตะวันตกของเทือกเขาเทียนซาน, ปามีร์, ภูมิภาคทรานส์หิมาลัย [2]มีพฤติกรรมและชีววิทยาเป็นสัตว์ที่มีนิสัยขี้อาย มักหลบเมื่อพบกับมนุษย์ สามารถกระโดดได้ไกลถึง 15 เมตร มีรายงานนอนกลางวันชอบหลบไปนอนในรังของแร้งดำหิมาลัย (Aegypius monachus) โดยการกระโดดขึ้นไปเลยไม่ใช้การปีนออกล่าเหยื่อในเวลาพลบค่ำหรือกลางคืน โดยล่าสัตว์ทุกขนาดทั้งสัตว์ใหญ่สัตว์เล็ก รวมถึงล่าปศุสัตว์ของมนุษย์ เช่น แพะหรือแกะ เป็นอาหารได้ด้วย[6] โดยปกติแล้วจะล่าเหยื่อและอยู่ตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ ที่อาจอยู่เป็นคู่ เมื่อล่าเหยื่อได้แล้วอาจจะกินไม่หมดในครั้งเดียว อาจใช้เวลานานถึง 3–4 วันกว่าเหยื่อจะหมด นานที่สุดคือ 1 สัปดาห์ และจากคำบอกเล่าของชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ที่เทือกเขาปามีร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยเล่าว่า เสือดาวหิมะเป็นสัตว์ฉลาด เมื่อจะล่าแพะป่า จะใช้วิธีกลิ้งหินจากข้างบนเพื่อให้เข้าใจผิดว่าเป็นลมพัด เมื่อแพะอยู่นิ่ง ๆ เสือดาวหิมะจึงจะจู่โจม[6]เสือดาวหิมะมักอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ ในระยะเวลาประมาณ 7–10 วัน ก่อนที่จะเดินทางไกลไปอีกที่หนึ่ง ระยะทางที่เดินทางวันหนึ่งเฉลี่ยราว 1 กิโลเมตรสำหรับตัวผู้และ 1.3 กิโลเมตรสำหรับตัวเมีย บางครั้งอาจเดินทางได้ไกลถึงวันละ 7 กิโลเมตรในอดีตมีการล่าเสือดาวหิมะเพื่อทำเป็นเสื้อขนสัตว์ โดยมีราคาซื้อขายสูงถึงตัวละ 50000 ดอลลาร์ และมีการล่าถึงปีละ 1000 ตัว จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1952 ทางรัฐบาลอินเดียจึงได้ออกกฎหมายคุ้มครองขึ้นมา แต่ปัจจุบันก็ยังมีการลักลอบในพื้นที่ต่าง ๆ เช่นกันเดิมที สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ได้จัดสถานะให้เสือดาวหิมะเป็นสัตว์ที่อยู่ในสภานะใกล้สูญพันธุ์ (EN) แต่นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 เป็นต้นมา ผลจากการอนุรักษ์ตลอดจนลดความขัดแย้งกับผู้เลี้ยงปศุสัตว์และการสร้างจิตสำนึกในการหวงแหนสัตว์ป่าหายากของชาวพื้นเมือง ทำให้เสือดาวหิมะมีปริมาณในธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น โดยคาดการณ์ว่ามีราว 4,000 ตัว และอาจมากถึง 10000 ตัว จึงทำให้ IUCN ปรัดลดสถานะของเสือดาวหิมะลงมาเป็นอยู่ในข่ายที่จะเข้าสู่สถานะใกล้สูญพันธุ์ (VU) แทน ในปี ค.ศ. 2017