ความพยายามครั้งสุดท้าย ของ เสือลายเมฆฟอร์โมซา

ตัวอย่างที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน

ในการสัมภาษณ์ที่มีขึ้นเมื่อปี 1986 ซึ่งสัมภาษณ์นายพรานพื้นเมืองชาวไต้หวัน 70 คน ได้เปิดเผยว่าพวกเขาเห็นเสือลายเมฆฟอร์โมซาเป็นครั้งสุดท้ายที่ภูเขาต้าอู่เมื่อปี 1983[6] ในปี 1989 พบหนังเสือในบริเวณของอุทยานแห่งชาติ Tarako ซึ่งเป็นบันทึกสุดท้ายที่ได้รับการยืนยัน[7] ในช่วงปี 1990 มีรายงานว่าพบรอยตีนใกล้กับอุทยานแห่งชาติ Yushan ซึ่งเป็นที่สงสัยและไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นเสือชนิดนี้[8][9]

มีการคาดการณ์ว่าเสือชนิดนี้ได้ล่าถอยไปยังเทือกเขาอวี้และภูเขาต้าอู่หลังจากที่มีการตัดไม้ทำลายป่าอย่างกว้างขวางในถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของมัน ปัจจุบันนี้พื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติเขาต้าอู่ ที่แผ่ขยายทั่วพื้นที่ประมาณ 480 km2 (190 sq mi) เป็นแหล่งสำหรับผืนป่าดั้งเดิมของไต้หวันตอนล่าง และประกอบด้วยป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ตลอดจนป่าเขตอบอุ่นมีไม้ใบกว้างแบบผสม (temperate broadleaf and mixed forest) และป่าสนเขตอบอุ่น (temperate coniferous forest)[3]

ระหว่างปี ค.ศ. 1997 และ 2012 มีการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพกว่า 1,450 จุดทั่วไต้หวัน ในพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมพอที่จะเป็นแหล่งที่อยู่ของเสือชนิดนี้ ตั้งแต่พื้นที่ชายทะเลไปจนถึงที่ระดับความสูง 3,796 m (12,454 ft), ในพื้นที่ราบลุ่มที่ถูกแบ่งเป็นผืนเล็ก ๆ ไปจนถึงพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครอง[2] การสำรวจนี้รวมไปถึง 13,000 คืนที่กล้องทำงานรวมกันตั้งแต่ปี 2000 ถึง 2004 บนพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติเขาต้าอู่และ Twin Ghost Lake Important Wildlife Area[3] ระหว่างการบันทึกภาพตอนกลางวันรวม 128,349 วัน พบสัตว์ที่มีศักยภาพพอจะเป็นเหยื่อเสือลายเมฆฟอร์โมซา 12 ชนิด ได้แก่ กวางป่า (Rusa unicolor), เลียงผาฟอร์โมซา(Capricornis swinhoei), เก้งจีน (Muntiacus reevesi), ลิงแม็กแคกฟอร์โมซา (Macaca cyclopis), ไก่ฟ้าสีฟ้าไต้หวัน (Lophura swinhoii) และสัตว์ฟันแทะ แต่กระนั้นก็ไม่พบเสือลายเมฆฟอร์โมซาเลยแม้แต่ตัวเดียว จึงคาดกันว่าเสือชนิดนี้สูญพันธุ์ไปแล้ว[2]

จากการอาศัยระดับการพบเจอสัมพัทธ์ของเสือลายเมฆฟอร์โมซาที่ยังมีชีวิตแม้กระทั่งตอนที่ยังมีพวกมันหลงเหลืออยู่ เกิดสมมติฐานภายในแวดวงของนักวิจัยว่าเสือลายเมฆฟอร์โมซาไม่เคยมีอยู่จริง และหนังเสือที่กลุ่มสังคมพื้นเมืองใช้กันเป็นประจำน่าจะเป็นของเสือลายเมฆซุนดา ซึ่งมีการค้าขายระหว่างหมู่เกาะซุนดา, จีน, และญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามสมมติฐานนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางนัก เนื่องจากมีบันทึกของเสือลายเมฆฟอร์โมซาบนเกาะซุนดาอยู่จำนวนหนึ่ง มีการรายงานว่าเสือลายเมฆฟอร์โมซา 24 ตัวถูกยิงระหว่างการเข้ายึดครองไต้หวันของกองกำลังญี่ปุ่นในปี 1933[10]

การพบเห็น

ฤดูร้อนปี ค.ศ. 2018 กลุ่มนายพรานสองกลุ่มให้การว่าพบเห็นเสือลายเมฆฟอร์โมซาในเทศมณฑลไถตง กลุมหนึ่งยืนยันว่าพบเห็นหนึ่งตัวขณะกำลังปีนต้นไม้และล่าแพะบนหน้าผา อีกกลุ่มแย้งว่าได้พบเห็นเสือชนิดนี้วิ่งผ่านสกู๊ตเตอร์จากถนนปีนขึ้นต้นไม้ไป[11][12]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เสือลายเมฆฟอร์โมซา http://www.departments.bucknell.edu/biology/resour... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17141621 http://cloudedleopard.org/documents/Formosan%20clo... //doi.org/10.1016%2Fj.cub.2006.10.066 //doi.org/10.1017%2FS003060530002740X //doi.org/10.1017%2FS003060531300063X //doi.org/10.1017/S003060531300063X http://focustaiwan.tw/news/asoc/201304300027.aspx https://news.mongabay.com/2019/03/taiwan-extinct-l... https://www.scmp.com/magazines/post-magazine/long-...