ประวัติ ของ เสื้อเกราะกันกระสุน

ก่อนยุคสมัยใหม่

ในปี ค.ศ. 1538 ฟรันเชสโก มาเรีย เดลลา โรเวเร มอบหมายให้ฟีลิปโป เนโกรลี สร้างเสื้อเกราะกันกระสุน ส่วนในปี ค.ศ. 1561 จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้รับการบันทึกในฐานะการทดสอบเกราะของเขาจากการยิงปืน ในทำนองเดียวกัน ในปี ค.ศ. 1590 เซอร์ เฮนรี ลี คาดว่าเสื้อเกราะของเขาจะเป็น "การป้องกันปืนพก" ซึ่งประสิทธิภาพที่แท้จริงของมันเป็นที่ถกเถียงในเวลานั้น[2] สำหรับศัพทมูลวิทยาของ "กระสุน" และรูปแบบคำคุณศัพท์ของ "กันทะลุ" ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 จะมุ่งเสนอคำว่า "กันกระสุน" หลังจากนั้นไม่นาน

ในช่วงสงครามกลางเมืองอังกฤษ ทหารม้าไอรอนไซด์ของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ได้จัดให้มีหมวกนิรภัยเคปไลน์ และเสื้อเกราะกันปืนคาบศิลาซึ่งประกอบด้วยแผ่นเกราะสองชั้น (ในการศึกษาต่อมาที่เกี่ยวข้องกับรังสีเอกซ์ชั้นที่สามถูกค้นพบ ซึ่งอยู่ระหว่างชั้นนอกและชั้นใน) ชั้นนอกถูกออกแบบมาเพื่อดูดซับพลังงานของกระสุน และชั้นในที่หนาขึ้นจะหยุดการเจาะต่อไป เกราะจะเว้าแหว่งฉกรรจ์ แต่ก็ยังเป็นประโยชน์[3] หนึ่งในคำอธิบายที่บันทึกแรกของการใช้ชุดเกราะแบบอ่อนถูกค้นพบในยุคกลางของญี่ปุ่น ด้วยชุดเกราะที่ผลิตจากผ้าไหม[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เสื้อเกราะกันกระสุน http://www.hardshell.ae http://www.bodyarmornews.com http://www.engardebodyarmor.com/NIJ-body-armor-sta... http://www.tigerflare.com/component/content/articl... http://www.ncjrs.gov/pdffiles1/nij/189633.pdf http://www.ojp.gov/nij/pubs-sum/223054.htm https://www.argentina.gob.ar/node/35497 https://edition.cnn.com/2017/05/30/asia/thailand-u... https://thebulletproofdinosaur.wordpress.com/2016/... https://www.loc.gov/law/help/firearms-control/braz...