เส้นเฟราน์โฮเฟอร์

ในทางฟิสิกส์และทัศนศาสตร์ เส้นเฟราน์โฮเฟอร์ (อังกฤษ: Fraunhofer lines) เป็นชุดของเส้นสเปกตรัมซึ่งตั้งชื่อตามโยเซ็ฟ ฟ็อน เฟราน์โฮเฟอร์ (ค.ศ. 1787–1826) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เส้นดังกล่าวเดิมจะสังเกตเห็นเป็นแถบมืด (เส้นการดูดกลืน) ในคลื่นที่ตามองเห็นของดวงอาทิตย์ใน ค.ศ. 1802 วิลเลียม ไฮด์ วอลลัสตัน นักเคมีชาวอังกฤษ เป็นบุคคลแรกที่จดบันทึกรูปลักษณ์ของแถบมืดในสเปกตรัมดวงอาทิตย์ ใน ค.ศ. 1814 เฟราน์โฮเฟอร์ค้นพบเส้นดังกล่าวแยกต่างหาก และเริ่มต้นการศึกษาอย่างเป็นระบบ และการวัดความยาวคลื่นของแถบเหล่านี้อย่างระมัดระวัง ทั้งหมดแล้ว เขาได้ทำแผนที่เส้นดังกล่าวมากกว่า 570 เส้น และให้ชื่อลักษณะสำคัญด้วยตัวอักษร A ถึง K และเส้นที่อ่อนกว่าด้วยตัวอักษรอื่น[1] การสังเกตแสงอาทิตย์สมัยใหม่สามารถตรวจจับเส้นเหล่านี้ได้หลายพันเส้นอีกราว 45 ปีให้หลัง กุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟ และโรแบร์ท บุนเซิน สังเกตว่าเส้นเฟราน์โฮเฟอร์หลายเส้นเกิดขึ้นพร้อมกับเส้นเปล่งแสงอันมีลักษณะเฉพาะที่สามารถบ่งชี้ธาตุเคมีที่ได้รับความร้อนในสเปกตรัมได้[2] ทั้งสองได้รับข้อสรุปที่ถูกต้องว่าเส้นมืดในสเปกตรัมดวงอาทิตย์นั้นเกิดจากการดูดกลืนโดยธาตุเคมีในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์[3] ลักษณะอื่นบางลักษณะที่สามารถสังเกตเห็นได้ถูกระบุว่าเป็นเส้นฐานพิภพซึ่งเกิดจากการดูดกลืนโมเลกุลออกซิเจนของชั้นบรรยากาศของโลก

ใกล้เคียง

เส้นเวลาของศาสนาพุทธ เส้นเวลาสงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566 เส้นเวลาการระบาดทั่วของโควิด-19 เส้นเวลาของอนาคตไกล เส้นเวลาการสำรวจระบบสุริยะ เส้นเวลาของอนาคตอันใกล้ เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะ เส้นเวลาของบิกแบง เส้นเวลาของเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก เส้นเวลาของคณิตศาสตร์