เหตุโจมตี ของ เหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช

เหตุโจมตีได้เริ่มต้นขึ้นที่มัสยิดอันนูรในย่านริกคาร์ตัน และศูนย์อิสลามลินวุด เมื่อเวลา 13:40 น. ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562 ตามเวลาออมแสงกลางนิวซีแลนด์ (00:40 น. ตามเวลาสากลเชิงพิกัด)[6][7][8]

เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พบระเบิดติดรถของผู้ก่อเหตุจำนวนสองคัน[9] กองทัพนิวซีแลนด์ได้เข้าควบคุมสถานการณ์ไว้ได้[9][10][9]

มัสยิดอันนูร

มือปืนติดอาวุธหนักได้เดินทางมายังมัสยิดอันนูรในย่านริกคาร์ตัน เมื่อเวลาประมาณ 13:40 น.[11] มือปืนกราดยิงมัสยิดอันนูรได้ถ่ายทอดสดการโจมตีของตนเป็นเวลา 17 นาที ผ่านทางสื่อเฟซบุ๊กไลฟ์ เริ่มตั้งแต่ตอนที่ขับรถไปที่มัสยิดจนถึงขับหนีไป[12] โดยได้อธิบายตนเองว่าเป็นคนผิวขาวหัวรุนแรงชาวออสเตรเลีย อายุ 28 ปี[13][14] ในช่วงต้นของการถ่ายทอดสด มือปืนได้ขับรถของตนไปยังเป้าหมาย โดยในระหว่างทางได้เปิดเพลงภาษาเซอร์เบีย ซึ่งมีเนื้อหาสรรเสริญราดอวาน คาราจิช ผู้ที่ถูกตัดสินว่าเป็นผู้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมบอสเนีย[15][16] ในเหตุกราดยิงครั้งนี้ ผู้ก่อเหตุได้มีการอ้างถึงวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ต และมีมที่เกิดขึ้นบนโลกไซเบอร์ โดยได้กล่าวไว้ว่า "จำไว้นะหนู อย่าลืมที่จะไปกดติดตามพิวดีพาย" ระหว่างที่กำลังถ่ายทอดสดก่อนที่จะบุกเข้าไปก่อเหตุ ซึ่งเป็นการอ้างถึง การแข่งขันครองตำแหน่งผู้กดติดตามสูงสุดบนสื่อวิดีทัศน์อย่าง ยูทูบ ซึ่งเรียกกันว่า พิวดีพาย ปะทะ ที-ซีรีส์ [17] ก่อนเหตุการณ์กราดยิง มือปืนได้ถูกผู้ที่มาประกอบพิธีกรรมทักทายด้วยคำว่า "สวัสดี พี่ชาย" และคนนั้นก็ได้ถูกสังหารเป็นกลุ่มคนแรกเริ่ม[18][19]

ปืนที่ใช้ในการโจมตีของมือปืน ถูกสลักด้วยอักษรสีขาว โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับชื่อของบุคคลในอดีตที่สำคัญ รวมถึงชื่อคนสำคัญในสงครามครูเสด ซึ่งเป็นการสู้รบของชาวมุสลิมกับชาวคริสต์[13][20] มีการสันนิษฐานว่า อาจมีคนประมาณสามร้อยถึงห้าร้อยคนอยู่ในมัสยิดได้เข้าร่วมพิธีกรรมละหมาดประจำวันศุกร์ระหว่างที่โดยกราดยิง[21] ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับมัสยิดได้เล่าเหตุการณ์ต่อผู้สื่อข่าวว่า มือปืนได้รีบหนีออกจากมัสยิดแล้วขับรถ ระหว่างนั้นได้ทิ้งปืนที่ใช้ในการก่อเหตุลงระหว่างข้างทาง[22]

ศูนย์อิสลามลินวุด

เหตุกราดยิงที่สองเกิดขึ้นเวลาประมาณ 13:55 น.[23]ที่ศูนย์อิสลามลินวุด[24][25] รายงานในช่วงต้นเหตุการณ์ ได้รายงานว่า "มีการโจมตีเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน"[26] มีหนึ่งคนที่ถูกตั้งข้อหาว่าเป็น "ผู้วางแผน" ในการกราดยิงบริเวณที่เกิดเหตุ[27] มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 7 คนภายในมัสยิด ในนั้นมีผู้เสียชีวิตภายนอกทั้งหมด 3 คน[28]

ระเบิด

ตำรวจได้พบระเบิดแสวงเครื่องสองอันติดอยู่ที่รถ และถูกกู้โดยกองทัพนิวซีแลนด์ในเวลาต่อมา[29] ไม่มีวัตถุระเบิดถูกพบบนตัวมือปืน[30]

ใกล้เคียง

เหตุการณ์ 6 ตุลา เหตุการณ์ 14 ตุลา เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน–ไทรแอสซิก เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551 เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553 เหตุกราดยิงที่สยามพารากอน เหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 เหตุการณ์ทุจริตการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2544 เหตุการณ์โกก้าง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช http://web.archive.org/web/20190315142857/https://... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //www.worldcat.org/issn/0362-4331 //www.worldcat.org/issn/1170-0777 https://www.thenational.ae/world/oceania/two-rural... https://www.9news.com.au/2019/03/15/12/38/shooting... https://www.portstephensexaminer.com.au/story/5957... https://www.smh.com.au/politics/federal/scott-morr... https://www.smh.com.au/world/oceania/christchurch-... https://www.smh.com.au/world/oceania/christchurch-...