จุดเริ่มต้นเหตุการณ์ ของ เหตุการณ์สะพานมาร์โค_โปโล

ไฟล์:Chinese army.jpegกองทัพจีนคณะชาติขณะเคลื่อนกำลังป้องกันสะพาน

ประมาณปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2480 ญี่ปุ่นส่งทหารจำนวนหลายร้อยนายมาตั้งหน่วยประจำที่สะพานมาร์โคโปโลและทำการฝึกอยู่ที่นั่น ในขณะเดียวกันก็มีกองกำลังทหารจีนก๊กมินตั๋งที่ประจำอยู่ที่เมืองหว่านผิงใกล้ ๆ กัน คอยเฝ้าระวังดูอยู่อย่างใกล้ชิด ในเช้าตรู่วันที่ 7 กรกฎาคม กองกำลังญี่ปุ่นได้โทรเลขไปถึงกองกำลังก๊กมินตั๋งว่ามีทหารของตนหายไปและเชื่อว่าไปซ่อนอยู่ในเมืองหว่านผิงจึงขอเข้าไปค้นหา (ภายหลังได้พบตัวโดยไม่ได้รับอันตราย) มีข้อถกเถียงกันว่าเป็นเหตุบังเอิญหรือเป็นการสร้างเรื่องของฝ่ายญี่ปุ่นใช้อ้างเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นบุกเข้ายึดภาคกลางของประเทศจีน

ฝ่ายจีนปฏิเสธไม่ยอมให้กองกำลังญี่ปุ่นเข้าเมือง ในตอนเย็นวันนั้น ฝ่ายญี่ปุ่นจึงยื่นคำขาดให้ฝ่ายจีนยอมให้ฝ่ายตนบุกเข้าไปค้นคนในเมืองได้ภายใน 1 ชั่วโมง มิฉะนั้นจะยิงถล่มด้วยปืนใหญ่ ครั้นเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืน ญี่ปุ่นเริ่มยิงปืนใหญ่และเคลื่อนกองกำลังข้ามสะพานมาร์โคโปโลตรงไปจะเข้าเมือง ฝ่ายก๊กมินตั๋งจึงส่งทหารจำนวน 1,000 นาย เข้าป้องกันสะพานอย่างสุดความสามารถ แต่ญี่ปุ่นก็บุกข้ามไปได้ แต่หลังจากได้รับกำลังเสริมที่มีจำนวนมากกว่าฝ่ายญี่ปุ่น ฝ่ายจีนจึงสามารถยึดสะพานคืนได้สำเร็จในวันต่อมา ญี่ปุ่นด้วยจำนวนกองกำลังที่น้อยกว่าจึงขอเจรจา ทำให้เหตุการณ์ขั้นที่ 1 สงบลงได้ชั่วคราว แต่กองกำลังญี่ปุ่นยังคงตั้งประจำอยู่ที่เดิมไม่ยอมถอย

ใกล้เคียง

เหตุการณ์ 6 ตุลา เหตุการณ์ 14 ตุลา เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน–ไทรแอสซิก เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551 เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข พ.ศ. 2553 เหตุกราดยิงที่สยามพารากอน เหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 เหตุการณ์ทุจริตการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2544 เหตุการณ์โกก้าง