เหตุจลาจลในเดือนมิถุนายน ของ เหตุจลาจลในรัฐยะไข่_พ.ศ._2555

ในเดือนนี้มีการโจมตีของชาวพุทธยะไข่และชาวมุสลิมโรฮีนจาหลายครั้งดังนี้[21]

8 มิถุนายน การโจมตีเริ่มต้น

มีการประท้วงของชาวโรฮีนจากลุ่มใหญ่ เผาบ้านและทำลายโทรศัพท์[22] ในตอนเย็นเจ้าหน้าที่ไปป้องกันบ้านไว้ได้ 14 หลัง และยิงปืนเตือนเข้าไปในกลุ่มชน ในวันรุ่งขึ้น รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึกในหม่องเด่า ห้ามมิให้รวมกลุ่มกันเกินกว่า 5 คนในที่สาธารณะ และมีผู้เสียชีวิตในวันนี้ 5 คน[23]

9 มิถุนายน ความรุนแรงขยายตัว

ตอนเช้าของวันที่ 9 มิถุนายน รัฐบาลส่งกองกำลังติดอาวุธเข้าไปเพิ่มเติม และสร้างค่ายผู้ลี้ภัยให้ผู้ที่บ้านเรือนถูกเผา แม้ว่าจะเพิ่มการรักษาความปลอดภัยแต่ความขัดแย้งได้ขยายวงกว้างออกไป มีความพยายามก่อเหตุร้ายในหม่องเด่าแต่ระงับเหตุไว้ได้ เกิดความรุนแรงขึ้นอีก มีผู้เสียชีวิต 7 คน ร้านค้า 17 แห่งและบ้านมากกว่า 494 หลังถูกเผาในวันนี้[24]

10 มิถุนายน การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

ในวันที่ 10 มิถุนายน มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วยะไข่[25] เพื่อตอบสนองต่อความวุ่นวายและการก่อการร้าย ในวันนี้เอง ชาวโรฮีนจาได้กล่าวว่ามีเด็กหญิงอายุ 12 ปี ออกไปที่ร้านค้าและถูกตำรวจยิงเสียชีวิต ชาวยะไข่ได้เผาบ้านเรือนของชาวโรฮีนจาในหมู่บ้านโบห์มู[26] ประชาชนมากกว่า 5,000 คนต้องไปอยู่ที่ค่ายอพยพ[27] และมีผู้อพยพจำนวนมากลี้ภัยไปยังซิตตเว

12 – 14 มิถุนายน

ในวันที่ 12 มิถุนายน มีการสร้างค่ายผู้อพยพที่ซิตตเว[28] ส่วนรัฐบาลบังกลาเทศออกมาปฏิเสธการรับผู้ลี้ภัยและได้ส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับมายังพม่า[29]

15 – 28 มิถุนายน

ในวันที่ 28 มิถุนายน มีการประกาศว่ามีผู้เสียชีวิต 80 คน ไร้ที่อยู่อาศัย 90,000 คน[30] ชาวโรฮีนจาหลายร้อยคนพยายามข้ามพรมแดนไปบังกลาเทศ แต่ส่วนใหญ่ถูกผลักดันกลับมา ตุน คิน ประธานองค์กรโรฮีนจาพม่าแห่งอังกฤษได้กล่าวว่ามีชาวโรฮีนจาเสียชีวิต 650 คน สูญหาย 1,200 คน ไร้ที่อยู่อาศัย 80,000 คน ชาวโรฮีนจาที่ข้ามพรมแดนไปบังกลาเทศให้สัมภาษณ์ว่าทหารและตำรวจพม่ายิงปืนเข้าไปในกลุ่มชาวบ้าน พวกเขาหวาดกลัวในการกลับไปพม่า แม้ว่าบังกลาเทศจะพยายามผลักดันให้กลับไป

รัฐบาลพม่าได้จับกุมผู้ทำงานให้กับ UNHCR 10 คน[31] และกล่าวหาว่ามี 3 คนที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง สหประชาชาติได้เรียกร้องให้พม่าปล่อยตัวเจ้าหน้าที่เหล่านี้ พม่าปฏิเสธและเสนอให้สหประชาชาตินำชาวโรฮีนจา 1 ล้านคนไปอยู่ในค่ายผู้อพยพในบังกลาเทศหรือประเทศอื่น

ใกล้เคียง

เหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555 เหตุจลาจลในพนมเปญ พ.ศ. 2546 เหตุจลาจลในประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2554 เหตุจลาจลสโตนวอลล์ เหตุจลาจลต่อต้านมุสลิมในพม่า พ.ศ. 2556 เหตุจลาจลในเดลี พ.ศ. 2563 เหตุจลาจลในไอร์แลนด์เหนือ พ.ศ. 2564 เหตุจลาจลที่เรือนจำอาโปดากา เหตุจลาจลย่างกุ้ง พ.ศ. 2473 เหตุจลาจลในประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2561

แหล่งที่มา

WikiPedia: เหตุจลาจลในรัฐยะไข่_พ.ศ._2555 http://www.chinadaily.com.cn/cndy/2012-06/13/conte... http://www.chinadaily.com.cn/xinhua/2012-06-09/con... http://www.aljazeera.com/news/asia-pacific/2013/04... http://asiancorrespondent.com/104352/8-dead-as-bur... http://news.asiaone.com/News/AsiaOne+News/Asia/Sto... http://elevenmyanmar.com/national/crime/241-30-arr... http://www.google.com/hostednews/ap/article/ALeqM5... http://latimesblogs.latimes.com/world_now/2012/10/... http://www.myanmarnewshub.com/?p=24780 http://www.ndtv.com/article/world/muslim-buddhist-...