เหตุทางเดินเท้าถล่มในไฮแอทรีเจนซี่
เหตุทางเดินเท้าถล่มในไฮแอทรีเจนซี่

เหตุทางเดินเท้าถล่มในไฮแอทรีเจนซี่

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 1981 โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ในเมืองแคนซัสซิที รัฐมิสซูรี เกิดการถล่มของโครงสร้างของทางเดินเท้าชั้นลอยสองอัน ขณะเกิดเหตุมีผู้เดินทางไปปาร์ตี้อยู่เต็มทางเดิน ส่งผลให้แพลทฟอร์มซึ่งเป็นคอนกรีตและแก้วพังทลายลงมา ถล่มลงทับบริเวณทีดานซ์หนึ่งในล็อบบี เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 114 ราย และบาดเจ็บ 216 คน แคนซัสซิทีต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์นี้ผ่านเงินประกันหลักพันล้าน, การตรวจสอบทางกฎหมาย, การปกิรูปรัฐบาลท้องถิ่นโรงแรมไฮแอทสร้างขึ้นในระหว่างแพทเทิร์นการก่อสร้างขนาดใหญ่แบบฟาสท์แทร็ก เพดานของโรงแรมถล่มลงมาบางส่วนขณะก่อสร้าง และทางเดินเท้าชั้นลอยซึ่งออกแบบอย่างไม่ได้มาตรฐานค่อย ๆ เสื่อมภายใต้วังวนของการขาดการสื่อสารระหว่างองค์กรและความไร้ความรับผิดชอบ การตรวจสอบพบว่าทางเดินนี้จะพังลงมาแม้แต่มีน้ำหนักอยู่บนนั้นน้อยกว่าหนึ่งในสามของน้ำหนักที่ทางเดินเท้ารับในคืนที่เกิดเหตุ บริษัทวิศวกรรมผู้สร้างทางเดินเท้าถูกริบใบอนุญาตวิศวรกรรมทั้งหมดในสี่รัฐ และถูกดำเนินคดีอาชญากรรม ท้ายที่สุด วิศวกรเจ้าของบริษัท แจ็ก ดี. กิลลัม (Jack D. Gillum) เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมดของเหตุการณ์ภัยพิบัตินี้เป็นส่วนหนึ่งที่ให้เกิดการปฏิรูปในจริยธรรมและความปลอดภัยทางวิศวกรรม รวมถึงการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน เหตุการณ์นี้เป็นการล้มเหลวทางโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างที่ความผิดพลาดทางโครงสร้างไม่เป็นที่ประจักษ์ที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดในสหรัฐจนถึงปัจจุบัน และเป็นการถล่มทางโครงสร้างที่มีผู้เสียชีวิตสูงที่สุดในสหรัฐในเวลานั้น[2]:4 จนกระทั่งการถล่มของอาคารเวิลด์เทรดเซนเตอร์ในอีก 20 ปีถัดมา

เหตุทางเดินเท้าถล่มในไฮแอทรีเจนซี่

พิกัด 39°05′06″N 94°34′48″W / 39.085°N 94.580°W / 39.085; -94.580พิกัดภูมิศาสตร์: 39°05′06″N 94°34′48″W / 39.085°N 94.580°W / 39.085; -94.580
เวลา 19:05 CDT (UTC−5)
สถานที่ แคนซัสซิที รัฐมิสซูรี สหรัฐ
บาดเจ็บไม่ถึงตาย 216
สาเหตุ โครงสร้างรับน้ำหนักเกินจากความผิดพลาดในการออกแบบ[1]:iii
วันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 (1981-07-17)
เสียชีวิต 114

ใกล้เคียง

เหตุที่น่าสงสัย เหตุทางเดินเท้าถล่มในไฮแอทรีเจนซี่ เหตุการณ์ 6 ตุลา เหตุการณ์ 14 ตุลา เหตุผลวิบัติ เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 เหตุกราดยิงที่สยามพารากอน เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน–ไทรแอสซิก เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551 เหตุผลวิบัติของนักการพนัน