สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ของ เหตุรถไฟตกรางในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์_พ.ศ._2552

วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 11.30 น. นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย แถลงสถานการณ์หลังเกิดเหตุรถไฟตกรางบริเวณสถานีเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ว่าสาเหตุที่ทำให้รถไฟตกราง เบื้องต้นคาดว่าอาจเกิดจากพนักงานขับรถไฟหลับใน เพราะมีหลักฐานว่า พนักงานขับรถไฟซึ่งจะต้องแวะจอดเพื่อรอรับเอกสารใบสับหลีกขบวนรถที่บริเวณ สถานีวังก์พง แต่ปรากฏว่าขบวนรถคันดังกล่าวได้ขับขบวนรถฝ่าไฟแดงตรงไปยังสถานีเขาเต่า ซึ่งมีขบวนรถสินค้าขาล่องจอดรอสับหลีก แต่เมื่อได้รับการติดต่อว่าขบวนรถดังกล่าววิ่งฝ่ามาด้วยความเร็วสูงถึง 105 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พนักงานที่สถานีเขาเต่าจึงได้สับหลีกรางเพื่อไม่ให้ขบวนรถไปชนกับขบวนรถสินค้าที่จอดอยู่ ทำให้รถไฟเกิดตกราง[3]

ต่อมา ทางสหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศได้มีแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เชื่อว่าสาเหตุของอุบัติเหตุในครั้งนี้ไม่น่าจะเกิดมาจากพนักงานขับรถไฟ แต่น่าจะเกิดขึ้นมาจากมติของคณะรัฐมนตรีที่ปรับพนักงานออก ทำให้เหลือพนักงานทำงานไม่มาก และต้องทำงานหนักจนไม่มีเวลาได้พักผ่อน[ต้องการอ้างอิง] บ้างก็ว่าความเสื่อมของอุปกรณ์[4]

ใกล้เคียง

เหตุระเบิดในเบรุต พ.ศ. 2563 เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 เหตุระเบิดที่แมนเชสเตอร์อะรีนา พ.ศ. 2560 เหตุระเบิดในเทียนจิน พ.ศ. 2558 เหตุระเบิดในบอสตันมาราธอน พ.ศ. 2556 เหตุระเบิดในลอนดอน 7 กรกฎาคม 2548 เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2562 เหตุระเบิดที่ภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2555 เหตุระเบิดในโรงพยาบาลอัลอะฮ์ลีอัลอะเราะบี