เหตุโจมตีด้วยแอนแทรกซ์_พ.ศ._2544

เหตุโจมตีด้วยแอนแทรกซ์ พ.ศ. 2544 ในสหรัฐอเมริกา หรือรู้จักกันในชื่อ อเมริแทรกซ์ (Amerithrax) จากชื่อคดีของสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FBI) เกิดขึ้นช่วงหลายสัปดาห์เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2544 หนึ่งสัปดาห์หลังเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544จดหมายบรรจุสปอร์แอนแทรกซ์ ถูกส่งไปยังสำนักข่าวหลายสำนัก และสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐพรรคเดโมแครตสองคน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน และอีก 17 คนได้รับเชื้อ ตามข้อมูลของ FBI การสอบสวนติดตามหาตัวผู้กระทำความผิดนั้นกลายมาเป็น "หนึ่งในการสอบสวนครั้งใหญ่ที่สุดและซับซ้อนที่สุดในประวัติศาสตร์การบังคับใช้กฎหมาย"[1]ประเด็นหลักในช่วงปีแรกของการสอบสวนคือ ผู้เชี่ยวชาญอาวุธชีวภาพชื่อ สตีเฟน แฮทฟิลล์ (Steven Hatfill) ซึ่งสุดท้ายแล้วพ้นจากข้อกล่าวหา ผู้ต้องสงสัยอีกคนหนึ่ง บรูซ เอ็ดเวิร์ดส อีวินส์ (Bruce Edwards Ivins) กลายมาเป็นจุดสนใจของการสอบสวนตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2548 อีวินส์เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ทำงานที่ห้องปฏิบัติการป้องกันด้านชีวภาพ (biodefense) ของรัฐบาลที่ฟอร์ตเดทริก (Fort Detrick) ในเฟรเดอริก รัฐแมริแลนด์ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2550 อีวินส์ถูกกักให้อยู่ใต้การเฝ้าตรวจเป็นบางครั้ง และเอกสาร FBI ระบุว่า "บรูซ เอ็ดเวิร์ดส อีวินส์เป็นผู้ต้องสงสัยที่อ่อนไหวอย่างยิ่งในเหตุการโจมตีด้วยแอนแทรกซ์ พ.ศ. 2544"[2] วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 อีวินส์ฆ่าตัวตายด้วยการทานพาราเซตามอลเกินขนาด[3]วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551 แม้จะไม่มีหลักฐานโดยตรงยืนยันการมีส่วนเกี่ยวข้องของอีวินส์[4] อัยการของรัฐประกาศให้เขาเป็นผู้กระทำผิดเพียงคนเดียวในอาชญากรรมนี้[5] สองวันให้หลัง สมาชิกวุฒิสภา ชาร์ลส แกรสลีย์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัช โฮลท์ เรียกร้องให้มีการไต่สวนกระทรวงยุติธรรมและการรับมือกับการสอบสวนของ FBI[6][7] วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 FBI ปิดการสอบสวนอย่างเป็นทางการ[8]บทวิจารณ์วิธีทางวิทยาศาสตร์ซึ่งใช้ในการสอบสวนที่สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ[9] ซึ่งตีพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ตั้งข้อสงสัยในการสรุปของรัฐบาลสหรัฐว่าอีวินส์เป็นผู้ก่อการ บทวิจารณ์พบว่า แม้ชนิดของแอนแทรกซ์ซึ่งใช้ในจดหมายจะระบุถูกต้องว่าเป็นแบคทีเรียสายพันธุ์เอมส์ (Ames strain) แต่ไม่พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพียงพอสำหรับการยืนยันของ FBI ที่ว่ามันมีแหล่งกำเนิดจากห้องปฏิบัติการของอีวินส์ FBI โต้โดยชี้ว่าผู้จัดทำบทวิจารณ์ยืนยันว่า ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุข้อสรุปแน่ชัดตามหลักวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว และว่า ปัจจัยหลายอย่างประกอบกันทำให้ FBI สรุปว่าอีวินส์เป็นผู้ก่อการ[10] บางข้อมูลเกี่ยวกับคดีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางจิตของอีวินส์ยังคง "ถูกผนึก"[11][12] รัฐบาลสหรัฐยุติคดีความที่ยื่นฟ้องโดยภรรยาม่ายของเหยื่อ บ็อบ สตีเฟนส์ โดยจ่ายค่าชดเชย 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไม่มีการรับผิด ตามแถลงการณ์ในข้อตกลง การยุติคดีมีวัตถุประสงค์เพื่อ "หลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงของการฟ้องร้องต่อไป"[13]

ใกล้เคียง

เหตุโจมตีในนอร์เวย์ พ.ศ. 2554 เหตุโจรกรรมร้านทองในจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2563 เหตุโจมตีในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2566 เหตุโจมตีทางอากาศใส่โรงพยาบาลในมารีอูปอล เหตุโจมตีคณะผู้แทนทางทูต พ.ศ. 2555 เหตุโจมตีทางอากาศใส่โรงละครในมารีอูปอล เหตุโจมตีสถานีรถไฟกรามาตอสก์ เหตุโจมตีโครคุสซีตีฮอลล์ เหตุโจมตีในปารีส เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เหตุโจมตีโดยอิหร่านในประเทศอิสราเอล พ.ศ. 2567

แหล่งที่มา

WikiPedia: เหตุโจมตีด้วยแอนแทรกซ์_พ.ศ._2544 http://www.cnn.com/2008/CRIME/08/06/anthrax.case/i... http://www.google.com/hostednews/afp/article/ALeqM... http://www.latimes.com/bal-te.anthrax03aug03,0,397... http://www.latimes.com/news/nationworld/world/midd... http://leonardcole.com http://www.nytimes.com/2010/02/20/us/20anthrax.htm... http://www.nytimes.com/2011/02/16/us/16anthrax.htm... http://www.salon.com/news/opinion/glenn_greenwald/... http://foia.fbi.gov/amerithrax/847444.PDF http://www.fbi.gov/anthrax/amerithraxlinks.htm