เหรียญพิทักษ์เสรีชน
เหรียญพิทักษ์เสรีชน

เหรียญพิทักษ์เสรีชน

เหรียญพิทักษ์เสรีชน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 9 ใช้อักษรย่อว่า ส.ช. สร้างขึ้นตามพระราชบัญญัติเหรียญพิทักษ์เสรีชน พ.ศ. 2512 สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ด้วยความกล้าหาญ หรือได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือตายในการสู้รบ โดยที่การสู้รบนั้นได้ก่อให้เกิดผลดีอย่างยิ่งแก่การปราบปราม การพระราชทานกรรมสิทธิ์ และ การเรียกคืน เช่นเดียวกับเหรียญกล้าหาญ เหรียญนี้ทำด้วยทองแดงรมดำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 23 มิลลิเมตร ย่อกลางทั้งสี่ด้าน มุมบนห้อยกับแพรแถบ ด้านหน้าเหรียญตรงกลางมีรูปจักร ซ้ายขวามีรูปปีกนกพับอยู่บนพระแสงดาบ เขนและโล่ห์ ตอนบนเป็นรูปครุฑพ่าห์ ด้านหลังมีอักษร จารึกว่า อสาธุ สาธุนา ชิเน แพรแถบกว้าง 34 มิลลิเมตร ลายริ้วจากบนลงล่างเป็นสีแดงขาวสลับกัน ขอบทั้งสองข้างมีริ้วแดง รวม 17 ริ้ว ข้างบนมีเข็มโลหะ จารึกอักษรว่า พิทักษ์เสรีชน มีเครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทอง เป็นรูปช่อชัยพฤกษ์ช่อเดียวติดกลางแพรแถบ ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้ายเหรียญนี้ไม่มีประกาศนียบัตร ผู้ได้รับจะประกาศนามในราชกิจจานุเบกษา

เหรียญพิทักษ์เสรีชน

ประเภท เหรียญราชอิสริยาภรณ์ (เหรียญบำเหน็จกล้าหาญ)
อักษรย่อ ส.ช.
ประเทศ ประเทศไทย
สูงกว่า เหรียญชัยสมรภูมิ
มอบเพื่อ ผู้ที่กระทำการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ผู้ที่ทางราชการมีคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ การป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และการปฏิบัติการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติในต่างประเทศหรือปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ อันเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของประเทศ
วันสถาปนา พ.ศ. 2512
ผู้สถาปนา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
รองมา เหรียญราชนิยม
รายแรก สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ [1]
จำนวนสำรับ ไม่จำกัดจำนวน
ประธาน พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
ผู้สมควรได้รับ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และราษฎร

ใกล้เคียง

เหรียญรัตนาภรณ์ เหรียญ 10 บาท เหรียญ 5 บาท เหรียญกล้าหาญ เหรียญ 2 บาท เหรียญพิทักษ์เสรีชน เหรียญชัยสมรภูมิ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสกุลเงินบาท (พ.ศ. 2504-2529) เหรียญ 1 บาท เหรียญดุษฎีมาลา