การตั้งชื่อ ของ เอกสารจิ่งเจี้ยว

ไม่มีข้อตกลงแน่ชัดถึงชื่อของชุดเอกสารเหล่านี้ในภาพรวม นักวิชาการชาวญี่ปุ่น โยชิโร ซาเอกิ (P. Y. Saeki) บรรยายโดยเรียกเอกสารชุดนี้ว่า "เอกสารเนสเตอร์" (Nestorian Documents)[2] ชื่อนี้ยังคงใช้อยู่เรื่อยมา[3] ส่วนนัดวิชาการยุคหลัง ๆ หันมาใช้ชื่อภาษาจีนซึ่งคือ "เอกสารจิ่งเจี้ยว" (Jingjiao Documents)[4]

นักจีนศึกษา มาร์ติน พาล์เมอร์ ได้พยายามจะบรรยายถึงเอกสารเหล่านี้รวมกันว่าเป็น พระสูตร เพื่อเชื่อมต่อเอกสารเข้ากับศาสนาพุทธอันเนื่องมาจากแนวโน้มของเนื้อหาและภาษาในเอกสารซึ่งโน้มเอียงไปทางการใช้คำศัพท์ในพุทธศาสนา และบางส่วนเนื่องมาจากชื่อจีน "จิ่งเจี้ยว" นั้นประกอบด้วยอักษรคำว่า จิ่ง () ซึ่งมักจะแปลตรงกับแนวคิดเรื่องพระสูตรในภาษาจีน ส่วนพาล์เมอร์อธิบายว่าอักษรนี้แท้จริงแปลว่า "วรรณกรรมศักดิ์สิทธิ์"[5] และยังใช้เรียกคัมภีร์คลาสสิก เช่น Four Books and Five Classics (四書五經) ในลัทธิขงจื่อ หรือแม้นแต่ในชื่อปัจจุบันของพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาจีน ซึ่งคือ Shengjing (聖經)[6]

ใกล้เคียง

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร เอกสารปานามา เอกสารตัวเขียนอัลกุรอานเบอร์มิงแฮม เอกสารตำรวจซินเจียง เอกสาร เอกสารขอความเห็น เอกสารจิ่งเจี้ยว เอกสารเว็บ เอกสารแพนดอรา เอกสารข้อมูลความปลอดภัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอกสารจิ่งเจี้ยว https://books.google.com/books?id=lgS-j2m_0TEC&pg=... https://books.google.com/books?id=dfdL90U_z0IC https://books.google.com/books?id=kLKKQgAACAAJ https://books.google.com/books?id=ck0KAQAAMAAJ https://archive.org/details/jesussutrasredis00palm https://www.chinasource.org/resource-library/artic... https://web.archive.org/web/20070927043033/http://... https://web.archive.org/web/20070927043115/http://... https://web.archive.org/web/20110115214326/http://... http://www.eurasianhistory.com/data/articles/b01/1...