ล้กษณะของอาการ ของ เอนเทอโรไวรัส

(1) nonspecific febrile illness ซึ่งเป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด และ น่ากังวลที่สุด เนื่องจากเมื่อเกิดใน เด็กทารก จะมี ไข้สูง และ ดูป่วยหนัก ทำให้ต้องตรวจเลือด และ การตรวจอื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่ bacterial sepsis

(2) อาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคหวัด คอหอยอักเสบ แผลร้อนใน หลอดลมฝอยอักเสบ ปอดบวม และ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าออก

(3) อาการทางผิวหนัง ได้แก่ โรคมือ เท้า และปาก ซึ่งเกิดจาก EV-71[6] โรคของเล็บ ที่ทำให้เล็บหลุดบ่อยๆ (periodic shedding of nails) และ ไข้ออกผื่นแบบต่างๆ (nonspecific exanthems)

(4) อาการทางสมอง ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส สมองอักเสบ) และ อัมพาตของแขนขา

(4.1) มีรายงานชายไทย อายุ 16 ปี อาศัยที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว มีอาการ ไข้สมองอักเสบ เข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม เบื้องต้นมีไข้ อาเจียน ไม่มีตุ่มผื่น แต่มี ปอดบวมน้ำ และ ไข้สมองอักเสบ ซึ่งตรวจพบว่ามาจากเชื้อ EV-71

(4.2) การที่ผู้ป่วยข้างต้นมีอาการทางสมองร่วมกับอาการทางปอด ซึ่งเป็น complication ของโรคที่เรียกว่า neurorespiratory syndrome ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก ได้ระบุไว้ใน guideline ว่าให้เฝ้าระวังอาการดังกล่าวด้วย

(5) อาการของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง ตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ

(6) อาการของระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ อัณฑะอักเสบ

(7) อาการที่ตา ได้แก่ การอักเสบของเยื่อตาและมีเลือดออกใต้เยื่อตาอย่างฉับพลัน และ ผนังลูกตาชั้นกลางอักเสบ

(8) อาการที่หัวใจ ได้แก่ เยื่อหุ้มหัวใจ และ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

(8.1) อาการนี้เป็นอาการที่พบในเด็กวัย 2 ขวบ 8 เดือน ที่กำลังเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ โดยเข้ารับการรักษายังโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี และ เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ ๑๖ กค. และ เป็นการเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว กระทรวงสาธารณสุขได้ยืนยันว่ามีการติดเชื้อ enterovirus จริง คือ EV-71 (genotype B5) เด็กรายนี้มีโรคประจำตัวคือ โรคหอบหืด อาการของ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดขึ้นโดยไม่มีอาการของไข้ รวมทั้งไม่มีผื่น และ แผลในช่องปาก แรกๆ มีอาการ ไอ หายใจลำบาก ซึม ต่อมามีความดันเลือดสูง เหนื่อยหอบ การหายใจล้มเหลวต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเม็ดเลือดขาว มีปริมาณสูง หัวใจเต้นเร็ว ตรวจเอนไซม์พบว่ากล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไม่พบเชื้อในอุจจาระและน้ำไขสันหลัง ต่อมาได้เก็บตัวอย่างเชื้อจากคอและตรวจด้วยวิธี PCR จึงพบเชื้อ (หมายเหตุ ข้อความส่วนนี้เขียนเพิ่มเติมขึ้นในวันที่ 25 กค. 2555)

(9) อาการที่กล้ามเนื้อ ได้แก่ กล้ามเนื้ออักเสบ

(10) ในเด็กแรกเกิด โดยเฉพาะที่ไม่ได้รับภูมิคุ้มกันจากมารดา มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการของโรคที่รุนแรง ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นพิษ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน , ตับอักเสบ, การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และ ปอดบวม

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอนเทอโรไวรัส http://jnnp.bmj.com/cgi/content/full/75/suppl_1/i1... http://www.informaworld.com/openurl?genre=article&... http://emedicine.medscape.com/article/217146-treat... http://www.picornaviridae.com/enterovirus/enterovi... http://www.journals.uchicago.edu/cgi-bin/resolve?J... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12355368 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14978146 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15385252 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/9971773 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC104435