ประวัติ ของ เอลลิแฟนท์เนเจอร์ปาร์ค

แสงเดือน ชัยเลิศ เริ่มทำงานอนุรักษ์ช้างใน พ.ศ. 2539[3] ไม้สักซึ่งใช้ช้างจำนวนมากถูกห้ามในประเทศไทยใน พ.ศ. 2532 และช้างเหล่านั้นถูกทิ้งหรือขายเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหรือขอทานในเมือง[4] รวมถึงช้างยังได้รับบาดเจ็บหลังจากลักลอบนำงาช้างไป[5]

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 รัฐบาลไทยได้ดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดเชียงใหม่ การท่องเที่ยวสร้างรายได้ 350 ล้านดอลลาร์ใน พ.ศ. 2540 และเป็นแหล่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด โดยแผนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นที่ถกเถียงกับชนเผ่าพื้นเมืองที่นั่น[6]

ใน พ.ศ. 2541 องค์การที่เรียกว่ากรีทัวร์ที่ดำเนินการโดยอดัม ฟลิน ได้ก่อตั้งเอลลิแฟนท์เนเจอร์ปาร์ค ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและสงวนพันธุ์ช้าง ที่ได้รับการช่วยเหลือในหุบเขาทางเหนือที่เดินทางจากเทศบาลนครเชียงใหม่ประมาณหนึ่งชั่วโมง[6] โดยมีแสงเดือน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินบางส่วนและเช่าบางส่วนจากรัฐบาลไทย[7] ในขณะนั้น สวนธรรมชาติดังกล่าวได้มีการแสดงช้างทุกวัน โดยช้างจะแสดงการเล่นตลกต่าง ๆ เช่น ทรงตัวบนขาข้างหนึ่ง, เล่นฟุตบอล และรวมถึงการให้ขี่ช้าง[4] เธอได้สานต่อส่วนที่แยกจากกันต่อไปบนหนึ่งในภูเขาที่อยู่รายรอบสำหรับสัตว์ที่ได้รับความเสียหายโดยเฉพาะ ซึ่งเธอเรียกว่า "สวรรค์ของช้าง"[4] สวนธรรมชาตินี้มีช้างที่ได้รับการช่วยเหลือ 34 เชือก[4] เป้าหมายของเธอคือการยุติการแสดงในท้ายที่สุด และดำเนินการเพื่อสงวนพันธุ์เท่านั้น[4]

เมื่อ พ.ศ. 2545 แสงเดือนเป็นที่รู้จักในด้านการรณรงค์ต่อต้านการทำให้ช้างสยบ[8] และในช่วงนั้น ได้มีการเผยแพร่สารคดีเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อช้างในประเทศไทยที่มีผลงานของแสงเดือน ซึ่งในการตอบสนอง องค์การพิทักษ์สัตว์ได้เรียกร้องให้คว่ำบาตรประเทศไทยจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข[9]

ใน พ.ศ. 2548 การรณรงค์คว่ำบาตรได้ทำให้แสงเดือนอึดอัดต่อรัฐบาลไทย และนำไปสู่การขู่ฆ่า รวมถึงมูลนิธิเพื่อนช้าง ซึ่งเป็นองค์การที่ได้รับทุนจากรัฐบาลซึ่งทำงานเพื่อปรับปรุงสภาพของช้าง ต้องยุติการจัดหาเงินทุนสำหรับงานของแสงเดือน[9] แสงเดือนได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน "ฮีโรของเอเชีย" ในนิตยสารไทม์ฉบับเอเชีย ฉบับพิเศษหลังเกิดสึนามิ พ.ศ. 2548[10] ภายใน พ.ศ. 2548 ช้าง 17 เชือกที่แสงเดือนช่วยชีวิตนั้นโตแล้ว และเธอยังได้เปิดองค์การท่องเที่ยวในเชียงใหม่[7] ถึงเวลานี้ สวนธรรมชาติดังกล่าวจะไม่เปิดการแสดงอีกต่อไป และได้เปลี่ยนไปใช้รูปแบบธุรกิจที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาช่วยดูแลช้างได้[9]

ใน พ.ศ. 2553 สวนธรรมชาตินี้มีช้าง 33 เชือก และผู้เยี่ยมชมสามารถมาได้ถึง 28 วัน โดยจ่ายเงิน 400 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์[11]

ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2556 เอราวัณ เอลลิเฟนท์ รีไทร์เม้นท์ ปาร์ค ได้เปิดทางทิศตะวันตกของประเทศไทยบนเนื้อที่ 50 เฮกตาร์ข้างแม่น้ำแคว ซึ่งใช้เวลาเดินทางจากเมืองกาญจนบุรี 1 ชั่วโมง โดยเป็นส่วนขยายของสวนธรรมชาติเดิมและใช้รูปแบบธุรกิจเดียวกัน สถานที่ดังกล่าวเปิดตัวด้วยช้างห้าเชือก ทว่าหนึ่งในนั้นได้เสียชีวิตในปีแรก[12] ส่วนใน พ.ศ. 2557 มีช้าง 37 เชือกที่เอลลิแฟนท์เนเจอร์ปาร์ค[12]

ณ พ.ศ. 2559 แสงเดือนได้ช่วยชีวิตช้างที่ทุกข์ทรมานรวมแล้ว 200 เชือก นับตั้งแต่เธอเริ่มใน พ.ศ. 2539[3] และมีปางช้างสาขาในจังหวัดสุรินทร์รวมถึงในกัมพูชา ตลอดจนมีแผนจะเปิดสวนธรรมชาติแห่งที่ห้าในจังหวัดภูเก็ต[13] ซึ่งความพยายามนี้ได้รับการประสานงานโดยมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริหารงานโดยคนกลุ่มเดียวกัน[14]

ใกล้เคียง

เอลลิแฟนท์เนเจอร์ปาร์ค เอลลิส ไอร์วิง เอลลิปซิส เอล-ลิชต์ เอลวิส เพรสลีย์ เอลนีโญ เอลิส เอลิซาเบธ เดบิคกี เอลวิส (ภาพยนตร์ ค.ศ. 2022) เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอลลิแฟนท์เนเจอร์ปาร์ค http://www.heraldsun.com.au/travel/volunteer-at-th... http://thai-di-ary.blogspot.com/2013/01/day-nine-e... http://www.cbsnews.com/news/meet-sangduen-lek-chai... http://jenniferhile.com/documentaries/vanishing-gi... http://news.nationalgeographic.com/news/2002/10/10... http://news.nationalgeographic.com/news/2002/10/10... http://ngm.nationalgeographic.com/ngm/0510/feature... http://www.theoaklandpress.com/article/op/20131111... http://time.com/2965190/burma-myanmar-thailand-ele... http://www.time.com/time/asia/2005/heroes/sangduen...