งานวิชาการ ของ เออิจิ_เนงิชิ

(จากซ้าย) ซูซูกิ เนงิชิ และเฮ็ก

หลังจบปริญญาเอก เนงิชิตั้งใจจะกลับมาเป็นนักวิจัยในสถาบันการศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ไม่มีตำแหน่งงานว่าง[7][8] จึงยังคงทำงานต่อที่เทจินจนถึง พ.ศ. 2509 ก่อนจะลาออกไปทำงานวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเพอร์ดูกับเฮอร์เบิร์ต ชาลส์ บราวน์ (เช่นเดียวกับอากิระ ซูซูกิที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีเดียวกัน บราวน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีเช่นกันใน พ.ศ. 2522) เขาสอนหนังสือที่เพอร์ดูระหว่าง พ.ศ. 2511 และ 2515[9] ก่อนจะย้ายไปเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยซีราคิวส์และเลื่อนชั้นขึ้นเป็นรองศาสตราจารย์ใน พ.ศ. 2522 และกลับไปเป็นศาสตราจารย์ที่เพอร์ดูในปีเดียวกัน[9]

เขาค้นพบปฏิกิริยาควบแน่นเนงิชิซึ่งควบแน่นสารประกอบอินทรีย์ของสังกะสีและสารประกอบเฮไลด์อินทรีย์โดยใช้แพลเลเดียมหรือนิกเกิลเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อสร้างพันธะคาร์บอน–คาร์บอน ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน พ.ศ. 2553[10] นอกจากนี้ เขายังค้นพบด้วยว่าสารประกอบอินทรีย์ของอลูมิเนียมและเซอร์โคเนียมก็ใช้ในปฏิกิริยาควบแน่นแบบไขว้ได้เช่นกัน เนงิชิเลือกที่จะไม่จดสิทธิบัตรปฏิกิริยาของเขาเช่นเดียวกับอากิระ ซูซูกิ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้ทุกคนมีสิทธิใช้ปฏิกิริยานี้สังเคราะห์สารประกอบได้[11]สารประกอบ Zr(C5H5)2 ซึ่งเตรียมจากการรีดิวซ์เซอร์โคโนซีนไดคลอไรด์ยังมีชื่อเรียกว่า เนงิชิรีเอเจนต์ และใช้ในการสังเคราะห์เบนซีนที่มีหมู่แทนที่หลายหมู่ เซอร์โคโนซีนไดคลอไรด์เป็นสารประกอบในกลุ่มเมทัลโลซีน (Metallocene) เช่นเดียวกับเฟอร์โรซีน

ใกล้เคียง

เออิจิโร โอดะ เออิจิ เนงิชิ เออิจิ โมริยามะ เออิจิ อากาโซะ เออิจิ อาโอนูมะ เคอิจิ นัมบะ เคอิจิโร โคะยะมะ เออิเอ็น/ยูนิเวอร์ส/บีลีฟอินเลิฟ เซอิจิโร ยามาชิตะ เลอิจิ มัตซึโมโตะ

แหล่งที่มา

WikiPedia: เออิจิ_เนงิชิ http://sankei.jp.msn.com/culture/academic/101006/a... http://www.nikkei.com/article/DGKDZO46760710R01C12... http://www.yomiuri.co.jp/science/news/20101007-OYT... http://mainichi.jp/select/wadai/news/20101007k0000... http://ryukyushimpo.jp/news/storyid-168485-storyto... //doi.org/10.1039%2FC39770000683 http://nobelprize.org/nobel_prizes/chemistry/laure... https://www.britannica.com/biography/Negishi-Ei-ic... https://www.chem.purdue.edu/activity/public/profil... https://archive.is/20120719211712/mainichi.jp/sele...