ประวัติ ของ เอิร์ธอาวเออร์

โครงการเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2550 ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ผลคือหลังจากการปิดไฟเป็นเวลา 60 นาที คน 2.2 ล้านคน ปิดไฟและสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงเท่ากับลดจำนวนรถยนต์ในถนนไปถึง 48,000 คัน หรือช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงได้ 10% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาปกติ

ในปี พ.ศ. 2551 มีเมืองที่เข้าร่วมกิจกรรมถึง 370 เมืองทั่วโลก ใน 37 ประเทศ และในจำนวนนั้นเป็น 26 เมืองสำคัญของโลก โดยร่วมปิดไฟในวันที่ 29 มีนาคม เวลา 20.0 ถึง 21.00 น ตามเวลาท้องถิ่นของเมืองนั้น เริ่มจากเมือง ซิดนีย์จะมืดลง นิวซีแลนด์และฟิจิเป็น 2 ประเทศแรกที่เดินทางมาถึงเวลา 20.00 น. และมีเมืองใหญ่ ๆ ในเอเชียร่วมปิดไฟ 1 ชั่วโมงตามมาอีกมากมาย อาทิ โตเกียว, มะนิลา, จาการ์ตา, สิงคโปร์, นิวเดลี บังกอร์ รวมถึงกรุงเทพมหานคร[1] นอกจากนี้เว็บไซต์กูเกิ้ล เสิร์ชเอนจินชื่อดังร่วมโครงการโดยหน้าเว็บเพจของกูเกิลภาษาไทยจะเปลี่ยนพื้นเป็นสีดำทั้งหมดในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551[2]

ในปี พ.ศ. 2552 เอิร์ธอาวเออร์ กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 28 มีนาคม เวลา 20.30 ถึง 21.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยมีประเทศผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 82 ประเทศ รวมแล้วมากกว่า 2,100 เมือง

ในปี พ.ศ. 2553 เอิร์ธอาวเออร์ กำหนดให้มีขึ้นในวันเสาร์ที่ 27 มีนาคม เวลา 20.30 ถึง 21.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น

ในปี พ.ศ. 2556 แอนดี ริดลีย์ ประธานบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Earth Hour กล่าวในพิธีเปิดการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมในประเทศสิงคโปร์ ในวันนี้ว่า Earth Hour 2556 จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2556 เวลา 20.30 น."Earth Hour เป็นมากกว่าการรณรงค์ปิดไฟหนึ่งชั่วโมงเท่านั้น ทุกคนเห็นผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่น่าทึ่ง ระหว่างการเดินทางสู่ความสำเร็จด้วยวิสัยทัศน์ระยะยาว" ริดลีย์กล่าว

ในปี พ.ศ. 2560 เอิร์ธอาวเออร์ กำหนดมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 25 มีนาคม เวลา 20.30 ถึง 21.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ในประเทศไทยมีการจุดงานขึ้นที่ลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาแกรนด์ พระราม 9 โดยกรุงเทพมหานคร (ก.ท.ม.) ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ เช่น วัดอรุณราชวราราม, เสาชิงช้า, สะพานพระรามแปด, พระบรมมหาราชวัง, ถนนข้าวสาร, ถนนสีลม, เซ็นทรัลพลาซา, เอเชียทีคเดอะริเวอร์ฟรอนต์ รวมถึงบ้านเรือนทั่วไป เป็นต้น[3]

นั่นสื่อนัยว่ากิจกรรม Earth Hour จะไม่ประสบความสำเร็จแค่ภายใน 1 ชั่วโมงเท่านั้น แต่เป็นเหมือนเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการกระตุ้นสร้างจิตสำนึกของผู้คนในสังคมให้หันมาใส่ใจการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยสิ่งที่สำคัญมากกว่าการปิดไฟ 1 ชั่วโมงคือการที่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสินค้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสื่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การปั่นจักรยานไปทำงานนอกจากจะประหยัดค่าน้ำมันแล้วยังได้สุขภาพที่ดีมาอีกด้วย การปิดไฟที่ไม่ได้ใช้ การใช้หลอดประหยัดไฟ รวมถึงสินค้าพร้อมใช้โซล่าเซลล์ต่าง ๆ ซึ่งเหมาะสำหรับใช้งานในประเทศไทยที่มีแสงแดดยาวนานตลอดวัน ไม่ว่าจะเป็นไฟสนามพลังงานแสงอาทิตย์ ไฟถนนโซล่าเซลล์ ที่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้พัฒนาให้มีคุณภาพสูง ส่องสว่างยาวนาน สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง[4]

ใกล้เคียง

เอิร์ท เอิร์ธ (สถานีโทรทัศน์) เอิร์ลแห่งอินเวอร์นิส เอิร์ล เอิร์ธอาวเออร์ เอิร์ลแห่งวอริก เอิร์ธ, วินด์แอนด์ไฟร์ เอิร์ล เดอร์ บิกเกอร์ส เอิร์ธไรซ์ เอิร์ธเควก (ซามูไรสปีริท)