รูปแบบชีวิตที่อาจเป็นไปได้ ของ เอแอลเอช_84001

ในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2539[2] อุกกาบาต ALH 84001 ได้ตกเป็นข่าวใหญ่เมื่อมีการประกาศว่าได้มีการค้นพบซากที่เป็นของสิ่งมีชีวิตของดาวอังคารซึ่งลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชื่อ "วิทยาศาสตร์" โดย ดร. เดวิด แมกเคย์ แห่งองค์การนาซา[3][4]

The electron microscope revealed chain structures in meteorite fragment ALH84001

จากการสแกนด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลกตรอน ได้พบโครงสร้างที่แสดงให้เห็นซากสิ่งมีชีวิตในรูปคล้ายฟอสซิลของแบคที่เรีย โครงสร้างที่พบในอุกกาบาต ALH 84001 มีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 20-100 นาโนเมตร เป็นขนาดของ นาโนแบคทีเรียเชิงทฤษฎี แต่เล็กกว่าสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวทุกชนิดที่ได้ค้นพบมาแล้ว หากโครงสร้างฟอสซิลนี้เป็นของสิ่งมีชีวิตจริงก็จะเป็นหลักฐานที่หนักแน่นที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตนอกโลกที่ไม่ได้เกิดจากการแปดเปื้อนนั้นมีจริง[5]

การประกาศความเป็นไปได้ว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตนอกโลกครั้งนี้ทำให้เกิดข้อโต้เถียงกันอย่างกว้างขวาง จึงเป็นการเปิดทางให้เกิดความสนใจในการสำรวจดาวอังคารมากขึ้น การประกาศการค้นพบครั้งนี้ทำให้เกิดการคาดเดาว่าอุกกาบาตก้อนนี้คือหลักฐานจริงที่เป็นการยืนยันว่าสิ่งมีชีวิตนอกโลกมีจริง แม้แต่ประธานาธิบดีบิล คลินตันก็ยังได้ออกรายการโทรทัศน์ประกาศการค้นพบนี้อย่างเป็นทางการ[6]

ได้มีการตรวจสอบสารอินทรีย์ในอุกกาบาตนี้อีกหลายครั้งได้พบกรดอะมิโนและโพลีไซคลิกอโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (polycyclic aromatic hydrocarbon -PAH) ในนั้นด้วย การโต้เถียงว่าโมเลกุลอินทีย์ที่พบในอุกกาบาตนั้นอาจเกิดจากกระบวนการที่ไม่ใช่ชีววิทยา หรือเกิดจากการแปดเปื้อนจากน้ำแข็งขั้วโลกใต้ก็ยังคงดำเนินกันอยู่ต่อไป[7][8]

นับถึง พ.ศ. 2549 ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ยังถกเถียงกันว่าฟอสซิลจิ๋วไม่ใช่ตัวบ่งชี้การมีชีวิตแต่เกิดจากการแปดเปื้อนของไบโอฟิล์มของโลก ยังไม่มีการสรุปได้อย่างแน่นนอนว่ารูปแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ในห้องปฏิบัติการทดลองพบว่ารูปลักษณะดังกล่าวสามารถทำขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตให้เข้ามามีส่วนในกระบวนการ[2] แต่อย่างไรก็ดี หลักฐานสนับสนุนว่านาโนแบคที่เรียมีความเป็นจริงกำลังเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่ยังมีข้อกังขาโดยเฉพาะในช่วงแรกๆ[9] (จากแนวคิดที่ว่าอนุภาคมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะบรรจุ RNA ไว้ในตัวได้)

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอแอลเอช_84001 http://www.amazon.com/Time-Travelers-Academy-Regin... http://www.amazon.com/dp/1400060109/ http://www.space.com http://www.space.com/scienceastronomy/ap_060806_ma... http://www.uni-muenster.de/Planetologie/en/members... http://www.lpi.usra.edu/lpi/meteorites/alhnpap.htm... http://www.lpi.usra.edu/lpi/meteorites/mitm96.html http://www.jpl.nasa.gov/snc/alh.html http://www2.jpl.nasa.gov/snc/clinton.html //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11027350