หลักฟิสิกส์ในการใช้อินฟราเรด ของ เอไอเอ็ม-9_ไซด์ไวน์เดอร์

ในทศวรรษที่ 1920 มีการค้นพบว่าการเผยสารประกอบตัวนำกำมะถันให้กับอินฟราเรดจะลดการต้านทานไฟฟ้าของการผสมสาร สิ่งนี้เป็นตัวอย่างของสิ่งที่เรียกว่า"โฟโตคอนดักทิวิตี้" (อังกฤษ: photoconductivity) สิ่งนี้ยังสามารถเปล่งแสงได้โดยคลื่นความยาวของแสง[3] สิ่งดังกล่าวสามารถวัดขนาดผลในปัจจุบันและจากนั้นก็ส่งต่อผลดังกล่าวเพื่อเกิดการกระทำ—ในกรณีนี้ หัวที่หาเป้าจะส่งผลให้ขีปนาวุธเพื่อบินตรงไปที่แหล่งความร้อน

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง กองกำลังส่วนใหญ่พยายามที่จะสร้างระบบมองกลางคืนโดยใช้เครื่องตรวจจับตัวนำกำมะถันและจอมองเพิ่มความเข้มข้น ส่วนใหญ่สำหรับการตรวจจับเครื่องบินในระยะไกล แต่ก็ไม่มีการพิสูจน์ใดๆ ที่พบว่าประสบผลสำเร็จและมีเพียงระบบสแปนเนอร์ (Spanner) ของเยอรมันเท่านั้นที่เข้าสู่การผลิต สแปนเนอร์ใช้ท่อมองขนาดยาวฉายผ่านจอของเครื่องบินเพื่อให้นักบินมองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหน้าได้อย่างชัดเจนแต่มันก็มีพิสัยที่จำกัด โครงการทั้งหมดนี้จบลงด้วยการใช้เรดาร์ทางอากาศ

เครื่องตรวจจับอินฟราเรดถูกใช้อย่างกว้างขวางบนฐานภาคพื้นดิน สิ่งเหล่านี้ยังรวมทั้งทุกสิ่งจากระบบมองเห็นสำหรับรถถังและแม้แต่พลซุ่มยิง เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ในตอนกลางคืน อย่างไรก็ตามเยอรมนียังได้ทำการทดลองระบบนำวิถีขีปนาวุธอัตโนมัติโดยตั้งใจที่จะนำไปหาความร้อนจากเครื่องยนต์เครื่องบิน มันใช้เครื่องตรวจจับเพียงเครื่องเดียวตรงกล้องมองขนาดเล็ก พร้อมกังหันสี่ตำแหน่งระหว่างเครื่องตรวจจับและกล้องโทรทรรศน์ กล้งอโทรทรรศน์จะส่งผลให้สัญญาณตกลงบนเครื่องตรวจจับเพื่อเพิ่มและลดโดยขึ้นอยู่กับว่าสัญญาณถูกกั้นจากกังหันมากแค่ไหน จากนั้นสัญญาณนี้จะถูกใช้เป็นเสมือนนักบินอัตโนมัติ โดยจากนั้นจะเริ่มหันไปที่แกนของกล้องโทรทรรศน์ ขีปนาวุธถูกนำวิถีไปที่เป้าหมายโดยใช้สิ่งที่เรียกว่าการไล่ตาม (pure pursuit) การพัฒนาไม่สิ้นสุดจนกระทั่งสงครามจบลง

ใกล้เคียง

เอไอเอสลีก ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2559 เอไอเอส ฟุตซอล เอฟเอคัพ 2560 เอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ เอไอเอ็ม-120 แอมแรม เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ เอไอเอ็ม-132 แอสแรม เอไอเอ เอไอเอสลีก ดิวิชั่น 2 เอไอเอส