ประวัติการออกอากาศ ของ เอ็มทีวีไทยแลนด์

เอ็มทีวีในเอเชียเริ่มมีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 โดยเริ่มจากเอ็มทีวีญี่ปุ่น หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2538 จึงได้มีเอ็มทีวีเอเชียซึ่งออกอากาศในหลายประเทศและได้รับความนิยม หลังจากนั้นในช่วงปี พ.ศ. 2544-2545 เอ็มทีวีเอเชียได้แยกช่องออกเป็นอีกสามช่องคือ เอ็มทีวีฟิลิปปินส์ เอ็มทีวีไทยแลนด์ และเอ็มทีวีอินโดนีเซีย[2]

เอ็มทีวีไทยแลนด์ เป็นสถานีโทรทัศน์ทางดนตรีในประเทศไทย 24 ชั่วโมง เป็นการร่วมลงทุนกันระหว่างเอ็มทีวีเอเชียเน็ทเวิร์ค และบริษัท มีเดีย คอมมูนิเคชั่น เน็ทเวิร์คส จำกัด ภายใต้การบริหารงานของบริษัท มิวสิก เทเลวิชั่น เน็ทเวิร์ค จำกัด (บริษัทในเครือบริษัท มีเดีย คอมมูนิเคชั่น เน็ทเวิร์คส จำกัด) โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544[3] โดยรายการแรกที่ออกอากาศคือรายการ เอ็มทีวีไทยแลนด์ฮิตลิสต์ ดำเนินรายการโดย วีเจแองจี้ ส่วนมิวสิกวิดีโอเพลงแรกที่เปิดคือเพลง "พันธ์ทิพย์" ของโลโซ ส่วนเพลงสากลเพลงแรกที่ออกอากาศคือเพลง "ป็อป" ของวงเอ็นซิงก์[4] โดยออกอากาศทางช่องยูบีซี 49 แทนช่องเอ็มทีวีเอเชียที่มีอยู่เดิมทางยูบีซี[5] ต่อมา 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ยูบีซีได้จัดลำดับเลขช่องรายการใหม่ โดยย้ายจากช่อง 49 มาอยู่ที่ช่อง 32[6]

ต่อมาเอ็มทีวีไทยแลนด์ประกาศย้ายการออกอากาศในไทยวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 จากเคเบิลทีวี ช่องทรูวิชั่นส์ เนื่องจากหมดสัญญา 5 ปี[7] ไปแพร่ภาพทางทีวีดาวเทียม ดีทีเอช และ กับลูกค้าเคเบิลท้องถิ่น 2 ล้านครัวเรือน โดยออกอากาศพร้อมช่องเครือข่ายอย่าง วีเอชวัน และนิกเคลโลเดียน[8] ออกอากาศต่อเนื่องถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551 หลังจากนั้นอยู่ในช่วงไม่ได้ออกอากาศที่ใด (ออฟแอร์)[9]

เอ็มทีวีไทยแลนด์ได้กลับมาทดลองออกอากาศทางทรูวิชั่นส์ ช่อง 111 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 จากนั้นย้ายมาที่ช่อง 85 เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 โดยอยู่ในแพ็กเกจโกลด์ของทรูวิชั่นส์เฉพาะระบบจานดาวเทียม เอ็มทีวีไทยแลนด์ออกอากาศในวันสุดท้ายของคืนวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้ปิดตัวลงอย่างเป็นทางการ[10]

ไวอาคอมอินเตอร์เนชันแนลมีเดียเนตเวิร์กเอเชีย ประกาศข้อตกลงให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยเด็ดขาดกับ บริษัท แอปเปิลทูล บริษัทในเครือวีอาร์วันมีเดียกรุป ทำให้เอ็มทีวีไทยแลนด์กลับมาออกอากาศในประเทศไทย โดยถ่ายทอดสัญญาณของเอ็มทีวีเอเชียมา เริ่มทดลองออกอากาศเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556 ทางทรูวิชั่นส์ ช่อง 59 สำหรับแพ็กเกจฟรีวิว และจานดาวเทียม ไทยคม 5 ระบบซีแบนด์ และออกอากาศอย่างเป็นทางการวันที่ 1 พฤษภาคม ในปีเดียวกัน ผ่านระบบดาวเทียมฟรีแบนด์ และเคยูแบนด์[11] หลังจากนั้นเอ็มทีวีไทยแลนด์กลับมาออกอากาศ ภายใต้บริษัท อันลิมิเต็ด คอนเท้นท์ จำกัด เกิดจากการร่วมทุนระหว่าง บริษัท ดีเอ็นเอ 2002 จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 50% กับทางนายกุลพงศ์ บุนนาค และนายอมฤต ศุขวณิช อีก 50% ด้วยทุนจดทะเบียนเบื้องต้น 20 ล้านบาท โดยได้รับสิทธิ์ดูแลเอ็มทีวีไทยแลนด์ 5 ปี[12]

ใกล้เคียง

เอ็มทีวีไทยแลนด์ เอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2009 เอ็มทีวียุโรปมิวสิกอะวอดส์ เอ็มทูเอ็ม เอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2010 เอ็มทีวีเอเชียอะวอดส์ เอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 2022 เอ็มทีอาร์ (สายรถไฟฟ้า) เอ็มทีวี เอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอ็มทีวีไทยแลนด์ http://www.asiamediajournal.com/pressrelease.php?i... http://www.facebook.com/mtvthailand http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=53... http://www.gotomanager.com/resources/default.aspx?... http://mtvthailand.hi5.com http://hilight.kapook.com/view/5386 http://www.kapook.com/promote/pattaya2005/ http://www.mcdepk.com/mtvpartnership/downloads/mtv... http://entertainment.msnth.com/news/articles.aspx?... http://www.mtvasiaaid.com/Thailand/Event/